Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

การใช้ยาที่ถูกวิธีมีอะไรบ้าง

Posted on April 11, 2020April 11, 2020 by visaza_effects

การใช้ยาที่ถูกวิธีมีอะไรบ้าง

การรับประทานยา
ยารับประทาน เป็นรูปแบบยาที่ใช้รักษาโรคอย่างกว้างขวางที่สุด เนื่องจากวิธีใช้ยาที่ง่าย สะดวกอย่างมาก โดยทั่วไปการรับประทานยาขณะที่ท้อง (กระเพาะลำไส้) ว่างจะทำให้ยาถูกดูดซึมได้มากที่สุด แต่ยาบางชนิดอาจถูกกำหนดให้รับประทานในเวลาแตกต่างออกไป ด้วยเหตุผล ที่จำเป็นอื่นๆ เช่น ยาในกลุ่มเตตร้าซัยคลิน มักต้องรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีเพื่อลดอาการคลื่นไส้ ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงที่พบบ่อย

วิธีการรับประทานยามีหลายรูปแบบ ได้แก่
1. ยาก่อนอาหารให้รับประทานก่อนอาหาร (รวมทั้งนม ขนม ฯลฯ) 30 – 60 นาที
2. ยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที ให้รับประทานอาหารครึ่งหนึ่งแล้วรับประทานยา แล้วจึงรับประทานอาหารต่อจนอิ่ม หรือรับประทานอาหารคำสุดท้ายแล้วรับประทานยาทันที
3. ยาหลังอาหารให้รับประทานหลังอาหาร 15 – 30 นาที
4. ยาระหว่างมื้ออาหารให้รับประทานยาก่อนหรือหลังอาหาร 1 – 2 ชั่วโมง โดยถ้าเลือกรับประทานยาเป็นก่อนอาหาร (หรือหลังอาหาร) แล้ว ครั้งต่อไปก็ต้องรับประทานก่อนอาหาร (หรือหลังอาหาร) ทุกครั้งของการรักษาคราวนั้นๆ
5. ยาก่อนนอนรับประทานก่อนเข้านอน 15 – 30 นาที
6. ยาตามอาการต่าง ๆเช่น รับประทาน 2 เม็ด ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เวลาปวด หมายความว่า รับประทานครั้งละ 2 เม็ดเมื่อมีอาการปวด ถ้าต่อมามีอาการปวดอีกแต่ยังไม่ถึง 4 – 6 ชั่งโมง ยังไม่ควรรับประทานยานั้นซ้ำอีก เพราะ อาจเกิดพิษจากยาเกินขนาดได้ ต้องรอให้ครบอย่างน้อย 4 ชั่วโมง จึงจะรับประทานยาครั้งต่อไปได้
หมายเหตุ : การลืมรับประทานยาครั้งหนึ่ง ให้รีบรับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ถ้าใกล้ถึงเวลามื้อต่อไปแล้ว ให้ข้ามมื้อที่ลืมไปเสีย อย่าเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า ในมื้อต่อไปเป็นอันขาด

การใช้ยาหยอดตา ยาป้ายตา
วิธีหยอดตา – ป้ายตา
1. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดแห้ง
2. ถ้ามีขี้ตา ใช้สำลีชุบน้ำสะอาดเช็ดออกก่อนทุกครั้ง
3. เตรียมยา โดยเขย่าขวดยาหยอดตาก่อนเปิดฝาขวด หรือเปิดฝาหลอดยาป้ายตา
4. นอนหรือนั่งแหงนหน้าขึ้น มือข้างหนึ่งดึงหนังขอบตาล่างลงให้เป็นกระพุ้ง อีกมือหนึ่งจับหลอดยา โดยกะประมาณให้ปลายหลอดห่างจากตาเล็กน้อย ระวังไม่ให้ปลายหลอดแตะกับหนังตาหรือขนตา เพราะจะทำให้ปนเปื้อนฝุ่นสกปรกหรือเชื้อโรคได้ ซึ่งมีผลทำให้ยาเสื่อมคุณภาพและอาจเพิ่มโรค จากที่เป็นอยู่แล้วอีกด้วย
– หยดยาหยอดตา ลงไปในกระพุ้งขอบตาล่างตามจำนวนที่ระบุไว้ในฉลาก ปล่อยหนังตาคืนสภาพ กระพริบตา 2-3 ครั้ง เพื่อให้ยาเข้าตาได้ทั่วถึง แล้วพักหลับตาสักครู่ หรือ
– บีบยาป้ายตายาวประมาณครึ่งเซนติเมตรลงไปในกระพุ้งขอบตาล่าง หลับตาแล้วคลึงหนังตาเบา ๆ ให้ยากระจายทั่วตา
5. ปิดฝาขวดหรือหลอดให้สนิท เก็บในอุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส ( บางชนิดต้องเก็บในตู้เย็น ในส่วนที่ไม่ใช่ช่องแช่แข็ง) ควรเก็บให้พ้นแสงและพ้นมือเด็ก
หมายเหตุ :
– ยาหยอดตา เมื่อเปิดใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 เดือน
– เมื่อต้องหยอดตามากกว่า 1 ชนิด ในคราวเดียวกัน ควรเว้นเวลาหยอดห่างกันประมาณ 15 นาที
– เมื่อต้องหยอดตาและป้ายตาในเวลาเดียวกัน ให้หยอดยาก่อนสักครู่ แล้วจึงป้ายตา

การใช้ยาหยอดหู
วิธีหยอดหู
1. ล้างมือให้สะอาด และเช็ดแห้ง
2. ถ้ามีน้ำเหลืองหรือหนอง ควรเช็ดออกด้วยสำลีพันปลายไม้ทุกครั้งก่อนหยอดยา
3. นอนหรือนั่งตะแคงหูข้างที่เป็นขึ้น หยดยาลงไปตามจำนวนที่ระบุ ระวังอย่าให้ปลายหลอดยา แตะถูกหู เพราะจะทำให้ปนเปื้อนฝุ่นสกปรกหรือเชื้อโรคได้
4. อยู่ในท่านั้นประมาณ 15 นาที แล้วจึงเอนศีรษะกลับคืนปกติ ซับน้ำยาที่ไหลจากหูทิ้ง
5. เมื่อเปิดใช้ยาหยอดหูแล้ว ไม่ควรเก็บส่วนที่เหลือไว้นานเกิน 1 เดือน

การใช้ยาเหน็บช่องคลอด ทวารหนัก
วิธีใช้ยาเหน็บช่องคลอด
1. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดแห้ง หากเป็นไปได้ ควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อยด้วย
2. แกะยาออกจากแผง จุ่มเม็ดยาในน้ำสะอาดพอให้ชุ่ม เพื่อให้ลื่นสอดใส่ช่องคลอดได้ง่าย
3. ในท่านอน ใช้นิ้วดันสอดยาเข้าในช่องคลอดให้ลึกที่สุด หลังจากนั้นควรนอนนิ่ง ๆ สักพัก อย่ารีบลุกเดิน เสร็จแล้วล้างมือให้สะอาด กรณีถ้ายานั้นให้ใช้ตอนก่อนนอน เหน็บแล้วนอนต่อไปได้เลย
หมายเหตุ :
– ยาเหน็บช่องคลอดบางชนิด ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อซึ่งต้องใช้ติดต่อกันทุกวันตามระยะเวลาที่แพทย์สั่งใช้ แม้ว่าในระยะเวลานั้นมีประจำเดือนก็ต้องใช้ต่อเนื่องไปตามสั่งจนครบจำนวน แต่ก็มียาเหน็บช่องคลอดบางอย่างที่ไม่ควรใช้ระหว่างมีประจำเดือน ซึ่งควรต้องสอบถามรายละเอียดจากแพทย์ หรือเภสัชกร
– ยาบางชนิด อาจต้องใช้อุปกรณ์ในการสอดยาเข้าช่องคลอด ซึ่งหากกำลังตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน เพราะอาจเป็นอันตรายได้ – ขณะที่ภรรยากำลังใช้ยาเหน็บช่องคลอดเพื่อรักษาเชื้อรา แพทย์อาจสั่งยาประเภทครีมหรือยารับประทานให้สามีใช้ไปพร้อมกันด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำอีกครั้ง
วิธีใช้ยาเหน็บทวารหนัก
1. อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณทวารหนัก (ก้น) ให้สะอาดดี และควรใช้ยาเหน็บหลังถ่ายอุจจาระเรียบร้อยแล้ว
2. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดแห้ง
3. แกะยาออกจากกระดาษห่อ จัดท่านอน ใช้นิ้วจับยาสอดเข้าในทวารหนักโดยเอาปลายมนเข้าให้ลึก หลังจากนั้นควรนอนนิ่ง ๆ สักพัก อย่ารีบลุกเดิน เสร็จแล้วล้างมือให้สะอาด การใช้ยาถูกวิธี คือกุญแจสำคัญของความสำเร็จในการรักษาโรคของท่าน ศึกษาวิธีใช้ยาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ทุกครั้ง โดยท่านสามารถปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรได้

Posted in บทความ

Post navigation

การใช้ยา “อย่างปลอดภัย”
10 สมุนไพรไทย ควรมีไว้ติดบ้าน ช่วยรักษาโรคได้

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ