Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล

Posted on June 22, 2019November 25, 2020 by via1sideffects

ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีน (Histamine) มี 2 กลุ่ม  กลุ่มแรก หรือกลุ่มดั้งเดิมมีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม อยากนอน และ กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม   ยาแก้แพ้ที่เราคุ้นเคยกันดีกับการใช้บรรเทาอาการหวัด ลดน้ำมูก ลดอาการคัน คงหนีไม่พ้นยาเม็ดกลมๆ เล็กๆ สีเหลืองบ้าง สีขาวบ้าง  ที่มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า  “คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)”  หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า ซีพีเอ็ม (CPM) หรือ คลอร์เฟน นั่นเอง   

เหตุที่ได้รับความนิยมก็ด้วยมีราคาถูก มีความปลอดภัยสูง มีโอกาสแพ้ยา หรือเกิดผลข้างเคียงน้อย และหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป  อย่างไรก็ดี  หากอยู่ระหว่างตั้งครรภ์แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยาทุกชนิด  อีกทั้งมีรายงานว่า คลอร์เฟนิรามีนอาจไม่เหมาะกับหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมมุตรเพราะตัวยาสามารถขับออกได้ทางน้ำนม  

นอกจากยาคอลอร์เฟนิรามีนชนิดเม็ดที่เรารู้จักกันดีแล้ว ยังมีชนิดน้ำเชื่อมและชนิดฉีดด้วย ซึ่งแต่ละชนิดก็มีข้อบ่งใข้แตกต่างกันไป

  • ยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อม  เหมาะสำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 4 ปีลงไป แต่ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 สัปดาห์เพราะจะทำให้เสมหะของเด็กเหนียวขับออกยาก
  • ยาแก้แพ้ชนิดเม็ด          จะเป็นชนิดที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเมื่อเราเป็นหวัด มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หรืออาจเกิดอาการแพ้อาหารทะเล มีผื่นคันขึ้นตามตัวคงต้องรับประทานยาแก้แพ้แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่อย่างนั้นคงต้องทนทุกข์กับความทรมานของอาการที่เกิดจากการแพ้

วิธีการกินยาแก้แพ้ที่ถูกต้อง

  1. ควรรับประทานยาแก้แพ้ วันละ 2-4 ครั้ง หรืออย่างน้อยหลังจากรับประทานยาแก้แพ้ครั้งแรกต้องรอให้ผ่านไปอีกประมาณ 6 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย จึงจะเริ่มรับประทานยาแก้แพ้ครั้งต่อไป
  2. ห้ามรับประทานยาแก้แพ้ร่วมกันกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาจำพวกระงับประสาทเด็ดขาด เพราะจะทำให้เพิ่มความง่วงนอนอย่างมาก
  3. การใช้ยาแก้แพ้เพื่อให้นอนหลับ แม้อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการคันจนนอนไม่หลับ  ผู้ป่วยบางโรคที่ต้องการพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูร่างกาย เช่น โรคหวัด  ภูมิแพ้  แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้เป็นยานอนหลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ นำไปสู่แก้ไขอย่างถูกต้อง 
  4. หากรับประทานยาแก้แพ้เข้าไปแล้วแต่กลับมีอาการไอเพิ่มขึ้นมาก ควรหยุดรับประทานทันทีเพราะยาแก้แพ้จะทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นมากกว่าเดิม
  5. ปริมาณการรับประทานยาแก้แพ้ชนิดเม็ด 
  • ในวัยผู้ใหญ่และเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป ควรรับประทานยาครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-4 ครั้ง   หรือทุก 4-6 ชั่วโมง   
  • เด็กที่มีอายุ 7-12 ปีควรกินครั้งละครึ่งเม็ด เด็กที่มีอายุ 4-7 ปี ควรกินครั้งละ 1 ใน 4 ของเม็ด 
  • ส่วนเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี ต้องรับประทานยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อมเท่านั้นเพราะว่าถ้าหากเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี รับประทานยาแก้แพ้เกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการชักรุนแรงขึ้นได

ปริมาณการกินยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อม 

  • เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี กินครั้งละครึ่งช้อนชา โดยต้องไม่มากไปกว่าวันละ 2 ครั้งต่อวัน
  • เด็กอายุ 1-4 ปี กินครั้งละครึ่งช้อนชา โดยต้องไม่มากไปกว่าวันละ 3-4 ครั้งต่อวัน 
  • สำหรับเด็กอายุ 4-7 ปี รับประทานครั้งละครึ่งถึงหนึ่งช้อนชา  วันละ 2-4 ครั้ง  

 6. การกินยาแก้แพ้ ห้ามเคี้ยว หรือบดตัวยาอย่างเด็ดขาด

การรับประทานยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิมอย่างคลอร์เฟนิรามีนอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน  เวียนศรีษะ  ตาพร่ามัวได้ ดังนั้นหลังรับประทานจึงควรพักผ่อน หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักร เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

สรรพคุณของยาแก้แพ้

  • บรรเทาอาการหวัดคัดจมูก  ลดน้ำมูก อาการจาม  คันจมูกและคอ
  • บรรเทาอาการแพ้ฝุ่นละเออง เกสรดอกไม้
  • บรรเทาอาการคันและระคายเคืองจากสาเหตุต่างๆ  
Posted in ArticleTagged น้ำมูกไหล

Post navigation

วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ