Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

Author: visaza_effects

สิ่งที่คุณจะต้องรู้ในยาลดน้ำหนัก

Posted on May 28, 2021May 28, 2021 by visaza_effects
สิ่งที่คุณจะต้องรู้ในยาลดน้ำหนัก

เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับยาลดความอ้วน 2,4dinitrophenol (DNP) ที่เพิ่มขึ้นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพรวมถึงเภสัชกรจึงถูกเรียกร้องให้มีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักและป้องกันอันตรายที่เกี่ยวข้องกับ DNP

ในช่วงหัวค่ำของเช้าวันที่ 12 เมษายน 2558 Eloise Parry นักศึกษาวัย 21 ปีกลืนยาลดน้ำหนัก ‘DNP’ ลงไปแปดแคปซูล ไม่ถึง 12 ชั่วโมงต่อมาเธอก็เสียชีวิต Parry เป็นโรคบูลิมิกและซื้อยา 2,4-dinitrophenol (DNP) ทางออนไลน์จากเว็บไซต์ที่ดำเนินการโดย Bernard Rebelo วัย 31 ปี สามปีต่อมาในการพิจารณาคดีที่ Inner London Crown Court ปรากฎว่า Rebelo แห่ง Grimsby Grove เมือง Beckton ทางตะวันออกของลอนดอนกำลังนำเข้าสารเคมีในถังขนาด 24 กก. จากประเทศจีนและบรรจุเป็นแคปซูลทำกำไรได้ 200,000 ปอนด์ต่อถัง . Rebelo ยอมรับว่าขายยา Parry แต่ยืนยันว่าเขาไม่เคยตั้งใจว่าพวกเขามีไว้เพื่อการบริโภคของมนุษย์และกล่าวว่าคำเตือนในเว็บไซต์ของเขาระบุสิ่งนี้ Rebelo ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆ่าคนตาย 2 ข้อหาแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะถูกคว่ำโดยศาลอุทธรณ์ในทางเทคนิคและเขามีแนวโน้มที่จะถูกดำเนินคดี

เรียกร้องให้มีการควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้น กรณีดังกล่าวนำอันตรายของ DNP มาสู่การรับรู้ของสาธารณชน สารประกอบดังกล่าวผิดกฎหมายที่จะขายเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ แต่สามารถขายได้อย่างถูกกฎหมายเป็นปุ๋ยสารกันบูดไม้หรือสีย้อมและแม้กระทั่งยาฆ่าแมลง ในเดือนมกราคม 2019 Victoria Atkins ปลัดรัฐสภาของรัฐด้านอาชญากรรมการป้องกันและความเปราะบางได้เขียนถึงสภาที่ปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาในทางที่ผิด (ACMD) เพื่อดูกลไกการควบคุมที่เหมาะสมสำหรับ DNP อย่างไรก็ตาม ACMD สรุปว่าเนื่องจากไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดที่บ่งชี้ว่า DNP มีฤทธิ์ทางจิตประสาทหรือถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดโดยมีเจตนาในการสร้างผลกระทบทางจิตจึงไม่เหมาะสมที่จะควบคุมภายใต้พระราชบัญญัติการใช้ยาในทางที่ผิด พ.ศ. 2514 ” เราขอแนะนำให้ทีมนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้องในรัฐบาลทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสารพิษเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกันสำหรับการวางยาพิษที่เกี่ยวข้องกับ DNP” กล่าวในจดหมายถึงแอตกินส์

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัย, อันตรายในการใช้ยาLeave a Comment on สิ่งที่คุณจะต้องรู้ในยาลดน้ำหนัก

ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรไทยดีมีประโยชน์

Posted on May 26, 2021May 26, 2021 by visaza_effects
ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรไทยดีมีประโยชน์

ฟ้าทะลายโจรจัดเป็นสมุนไพรท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย จีน ศรีลังกา ไทย และใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วทวีปเอเชีย โดยนิยมนำส่วนของใบและลำต้นใต้ดินมาทำเป็นยารักษาโรค โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ ในประเทศไทยได้บรรจุฟ้าทะลายโจรอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (บัญชียาจากสมุนไพร) ของกระทรวงสาธารณสุข ในหมวดหมู่ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ วันนี้เราจะมากล่าวในส่วนของการใช้รักษาอาการระบบทางเดินหายใจกัน

โรคหวัด ฟ้าทะลายโจรนิยมใช้รักษาโรคไข้หวัดตามตำราแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากมีสารสำคัญทางพฤกษศาสตร์หลายชนิด เช่น ไดเทอร์ปีนแลคโตน (Diterpene Lactones) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) และสารประกอบอื่น ๆ ซึ่งเชื่อว่าช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น

ในทางการแพทย์แผนไทย ฟ้าทะลายโจรนั้นจัดเป็นยารสเย็น หมายถึง เมื่อรับประทานฟ้าทะลายโจรแล้วทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง จึงนำมาใช้เป็นยาลดไข้ ซึ่งฟ้าทะลายโจรจะมีส่วนช่วยในการลดความร้อนที่เกิดขึ้นในทางเดินหายใจส่วนบน โดยเป็นความร้อนที่เกิดจากภายนอกเข้ามากระทำกับธาตุภายใน ส่งผลให้ผู้นั้นมีความร้อนภายในเพิ่มขึ้น เมื่อมีความร้อนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ธาตุไฟในร่ายกายมีเพิ่มขึ้น โดยปกติไฟมีทิศขึ้นตามหลักธรรมชาติ เมื่อร่างกายมีความร้อนมากระทบก็ย่อมทำให้ความร้อนในร่างกายสูงเพิ่มขึ้น เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้นก็ทำให้ระบบทางเดินหายใจส่วนบนร้อนขึ้นด้วย โดยอวัยวะที่โดนกระทบ คือ ปอด หรือ ปัปผาสัง ชื่อเรียกทางแผนไทย เมื่อปัปผาสังมีความร้อนภายในเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้น้ำที่อยู่ในปัปผาสังร้อนขึ้นด้วย เมื่อน้ำร้อนขึ้นมากๆ จะทำให้รู้จะคอแห้ง ร้อนในคอในอก ไอแห้ง หรืออาจมีเสมหะ ถ้าความร้อนนั้นทำให้น้ำงวดเข้าและกลายเป็นเสมหะในที่สุด

Posted in ความรู้เรื่องยาLeave a Comment on ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรไทยดีมีประโยชน์

ทำความรู้จัก โรคซึมเศร้า วิธีสังเกต การรักษา

Posted on May 24, 2021May 24, 2021 by visaza_effects
ทำความรู้จัก โรคซึมเศร้า วิธีสังเกต การรักษา

โดยในปัจจุบันนั้นมีภาวะการขึ้นโรคซึมเศร้ามากขึ้นเรื่อยๆและถือว่าเป็นภัยเงียบที่จะเข้ามาครอบงำ จิตใจทำให้เรามีภาวะไม่รู้ตัวบ้างคนก่อนจะรู้ด้วยก็เกิดเรื่องที่ไม่คาดคิดสะแล้ว หรือใครที่รู้ทันนั้นก็สามารถรักษาด้วยการกินยาหรือการใช้จิตบำบัดช่วยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็สามารถหายขาดได้ งันอันดับแรกเรามาสังเกตอาการกันดีกว่าว่า มีอาการเหล่านี้หรือไม

คุณมีอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่

  1. รู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ
  2. ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต
  3. น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป
  4. นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ
  5. รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
  6. ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความจำแย่ลง
  7. อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
  8. กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ
  9. คิดถึงแต่ความตาย และอยากที่จะฆ่าตัวตาย

ถ้าหากคุณมีอาการเช่นนี้หลายข้อ เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ คุณอาจจะกำลังเป็นโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเรา เหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง เกิดได้ทั้งมีสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง และเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุใดๆ ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

หากมีประวัติการเจ็บป่วยโรคนี้ในญาติของท่าน ก็เพิ่มการป่วยโรคนี้กับสมาชิกอื่นในบ้าน แต่ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นกันทุกคน ปัจจัยที่กระตุ้นให้คนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสเกิดอาการก็คือ ความเครียด แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติเคยป่วยก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้ มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้น เพื่อรักษาสมดุลย์ของอารมณ์ สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดูก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่งต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเองและโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น นอกจากนี้ หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้ สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยก็คือการมีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม ทางสภาพจิตใจ ประจวบกับการเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย

การรักษา

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี “ภูมิคุ้มกัน” สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม ส่วนใหญ่แล้วการรักษาโรคซึมเศร้าไม่จำเป็นต้องมานอนรักษาในโรงพยาบาลแต่อย่างไร เมื่ออาการของโรครุนแรง จนอาจมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย หรือผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อาจให้การรักษาด้วยไฟฟ้า แต่จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น

ยารักษาโรคซึมเศร้า

ในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าแบ่งออกได้หลายกลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการออกฤทธิ์ คือ

  1. กลุ่ม tricyclic (คือยาที่มีโครงสร้างทางเคมีสามวง)
  2. กลุ่ม monoamine oxidase inhibitors เรียกย่อๆ ว่า MAOI
  3. กลุ่ม SSRI (serotonin-specific reuptake inhibitor) 

ซึ่งแต่ละกลุ่มมีข้อดีข้อเสียต่างกัน แต่ประสิทธิภาพการรักษาเท่าเทียมกัน แพทย์อาจเริ่มจ่ายยากลุ่มใดแก่ผู้ป่วย ก่อนก็ได้เพื่อดูผลตอบสนอง เนื่องจากเราไม่อาจทราบก่อนได้เลยว่า ผู้ป่วยคนใดจะ”ถูก”กับยาชนิดใด แล้วแพทย์จะค่อยๆปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับอาการต่อไปยารักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์โดยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุลย์ เป็นการรักษาโรคโดยตรง มิใช่เป็นเพียงยาที่ทำให้ง่วงหลับ จะได้ไม่ต้องคิดมากเช่นที่คนมักเข้าใจผิดกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักต้องการหยุดกินยาเร็วกว่าที่ควรเป็น ข้อสำคัญและพึงปฏิบัติที่สุดก็คือ การกินยาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแพทย์จะบอกให้ท่านหยุด ถึงแม้ว่าจะรู้สึกดึขึ้นแล้วก็ตามยาบางตัวต้องค่อยๆลดขนาดลง เพื่อให้โอกาสร่างกายปรับตัว ไม่ต้องกังวลว่า ยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่กินแล้วติดหยุดยาไม่ได้อย่างไรก็ตาม ก็เช่นเดียวกับการรักษาโรคอื่นๆ แพทย์อาจให้ตรวจวัดระดับยาให้ถูกต้องกับอาการเป็นระยะๆ สิ่งที่คุณหลีกเลี่ยงก็คือ การซื้อยากินเองจากร้านขายยา ยืมยาจากเพื่อน หรือกินยาจากแพทย์ท่านอื่นปนกับโรคซึมเศร้า โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน เช่นเดียวกับแพทย์คนอื่นหรือหมอฟันด้วยว่า ท่านกำลังกินยารักษาโรคซึมเศร้าอยู่ อย่าวางใจว่า เป็นแค่ยาพื้นบ้านธรรมดา คงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอะไรร้ายแรง การดื่มอัลกอฮอล์จากเหล้า เบียร์ หรือไวน์ จะลดประสิทธิภาพของยาลง ยานอนหลับหรือยาลดความกังวล ไม่ใช่ยาที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้โดยลำพัง อย่างที่กล่าวแล้ว แม้ว่าบางครั้งแพทย์จะสั่งใช้ยาชนิดนี้ควบคู่ไปกับยารักษาโรคซึมเศร้า เพื่อบรรเทาอาการกังวลในระยะต้นของการรักษา และไม่ควรใช้ยากระตุ้นประสาทหรือยาม้าเพื่อหวังผลให้หายเพลียเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ควรถามแพทย์ทุกครั้งที่ท่านมีปัญหาที่เกิดจากยา หรือเกิดปัญหาที่คิดว่าอาจเกิดจากยา

ผลข้างเคียง

ยารักษาโรคซึมเศร้ามีผลข้างเคียงอยู่บ้างกับผู้ใช้บางคนอันอาจก่อความรำคาญ แต่ไม่อันตราย อย่างไรก็ตามเมื่อรู้สึกว่ามีผลข้างเคียงของยาเกิดขึ้น กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบ ผลข้างเคียงต่อไปนี้มักเกิดจากกลุ่มยา tricyclics ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ถูกสั่งใช้บ่อยที่สุด และเราได้แนะนำวิธีบรรเทาผลข้างเคียงไว้ท้ายข้อแล้วดังนี้ 1.ปากแห้งคอแห้ง – ดื่มน้ำบ่อยๆ เคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล รักษาสุขภาพช่องปากให้ดี 2.ท้องผูก – กินอาหารที่มีกาก หรือมีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ ผักผลไม้ เช่น ส้มโอ มะขาม มะละกอ 3.ปัญหาการถ่ายปัสสาวะ – อาจมีการถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่งเช่นเคย อาจใช้มือกอหน้าท้องช่วยและปรึกษาแพทย์ 4.ปัญหาทางเพศ – อาจมีปัญหาขณะร่วมเพศได้บ้าง ซึ่งปรึกษาแพทย์ได้ 5.ตาพร่ามัว – อาการนี้จะหายไปอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องตัดแว่นใหม่ 6.เวียนศีรษะ – ลุกจากเก้าอี้ หรือเตียงช้าๆ ดื่มน้ำมากขึ้น 7.ง่วงนอน – อาการอาจหายไปเอง อย่าพยายามขับรถ หรือทำงานกับเครื่องจักร หากง่วงมากในช่วงเช้าให้เลื่อนยามื้อก่อนนอนมากินหัวค่ำกว่าเดิม สำหรับกลุ่ม SSRI อาจมีผลข้างเคียงที่ต่างออกไป ดังต่อไปนี้ 1.ปวดศรีษะ – อาจมีอาการสักช่วงหนึ่ง แล้วจะหายไป 2.คลื่นไส้ – มักเป็นเพียงชั่วคราว 3.นอนไม่หลับหรือกระวนกระวาย – พบได้ในช่วง 2 ถึง 3 สัปดาห์แรก ของการกินยา หากคงอยู่นานควรปรึกษาแพทย์

การรักษาทางจิตใจ

มีวิธีรักษาทางจิตใจอยู่หลายรูปแบบ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นการ”พูดคุย”กับจิตแพทย์ 10 ถึง 20 ครั้ง อันจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจกับสาเหตุของปัญหา และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยการเปลี่ยนมุมมองกับแพทย์ การรักษาทางพฤติกรรมจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีที่จะได้รับความพอใจ หรือความสุขจากการกระทำของเขา และพบวิธีที่จะหยุดพฤติกรรมที่ อาจนำไปสู่ความซึมเศร้าด้วย การรักษาอีก 2 รูปแบบต่อไปที่มีการศึกษาแล้วว่า สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดี คือ การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม โดยการรักษารูปแบบแรกมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาระหว่าง ผู้ป่วยกับคนรอบข้างที่อาจ เป็นสาเหตุและกระตุ้นให้เกิดความซึมเศร้า ส่วนการรักษาแบบหลังจะช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมในแง่ลบกับตนเอง ส่วนการรักษาโดยอาศัยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ก็นำมารักษาโรคนี้ โดยช่วยผู้ป่วยค้นหาปัญหาข้อขัดแย้งภายในจิตใจผู้ป่วย ซึ่งอาจมีรากฐานมาจากประสบการณ์ตั้งแต่เด็ก โดยทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง มีอาการกำเริบซ้ำๆ จะต้องการการรักษาด้วยยาร่วมกับการรักษาทางจิตใจควบคู่กัน เพื่อผลการรักษาในระยะยาวที่ดีที่สุด

จะช่วยรักษาตนเองได้อย่างไร

การป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามักจะทำให้คุณรู้สึกเพลีย รู้สึกไร้ค่า เหมือนช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่มีความหวัง ความคิดในแง่ลบกับตนเองในแบบนี้ มักจะทำให้ผู้ป่วยบางคนท้อถอยและยอมแพ้ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบว่าความคิดหรือความรู้สึก เหล่านี้เป็นเพียงแค่อาการของโรค มิได้สะท้อนเรื่องจริงในชีวิตของคุณอย่างถูกต้องแต่อย่างใด ความคิดเหล่านี้จะค่อยๆหมดไปเมื่อเริ่มต้นการรักษาไปสักระยะหนึ่ง

ในระหว่างนี้คุณควรจะ

  1. อย่านำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน
  2. อย่าตั้งเป้าหมายที่บรรลุได้ยาก หรือเข้าไปแบกความรับผิดชอบมากๆ
  3. พยายามย่อยงานใหญ่ให้เป็นงานเล็ก เลือกทำที่สำคัญกว่าก่อน แล้วทำให้เต็มที่เท่าที่จะเป็นไปได้
  4. อย่าคาดหวังกับตนเองมากเกินไป เพราะนั่นคือ คุณกำลังสร้างความล้มเหลว
  5. ร่วมกิจกรรมที่คุณอาจเพลินใจ เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ดูกีฬา เข้ากิจกรรมทางศาสนาหรือสังคม แต่อย่าหักโหมหรือหงุดหงิด ถ้ามันไม่ช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้นอย่างทันใจ เพราะอาจใช้เวลาบ้าง
  6. อย่าด่วนตัดสินใจกับเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิต เช่น ลาออก เปลี่ยนงาน แต่งงาน หรือหย่า โดยไม่ปรึกษาคนอื่นที่รู้จักคุณดีและ มีมุมมองที่เป็นกลางต่อปัญหาพอ ไม่ว่าด้วยเหตุใด พยายามเลื่อนการตัดสินใจออกไปก่อนจนกว่าอาการป่วยของคุณจะดีขึ้น
  7. อย่าหวังว่าจะหายจากอาการซึมเศร้าแบบ “ลัดนิ้วมือเดียว” เพราะเป็นไปได้ยาก จงพยายามช่วยตนเองให้มากที่สุด โดยไม่โทษตนเองว่า ที่ไม่หายเพราะตนเองไม่พยายามหรือไม่ดีพอ
  8. พึงระลึกว่า จะไม่ยอมรับความคิดในแง่ร้าย บอกตนเองว่ามันเป็นสวนหนึ่งของอาการของโรค และจะหายไปเมื่ออาการของโรคดีขึ้น
Posted in รู้จักโรคภัยLeave a Comment on ทำความรู้จัก โรคซึมเศร้า วิธีสังเกต การรักษา

ข้อควรปฏิบัติการใช้ยาในเด็ก

Posted on May 22, 2021May 22, 2021 by visaza_effects
ข้อควรปฏิบัติการใช้ยาในเด็ก

การใช้ยารักษาโรคหรือภาวะผิดปกติในเด็ก นอกจากจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องแม่นยำแล้ว การเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคหรือภาวะของผู้ป่วย การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงเภสัชวิทยา ขนาดยา พิษและผลข้างเคียงของยาที่ใช้ โดยทั่วไปการให้ยาแก่เด็กควรคำนึงถึง ดังนี้

  1. ขนาดสูงสุด (maximal dose) ที่คำนวณได้โดยใช้น้้ำหนักของเด็กเป็นหลัก ถ้าเกินขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่ต้องให้ขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่ 
  2. เด็กอ้วนมี metabolic rate ต่ำ เพราะไขมันเป็น metabolically insert tissue อาจต้องใช้ ideal body weight หรือ weight for height มาคำนวณในบางกรณี 
  3. เด็กที่บวม (edema) ต้องคิดขนาดยาจากน้ำหนักตัวก่อนบวมหรือน้ำหนักซึ่งน้อยกว่าที่ชั่งได้ในขณะบวม 
  4. เด็กที่มีการทำงานของไตลดลงหรือเสียไป (renal impairment/renal failure) จะต้องปรับลดขนาดยาที่ขับออกทางไต 

ข้อควรคำนึงถึง

1.เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่ตัวเล็ก 

  • การดูดซึมของกระเพาะเด็กและทารกมีการทำงานของกระเพาะและลำไส้ที่ช้ากว่า
  • การเมตาบอลิซึมของตับ : การทำงานของทารกแรกเกิดมีเพียง 20-40% ของผู้ใหญ่
  • การกำจัดของไต : ไตของเด็กแรกเกิดมีการทำงานเพียง 30% ของผู้ใหญ่และมีการทำงานเทียบเท่าผู้ใหญ่ เมื่ออายุราว 1 ขวบ
  • การดูดซึมของผิวหนัง : ผิวหนังของเด็กมีการดูดซึมได้ดีกว่า จึงดูดซึมยาที่ทาทางผิวหนังได้ดีกว่า

2.ยาที่บดเป็นผงแล้วเหมาะสำหรับเด็กมากกว่า? 

  • ยาของผู้ใหญ่ที่บดเป็นผงแล้วจะเสียได้ง่าย มีความคงตัวของยาต่ำและเก็บรักษาได้ไม่นาน
  • การบดยาหลายประเภทเข้าด้วยกันมักทำให้เสียและเกิดปฏิกิริยาต่อกันและปริมาณยาที่แบ่งไม่เท่ากัน
  • เด็กที่มีอายุมากขึ้นสามารถฝึกการกลืนและกลืนพร้อมอาหารในปริมาณน้อยได้

3.ข้อควรทราบในการให้ยาเด็ก

  • ไม่ใช่ยาทั้งหมดที่เหมาะสำหรับบดเป็นผง : ยาที่บดเป็นผงมักเสื่อมสภาพไว มีความคงที่น้อย ช่วงเวลาการเก็บรักษาน้อย และอาจเกิดปฏิกิริยาที่ไม่ดีระหว่างยาแต่ละประเภท
  • สามารถสั่งยาสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เช่น ยาน้ำ ยาน้ำประเภทน้ำหวาน สารละลาย สารแขวนลอย
  • ยาที่บดเป็นผงแล้วควรรับประทานให้หมดในคราวเดียว เพื่อรักษาคุณภาพยา

4.คำเตือนวิธีการบริโภคยาน้ำที่เป็นน้ำหวานและสารแขวนลอย

  • เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องหากยังไม่ได้เปิดใช้
  • ยาน้้ำที่เป็นผงอยู่ด้านในให้ใส่น้ำเข้าไปตามคำชี้แจง และเขย่าก่อนใช้ ยาทุกครั้งเพื่อใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสม
  • เมื่อเปิดใช้งานแล้วจะต้องเก็บยาตามที่กำหนดไว้ในตู้เย็นหรือในอุณหภูมิห้อง และให้คอยตรวจสอบวันหมดอายุ 

5.วิธีการให้ยาเด็กทารก

  • ควรใช้สลิง (Syringe) ที่ชี้บอกปริมาณในการให้ยาแต่ละครั้ง
  • วางไว้บนตักจับศีรษะเอาไว้ 
  • ให้ยาในปริมาณน้อยในแต่ละครั้งเพื่อป้องกันการสำลักยา
  • หยอดยาไว้ในปากหรือริมฝีปาก
  • กล่อมเด็กไปด้วยขณะให้ยา

 6.วิธีการให้ยาเด็กเล็ก

  • เลือกท่าที่เด็กเล็กต้องการในการทานยา และให้เด็กคุ้นเคยกับอุปกรณ์ให้ยา
  • ใช้อาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อกลบกลุ่นหากจำเป็น เมื่อทานยาแล้วให้ ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเพื่อลดกลิ่น
Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัย, ความรู้เรื่องยาLeave a Comment on ข้อควรปฏิบัติการใช้ยาในเด็ก

ยาอันตราย คืออะไร คุณรู้หรือไม

Posted on May 20, 2021May 20, 2021 by visaza_effects
ยาอันตราย คืออะไร คุณรู้หรือไม

เวลาเราซื้อยาหรือรับยาจากโรงพยาบาลในบ้างตัวยานั้นจะมีเขียนข้างฉลากนั้นมีคำว่า ยาอันตราย แล้วเราเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมถึงเขียนว่ายาอันตรายและเรากินเข้าไปแล้วเราจะอันตรายหรือไมด้วยความไม่มั่นใจ แต่มั่นหน้า เลยเปิดกล่องหยิบใบกำกับยาด้านในมาอ่านให้รู้ว่า ข้าก็เป็นคนที่ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจนะ แต่ปรากฎว่า ไอ้หย่า อั๋วเห็นอย่างนี้แล้วเอายาไปคืน ไม่กินดีกว่า เพราะใบกำกับยาเขียนไว้น่ากลัวยังงี้ ขี่นกินไปได้ไปหาอากง อาม่า บนสวรรค์ก่อนถึงเวลาอันควรแน่นอน

ยาอันตราย ที่ถูกเรียกตามกฎหมาย คืออะไร

เมื่อพูดถึงกฎหมายยาแล้ว เราก็คงจะไม่กล่าวถึง สิ่งที่เรียกว่า พระราชบัญญัติยา (พรบ.ยา) นั้นเอง โดยจะขอยกข้อมูลใน พรบ.ยา 2510 มา ซึ่งได้ประกาศไว้ว่านั้นหมายความว่า คำที่เราเห็นบนกล่องว่าเป็นยาอันตรายนั้น คือ เป็นการเขียนโดยที่เกิดจากข้อกำหนดทางกฎหมาย คำถามต่อมาคือ แล้วมันอันตรายตามที่ชื่อมันระบุไว้หรือเปล่า

ถูกต้องแล้วครับ มันก็อันตราย จริงๆตามชื่อที่กฎหมายตั้งให้นั้นแหละ เพราะ ถ้าเราจะเปรียบเทียบถึงความปลอดภัย ระหว่างยาอันตราย และ ยาสามัญประจำบ้าน แล้ว ยาอันตรายนั้นต้องระมัดระวังการใช้มากกว่าการใช้ยาสามัญประจำบ้านแน่นอน เขาถึงมีข้อกฎหมายกำหนดขึ้นมาให้ยากลุ่มนี้ไม่ให้หาซื้อได้เองตามร้านสะดวกซื้อเหมือนยาสามัญนั้นเองเนื่องจากยาในกลุ่มนี้จะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ง่าย รวมถึงพบผลข้างเคียงเกิดได้เยอะกว่ากลุ่มยาสามัญประจำบ้าน จึงทำให้ยากลุ่มนี้ควรใช้อย่างระมัดระวัง และ ต้องถูกจ่ายหรือจำหน่ายได้เฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน โดยถูกจ่ายโดยเภสัชกรที่มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้นเพราะยากลุ่มนี้หากใช้อย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่ระมัดระวัง นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยไม่หายจากโรคแล้ว ยังอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาโดยไม่จำเป็น

ห้ามใช้ยากลุ่มนี้มั้ย

คำตอบคือเรายังคงใช้ยากลุ่มนี้ได้หากเรามีอาการเจ็บป่วย แต่เวลาเรานำมาใช้ควรใช้และปฎิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ หรือ เภสัชกร ที่ให้ยาเรามา และ ไม่ควรนำยานี้ไปแจกจ่ายให้กับญาติสนิท มิตรสหาย ถึงแม้ว่าเขาจะมีอาการเหมือนๆหรือคล้ายกับเราก็ตาม

ยากลุ่มนี้มีอะไรบ้าง

1. ยาจําพวกลดความดันเลือด (Hypotensive drugs )

2. ยาจําพวกขยายหลอดเลือดส่วนขอบ ( Peripheral vasodilators ) ยกเว้น

  • ก. ไนอาซิน ( Niacin ) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ
  • ข. ยาจําพวกขยายหลอดเลือดที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง

3. ยาจําพวกขยายหลอดเลือดโคโรนารี ( Coronary vasodilators ) ยกเว้นที่ใช้สําหรับสูดดม

4. ยาจําพวกดิจิตาลอยด์( Digitaloid drugs ) ยกเว้นสะควิลล์ ( Squill ) ที่ใช้สําหรับขับเสมหะ

5. ยาจําพวกรักษาอาการภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Antiarrhythmic drugs )

6. ยาจําพวกที่มีผลต่อมไขมันในเลือด (Drugs affecting blood lipids ) ยกเว้นไนอาซีน ( Niacin ) ที่มีปริมาณไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ

7. ยาจําพวกแสดงฤทธิ์ต่อหัวใจหรือหลอดเลือด ( Cardiovascular drugs )

8. ยาจําพวกแก้ไอ ( Antitussive drugs ) ยกเว้น

  • ก. ที่ใช้สําหรับขับเสมหะ ( Expectorants )
  • ข. เดกซ์โตรเมทอร์แฟน ไฮโดรโบรไมด์( Dextromethorphan hydrobromide ) ขนาด 15 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด

9. ยาจําพวกแอดรีเนอร์ยิค ( Adrenergic drugs ) ยกเว้น

  • ก. ที่ใช้สําหรับหยอดจมูก ตามตํารายาที่รัฐมนตรีประกาศ
  • ข. ฟีนิลโปรปาโนลามีน ไฮโดรคลอไรด์ (Phenylpropanolamine hydrochloride )ขนาด 12.5-25 มิลลิกรัม ผสม กับพาราเซตามอล (Paracetamol) ขนาด 300-500 มิลลิกรัม และ คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต (Chlorpheniramine maleate) ขนาด 1-2 มิลลิกรัม ที่ผลิตขี้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
  • ค. เอฟีดรีน ไฮโดรคลอไรด์ ( Ephedrine hydrochloride ) ขนาด 15-50 มิลลิกรัม ผสมกับทีโอฟิลลีน แอนไฮดรัส ( Theophylline anhydrous ) ขนาด 60-150 มิลลิกรัม ที่ผลิตขี้นเป็นยาบรรจุเสร็จขนิดเม็ด

10. ยาจําพวกโคลิเนอร์ยิค ( Cholinergic drugs )

11. ยาจําพวกสารสกัดแอดรีเนอร์ยิค ( Adrenergic blocking drugs )

12. ยาจําพวกสกัดกั้นโคลิเนอร์ยิค ( Cholinergic blocking drugs ) ทั้งที่ได้จาก พฤกษชาติและที่ได้จากการสังเคราะห์ รวมทั้งแอลคาลอยด์และเกลือของแอลคาลอยด์ที่ได้จากพฤกษชาติเหล่านั้น ยกเว้น

  • ก. ยาสกัดเบลลาดอนนา ( Belladonna Extract ) ทิงเจอร์เบลลาดอนนา ( Belladonna Tincture ) ยาสกัดไฮออสไซยามัส ( Hyoscyamus Extract )

ทิงเจอร์ไฮออสไซยามัส (Hyoscyamus Tincture ) หรือทิงเจอร์สะตราโมเนียม ( Stramonium Tincture ) ที่มีขนาดรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกินขนาดรับประทานอย่างต่ำสุดของยาเหล่านั้นที่กําหนดไวในตำรับยาที่รัฐมนตรีประกาศ

  • ข. ไฮออสไซยามีนซัลเฟต ( HyoscyamineSulphate ) ที่มีขนาดรับประทานใน มื้อหนึ่ง ไม่เกิน 125 ไมโครกรัม
  • ค. อะโทรปีนซัลเฟต (Atropine Sulphate ) ที่มีขนาดรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 250ไมโครกรัม

13. ยาจําพวกสกัดกั้นประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular blocking drugs) [ ยากลุ่มนี้ปัจจุบันเปลี่ยนสถานะเป็นยาควบคุมพิเศษ ]

14. ยาจําพวกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งออกฤทธิ์ที่ประสาทส่วนกลาง ( Centrally acting muscle relaxants ) รวมทั้งยารักษาอาการโรคปาร์กินสัน ( Antiparkinson drugs )ยาจําพวกขับปัสสาวะ ( Diuretic drugs )

  • ก. ยาขับปัสสาวะจําพวกออสโมติค ( Osmotic diuretic drugs )
  • ข. อูวาเออร์ซี ( UvaUrsi )
  • ค. บูชู ( Buchu )
  • ง. ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์( Hydrochlorothiazide ) ขนาด 50 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด

15. ยาจําพวกกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก ( Oxytocic drugs )

16. ยาจําพวกฮอรโมนของต่อมปิตูอิตารี (Pituitary hormones )

17. ยาจําพวกคอร์ติโคสเตอรอยด์( Corticosteroids ) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์สําหรับใช้เฉพาะที่

18. ยาจําพวกฮอร์โมนของตับอ่อน ( Pancreatic hormones ) รวมทั้งยาจาพวกที่ใช้รับประทานเพื่อทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง ( Oral hypoglycemic drugs )

19. ยาจําพวกฮอร์โมนของต่อมพาราธัยรอยด์( Parathyroid hormones ) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์

20. ยาจําพวกฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ ( Thyroid hormones ) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์

21. ยาจําพวกแอนติธัยรอยด์( Antithyroid drugs )

22. ยาจําพวกฮอรโมนของรังไข่( Ovarian hormones ) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์ หรือที่เราใช้กับบ่อยคือ ยาคุมกำเนิด ชนิดรับประทาน (Oral contraceptive) หรือ ยาฮอร์โมนทดแทน

  • ก. เอทินิลเอสตราไดออล ( Ethinylestradiol ) ขนาด 0.03 – 0.05 มิลลิกรัม ผสมกับนอร์เจสตรีล ( Norgestrel ) ขนาด 0.25 – 0.5 มิลลิกรัม เลโวนอร์เจสตรีล ( Levonorgestrel ) ขนาด0.125-0.25 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน ( Norethisterone ) ขนาด 1.0-2.5 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน อะซีเตต ( Norethisterone acetate ) ขนาด 1.0- 2.5 มิลลิกรัม หรือไลเนสตรีนอล ( Lynestrenol ) ขนาด 1.0-2.5 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
  • ข. เมสตรานอล ( Mestranol ) ขนาด 0.03 – 0.05 มิลลิกรัม ผสมกับนอร์เจสตรีล ( Norgestrel ) ขนาด 0.25 – 0.5 มิลลิกรัม เลโวนอร์เจสตรีล( Levonorgestrel ) ขนาด 0.125 – 0. 25 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน ( Norethisterone )ขนาด 1.0-2.5 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน อะซีเตต( Norethisterone acetate ) ขนาด 1.0 –2.5 มิลลิกรัม หรือไลเนสตรีนอล ( Lynestrenol ) ขนาด 1.0 – 2.5 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด

23. ยาจําพวกฮอรโมนของอัณฑะ ( Testicular hormones ) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์ รวมทั้งยาจําพวกอนาบอลิค ( Anabolic drugs )

24. ยาจําพวกทําให้ชาเฉพาะที่( Local Anesthetics)

  • ก. น้ํามันกานพลู ( Clove oil ) ที่ใช้สําหรับใส่ฟันเพื่อแก้ปวด
  • ข. ยูจีนอล ( Eugenol ) ที่ใช่สําหรับใส่ฟันเพื่อแกปวด

25. ยาจําพวกระงับประสาทและทําให้นอนหลับ ( Sedatives and hypnotics ) นอกจากที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

26. ยาจําพวกรักษาลมบ้าหมู ( Antiepileptics ) หรือยารักษาอาการชัก ( Anticonvulsants ) นอกจากที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

27. ยาจําพวกสงบประสาท ( Tranquilizing drugs ) นอกจากที่ประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

28. ยาจําพวกกระตุ้นประสาทไซโคมอเตอร์( Psychomotor stimulants ) นอกจากที่ประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

29. ยาจําพวกบรรเทาอาการปวดหรือลดไข้( Analgesics or antipyretics )

  • ก. แอสไพริน ( Aspirin ) หรือเกลือของแอสไพริน ( Salts of Aspirin )
  • ข. ฟีนาซีตีน ( Phenacetin )
  • ค. โซเดียมซาลิซีเลท ( Sodium Salicylate )
  • ง. ซาลิซีลาไมด์( Salicylamide )
  • จ. อะเซตามิโนเฟน หรือพาราเซตามอล ( Acetaminophen or Paracetamol )
  • ฉ. ที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

30. ยาจําพวกลดอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์( Non–steroids anti–inflammatory- drugs ) ยาจําพวกลดกรดยูริค (Uricosuric drugs ) ยาจําพวกรักษาโรคข้ออักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์(Non-steroids anti-arthritic-drugs )

  • ก. ที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ
  • ข. ที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง
  • ค. แอสไพริน ( Aspirin ) หรือเกลือของแอสไพริน
  • ง. โซเดียมซาลิซีเลท ( Sodium Salicylate )

สำหรับยาอื่นที่เป็นยาอันตรายตามกฎหมาย สามารถอ่านเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะถูก update ข้อมูลล่าสุดเป็นประจำ แล้วแอดจะมา update เพิ่มให้เรื่อยๆในบทความนี้เมื่อมีการกล่าวถึงยาเหล่านี้ละกันน่ะ

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยLeave a Comment on ยาอันตราย คืออะไร คุณรู้หรือไม

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาความดัน

Posted on May 18, 2021May 18, 2021 by visaza_effects
ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาความดัน

โรคความดันนั้นถือว่าเป็นโรคยอดฮิตของผู้ที่ค่อนข้างมีอายุไปแล้ว และบพบได้บ่อยผู้สูงอายุทุกคนต้องเป็นโรคความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุที่อ้วน มีไขมันในเลือดสูง หรือ สูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นโรคนี้มาก ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว จำเป็นต้องได้รับยาลดความดันโลหิต มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาร้ายแรงตามมา ได้แก่ ภาวะหัวใจวาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหลอดเลือดสมองแตกเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง มีหลายกลุ่ม ออกฤทธิ์ต่างๆ กันไป เช่น ยาขับปัสสาวะ ทำให้มีปัสสาวะมากขึ้น ยาชะลอการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ยาขยายหลอดเลือดทำให้รูของหลอดเลือดกว้างขึ้น เลือดจึงไหลได้ดีขึ้นและมีแรงดันน้อยลง

จากยากลุ่มต่างๆ นี้ แพทย์จะเลือกยาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย มีข้อที่ควรทราบ คือ ยาขับปัสสาวะ ทำให้ผู้ที่รับประทานยานั้นเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติเพราะยาขับปัสสาวะมีฤทธิ์ขับน้ำออกจากหลอดเลือด ทำให้ปริมาตรเลือดในหลอดเลือดลดลง ความดันโลหิตจึงลดลง ขนาดยาโดยทั่วไปคือรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า แต่ผู้ป่วยบางรายก็จำเป็นต้องรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ในกรณีหลังนี้ให้รับประทานยาหลังอาหารเช้าและเที่ยง ห้ามรับประทานยาหลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะตอนกลางคืน และต้องลุกมาเข้าห้องน้ำตลอดคืน

ยาลดความดันโลหิตอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้กันบ่อย คือ ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) ยานี้มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติ้ง (angiotensin converting enzymes) เช่น อีนาลาพริล (enalapril), ไลซิโนพริล (lisinopril), รามิพริล (ramipril), เพอรินโดพริล (perindopril)อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ก่อความรำคาญแก่ผู้ใช้ยา คืออาการไอแห้งๆ ได้ ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และไม่ใช่อาการแพ้ยา อาการนี้อาจทำให้รู้สึกรำคาญ ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการหมั่นจิบน้ำ หรือรับประทานยาอมชนิดที่ทำให้ชุ่มคอ ร่างกายจะสามารถปรับตัวได้ แต่ในกรณีที่อาการเป็นมากจนรบกวนคุณภาพชีวิต อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยา แต่ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาด้วยตนเอง ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์พิจารณาเปลี่ยนยาให้

ผู้ป่วยบางรายใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงเพียงชนิดเดียว ก็ลดความดันโลหิตได้ดี และสามารถควบคุมให้มีค่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจได้ แต่ผู้ป่วยบางรายต้องใช้ยา 2 ชนิด หรือมากกว่านั้น ความดันโลหิตจึงจะลดลงมาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ในกรณีนี้ผู้ป่วยมักจะได้รับยามื้อละหลายเม็ด อย่ารู้สึกเบื่อเสียก่อน และอย่าหยุดยาเพราะเบื่อที่จะรับประทานยาทุกวัน หรือ เพราะคิดว่าไม่มีอาการผิดปกติใดๆ การหยุดยาจะเป็นผลเสียเพราะทำให้ความดันโลหิตกลับสูงขึ้นมาอีก และอาจสูงมากจนหลอดเลือดในสมองแตก เกิดอัมพาต อัมพฤกษ์ตามมาได้

ข้อสำคัญในการใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลดี ก็คือ จะต้องรับประทานยาต่อเนื่องกันทุกวันและรับประทานยาตรงเวลา หากลืมรับประทานยาและนึกขึ้นได้เมื่อใกล้จะรับประทานยามื้อต่อไป ให้รับประทานยาของมื้อนั้นก็พอ และห้ามรับประทานยาเพิ่มเป็น 2 เท่า มิฉะนั้นความดันโลหิตจะลดต่ำลงอย่างมาก เกิดอาการหน้ามืด ล้มลง หมดสติ เป็นอันตรายได้

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปเป็นยาเม็ดที่ปลดปล่อยตัวยาแบบปกติ ซึ่งรับประทานวันละครั้งเดียว นอกจากนี้ก็เป็นยาเม็ดที่ออกแบบเป็นพิเศษให้ค่อยๆ ปลดปล่อยตัวยาออกมา เพื่อให้ออกฤทธิ์ได้ยาวนาน และลดจำนวนครั้งของการรับประทานยาได้ เหลือเพียงรับประทานวันละ 1-2 ครั้ง  ยาเม็ดที่ออกแบบเป็นพิเศษนี้มักมีขนาดโตกว่าปกติ ทำให้กลืนยาได้ลำบาก แต่แม้ว่ายาจะเม็ดใหญ่ ก็ห้ามบด เคี้ยว หรือหักเม็ด เพราะจะทำให้รูปแบบยาที่ออกแบบเป็นพิเศษนั้นเสียไป ที่อันตรายก็คือ หากเคี้ยวหรือบดยาแล้วกลืนยาลงไป ก็จะได้ตัวยาเข้าร่างกายในปริมาณสูงมากภายในการกลืนยาครั้งเดียว แทนที่ตัวยาจะค่อยๆ ออกมาทีละน้อย ฤทธิ์ยาก็จะสูงมากและความดันโลหิตจะตกลงอย่างมาก จนอาจทำให้หน้ามืด ล้มลงและหมดสติได้

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะต้องระมัดระวังภาวะความดันโลหิตตกเนื่องจากเปลี่ยนอิริยาบถอย่างฉับพลัน ดังนั้นเวลาจะลุกจากเก้าอี้หรือลุกจากเตียง ก็ต้องลุกขึ้นอย่างช้าๆ มิฉะนั้นจะหน้ามืด เป็นลม ล้มลงได้ นอกจากการใช้ยาแล้ว ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ต้องลดการรับประทานอาหารเค็ม นั่นคือปริมาณเกลือต้องไม่เกินวันละ 1ช้อนชา หรือน้ำปลาไม่เกินวันละ 3-4 ช้อนชา หากอ้วนหรือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ก็ต้องลดความอ้วนซึ่งหากต้องการใช้วิธีออกกำลังกาย ควรทำแต่พอประมาณให้มีเหงื่อออก ไม่หักโหม  ออกกำลังกายประมาณครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำชา กาแฟ หยุดดื่มเหล้า หยุดสูบบุหรี่รวมทั้งทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงเท่านี้จะช่วยให้การรักษาโรคความดันโลหิตสูงมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยLeave a Comment on ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาความดัน

ความรู้เกี่ยวกับ วัคซีนโควิด 19

Posted on May 16, 2021May 16, 2021 by visaza_effects
ความรู้เกี่ยวกับ วัคซีนโควิด 19

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ยังคงไม่หายไปง่ายๆและวัคซีนก็เริ่มมีการฉีดเรื่อยๆแต่เรารู้เกี่ยวกับวัคซีนมากแค่ไหนวันนี้เรามาดูกันว่าเราต้องรู้อะไรเกี่ยวกับวัควีนบ้างวัคซีนมีหลายชนิด ขณะนี้ที่อนุญาตให้ใช้ในมนุษย์ใน ภาวะปกติ และฉุกเฉิน ที่ผ่านการทดลองมี 3 กลุ่ม

1 mRNA วัคซีน เช่น วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ moderna
วัคซีนชนิดนี้จะเป็น mRNA ที่ถูกห่อหุ้มด้วย lipid nanoparticle เมื่อฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อ particle จะเข้าสู่ เซลล์กล้ามเนื้อ mRNA จะถูกถอดออก ใน cytoplasm หรือของเหลวในเซลล์ แล้วmRNA จะเข้าสู่ ribosome ทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนด messenger RNA
ดังนั้น RNA ที่ใส่เข้าไปจะต้องมี Cap, 5’ UTR, spike RNA, 3’UTR และ poly A tail อยากให้พวกเราสนใจวิทยาศาสตร์ จะเข้าใจง่ายขึ้น ในรูปแบบที่กล่าวถึงโรงงาน ribosome จะสร้างโปรตีนตามกำหนดและ ส่งผ่านออกทาง golgi ออกสู่นอกเซลล์
โปรตีนที่สร้างออกมาจะเป็นแอนติเจนไปกระตุ้นร่างกายสร้างแอนติบอดี ที่เป็นภูมิต้านทานต่อโรคโควิด 19
ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ทำได้ง่าย และเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว เพราะทำในโรงงาน กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูง
ข้อเสียอยู่ที่ว่า RNA สลายตัวได้ง่าย เก็บที่อุณหภูมิต่ำมากๆ และวัคซีนชนิดนี้เป็นชนิดแรกที่ใช้ในมนุษย์ อาการข้างเคียงหลังฉีดพบได้บ่อยกว่า วัคซีนที่ทำโดยชนิดเก่า เช่นมีไข้ ปวดเมื่อย และผลระยะยาวคงต้องรอการศึกษาต่อไป เช่นติดตามเป็นปีหรือหลายปี

2 ไวรัสvector (ของอังกฤษ, AstraZineca และรัสเซีย Spuknic V)
วัคซีนนี้จะใช้วิธีการเอาสารพันธุกรรมของไวรัส ใส่เข้าไปในไวรัสที่จะเป็นเวกเตอร์ หรือ ตัวฝากนั่นเอง ที่ใช้อยู่เป็น adenovirus, vesicula stomatitis virus ไม่ก่อโรคในคน
การใส่เข้าไปเข้าใจว่าเป็น cDNA ของ covid 19 เพื่อให้ไวรัส vector ส่งสารพันธุกรรม ของ covid-19 เข้าไปในเซลล์มนุษย์ เมื่อเข้าไปแล้ว ไวรัสจะถอดรูปพันธุกรรมที่ส่งเข้าไป จะต้องเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ เพื่อลอกแบบ และเปลี่ยนให้เป็น mRNA ส่งออกมา แล้วส่วนของ mRNA จะไปที่ ไรโบโซม เพื่อทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ คือ spike โปรตีน ส่งผ่านออกมาทาง golgi ออกนอกเซลล์เช่นเดียวกับ mRNA
โปรตีนที่ส่งออกมา จะทำหน้าที่เป็นแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี ต่อเชื้อโควิค 19
ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้คือ ผลิตได้จำนวนมากได้ง่าย เพราะทำจากโรงงาน เป็น DNA จะมีความคงทนกว่า จึงสามารถเก็บได้ในอุณหภูมิ 2 – 8 องศา ราคาจะถูก เพราะทำได้จำนวนมาก
วัคซีนนี้เป็นชนิดใหม่เช่นเดียวกัน ผลระยะยาวจึงยังไม่ทราบ และ จะต้องคำนึงอีกประการหนึ่งคือขั้นตอนที่ผ่านนิวเคลียสของเซลล์ เราไม่ทราบว่าจะมีการรวมตัว integrate กับ DNA ของมนุษย์ ตามหลักการ แล้วไม่ ผลระยะยาวก็คงต้องติดตามต่อไป

3 วัคซีนเชื้อตาย (ของจีน Sinovac, Sinopharm)
วิธีการผลิตจะใช้หลักการกับวัคซีน ที่ทำมาแต่ในอดีตเช่น วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนโปลิโอ พิษสุนัขบ้าและอื่นๆอีกหลายชนิด
นักวิทยาศาสตร์จะใช้เชื้อโควิด 19 เพราะเลี้ยงบน Vero cell เซลล์ชนิดนี้ ใช้ทำวัคซีนหลายชนิดเช่นวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และใช้กันมานานมาก อย่างที่เราฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
เมื่อเพาะได้จำนวนไวรัสจำนวนมาก ก็จะเอามาทำลายฤทธิ์หรือฆ่าเชื้อให้ตายแล้วนำมา formulation ใส่สารกระตุ้นภูมิต้านทาน
ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้คือ วิธีการทำเป็นวิธีที่เรารู้กันมาแต่โบราณ ในเรื่องความปลอดภัย เป็นเชื้อตายสามารถให้ในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อไม่ไปเพิ่มจำนวน
การกระตุ้นภูมิต้านทานจะได้ระดับต่ำกว่าวัคซีนที่กล่าวมาจากข้างต้น
ข้อเสียของวัคซีนชนิดนี้คือการผลิตจำนวนมาก จะทำได้ยาก เพราะไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสก่อโรค จะต้องเพาะเลี้ยง ในห้องชีวนิรภัยระดับสูง ต้นทุนในการผลิตจะมีต้นทุนสูง
เราจะเห็นว่าวัคซีนไวรัสตับอักเสบ เอไม่สามารถลดราคาลงให้ถูกลงได้ ในทำนองเดียวกันการผลิตจำนวนมากของวัคซีน covid19 ชนิดเชื้อตายก็จะมีขีดจำกัด

Posted in ข่าวสารLeave a Comment on ความรู้เกี่ยวกับ วัคซีนโควิด 19

ฟาวิพิราเวียร์ ยาที่ไว้ใช้รักษาโควิด – 19 กำลังขาด

Posted on May 7, 2021May 7, 2021 by visaza_effects
ฟาวิพิราเวียร์ ยาที่ไว้ใช้รักษาโควิด – 19 กำลังขาด

ในตอนนี้เราจะได้ยินชื่อยา ฟาวิพิราเวียร์ ออกมาตามสื่อต่างๆ โดยยาตัวนี้ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด – 19 เมื่อวันที่ 3 พ.ค. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กทม.จัดซื้อยาต้ายไวรัสชนิดนี้มาได้ 50,000 เม็ด และได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี อีก 50,000 เม็ด รวมเป็น 100,000 เม็ด

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กทม. มีแนวคิดที่จะให้ยาชนิดนี้แก่ผู้ป่วยระดับสีเขียว (ผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อยมาก) ที่เข้ามากักตัวที่โรงพยาบาลสนามตั้งแต่วันแรกทุกคน ๆ ละ 50 เม็ด ซึ่งทำให้แพทย์หลายคนออกมาแสดงความกังวลถึงความจำเป็นและอาจก่อให้เกิดภาวะดื้อยา

ท้ายที่สุดหลังจากมีการหารือร่วมกับกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็มีการสรุปว่าผู้ป่วยระดับสีเขียวจะได้รับยาชนิดนี้ก็ต่อเมื่อเข้าเกณฑ์การประเมินของแพทย์ คือ เป็นผู้ป่วยที่มีปริมาณไวรัสในร่างกายมากกว่าผู้อื่นและเสี่ยงต่อการลุกลามของโรค ซึ่งเชื่อว่ากลุ่มคนเหล่านี้หากได้รับยาตั้งแต่แรกและรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5-10 วัน จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการทรุดลงจนกลายเป็นผู้ป่วยระดับสีเหลืองหรือสีแดง

ล่าสุด กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขออกมาระบุว่า ยังไม่แนะนำให้ใช้ยาฟาร์วิพิราเวียร์สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ ยกเว้นผู้ที่มีโรคร่วม และ/หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ โดยให้เหตุผลว่ายังมีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการไม่เพียงพอที่ยืนยันถึงประโยชน์ของการให้ยาโดยเร็วตั้งแต่ยังไม่มีอาการ

Posted in ข่าวสารLeave a Comment on ฟาวิพิราเวียร์ ยาที่ไว้ใช้รักษาโควิด – 19 กำลังขาด

โรคเบาหวานกับผู้สูงอายุ

Posted on May 5, 2021May 5, 2021 by visaza_effects
โรคเบาหวานกับผู้สูงอายุ

ในยุคสมัยที่เริ่มเปลี่ยนไปตามกาลเวลานั้นทุกอย่างมันดูดีและดูพัฒนาการไปมากและในการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยนั้นในปัจจุบันนั้นพบว่า คนไทยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปนั้นมีสภาวะการเป็นโรคเบาหวานมากเมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมในระบบต่าง ๆ ของร่างกายย่อมตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม กายภาพกล้ามเนื้อและมวลกระดูกลดลง  การเผาผลาญลดลง ส่งผลให้ผู้สูงวัยมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น มีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้มากกว่าคนอายุน้อยที่เป็นโรคเบาหวาน    

ในทางกลับกันโรคเบาหวานที่คุมไม่ดีในผู้สูงวัยก็ส่งผลให้ร่างกายเสื่อมถอยมากกว่าผู้สูงวัยที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน และส่งผลให้การได้ยินลดลง เกิดโรคต้อหิน ต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม รวมถึงส่งผลต่อสมอง ทำให้การรับรู้ ความเข้าใจ และความจำลดลง


การรักษาเบาหวานในผู้สูงวัย

ปัจจุบันการรักษาโรคเบาหวานมีการพัฒนาทั้งตัวยารักษาและการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในการรักษา ทำให้ผู้สูงวัยสามารถดูแลรักษาโรคเบาหวานได้ดีขึ้น ส่งผลให้ลดการเสื่อมถอยและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ดี

การรักษาควรเริ่มต้นจากการร่วมวางแผนการรักษาด้วยกัน ทั้งผู้สูงวัยที่เป็นโรคเบาหวาน ลูกหลาน และคนดูแล รวมถึงแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพมีการกำหนดเป้าหมายในการคุมเบาหวานว่าต้องเข้มงวดมากแค่ไหน ควรมีค่าน้ำตาลสะสมเท่าไร (HbA1c)  อาหารที่เหมาะสมในการรับประทานควรเป็นอย่างไร ตลอดจนการทำแบบประเมินการรับรู้เข้าใจของสมองและภาวะจิตใจ การประเมินการเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันการหกล้ม ซึ่งผู้สูงวัยแต่ละคนแต่ละครอบครัวมีสุขภาพร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตแตกต่างกันจึงควรวางแผนเฉพาะการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อประสิทธิภาพในการรักษา

สิ่งที่ต้องระวังเมื่อรักษาเบาหวานในผู้สูงวัย

การดูแลรักษาเบาหวานในผู้สูงวัย สิ่งที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษคือ

  • ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ เพราะภาวะน้ำตาลต่ำมีผลกระทบทันทีต่อการรับรู้ของสมองและหัวใจ   แต่ในกรณีที่เกิดขึ้นแล้วควรดูแลแก้ไขให้ทันท่วงที โดยรีบรับประทานแป้งหรือน้ำตาลแล้วหลังจากนั้นปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรับการรักษาให้เหมาะสม
  • เลือกใช้ยาที่มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลต่ำน้อยเป็นอันดับแรก หากคุมไม่ได้ค่อยเลือกยาที่ลดน้ำตาลได้มากหรือฉีดยาอินซูลิน
  • ควบคุมรักษาโรคร่วมอื่น ๆ ให้ดี การดูแลรักษาเบาหวานในผู้สูงวัย นอกจากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ต้องควบคุมรักษาโรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โรคฟันผุ รวมถึงการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบติดเชื้อด้วย    
Posted in บทความLeave a Comment on โรคเบาหวานกับผู้สูงอายุ

หลักการใช้ยาหยอดหู

Posted on May 3, 2021May 3, 2021 by visaza_effects
หลักการใช้ยาหยอดหู

ยาที่ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องหูรักษาการอักเสบภายในหูชั้นนอก หูชั้นกลางและใช้รักษาการอุดตันของขี้หู

1. ล้างมือให้สะอาด และเช็ดแห้ง
2. ถ้ามีน้ำเหลืองหรือหนอง ควรเช็ดออกด้วยสำลีพันปลายไม้ทุกครั้งก่อนหยอดยา
3. นอนหรือนั่งตะแคงหูข้างที่เป็นขึ้น หยดยาลงไปตามจำนวนที่ระบุ ระวังอย่าให้ปลายหลอดยา แตะถูกหู เพราะจะทำให้ปนเปื้อนฝุ่นสกปรกหรือเชื้อโรคได้
4. อยู่ในท่านั้นประมาณ 15 นาที แล้วจึงเอนศีรษะกลับคืนปกติ ซับน้ำยาที่ไหลจากหูทิ้ง
5. เมื่อเปิดใช้ยาหยอดหูแล้ว ไม่ควรเก็บส่วนที่เหลือไว้นานเกิน 1 เดือน

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยLeave a Comment on หลักการใช้ยาหยอดหู

Posts navigation

Older posts
dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ