Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

Author: via1sideffects

“ยาสมุนไพร” ไม่มี อย. อาจรักษาโรคไม่ได้ แถมเสี่ยงตับไตพัง

Posted on October 26, 2019October 26, 2019 by via1sideffects
“ยาสมุนไพร” ไม่มี อย. อาจรักษาโรคไม่ได้ แถมเสี่ยงตับไตพัง

ผู้บริโภคหลงเชื่อโฆษณาสมุนไพรที่ไม่มี อย.รับรอง อ้างสรรพคุณรักษาโรคเกินจริง ทำผู้ป่วยอาการทรุดหนัก เสี่ยงเป็นโรคไต และอาจทำให้หัวใจวาย


ยาสมุนไพร แม้อ้างว่ามาจากธรรมชาติ แต่ไม่ได้ดีต่อร่างกายเสมอไป

นายธนพล ดอกแก้ว ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้ยาสมุนไพรอย่างไม่สมเหตุผล ว่า ปัจจุบันมีการปล่อยให้โฆษณายาสมุนไพรทั้งสื่อสังคมออนไลน์ และสื่อกระแสหลักแบบเกินจริง ทำให้ประชาชนหลงเชื่อ สามารถหาซื้อได้ง่าย โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์ทางเลือก หรือแพทย์แผนปัจจุบัน บางส่วนก็ไม่ได้รับการรับรองจาก อย. มีการลักลอบใส่ปรอท สเตียรอยด์ เพื่อให้ได้ผลเร็ว จนทำให้เกิดผลกระทบกับสุขภาพผู้บริโภคจำนวนมาก ทางชมรมฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้ยาสมุนไพรเดือนละไม่ต่ำกว่า 20 ราย ทั้งในส่วนของผู้ป่วยโรคไต และผู้ที่ไม่ได้เจ็บป่วยมาก่อน จึงทำเรื่องร้องเรียนส่งต่อไปยัง อย. และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) แล้ว

นายธนพล กล่าวต่อว่า จากการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ที่ใช้ยาสมุนไพร มาจากเพราะคำว่า “เขาเล่าว่า” โฆษณาด้านดี ไม่ให้ข้อมูลผลกระทบเลย มีการอ้างสรรพคุณรักษาโรคครอบจักรวาล ซึ่งเป็นไปไม่ได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปดูแล กำกับเรื่องการโฆษณาอย่างเข้มงวด 

ทั้งนี้ ขอเตือนผู้บริโภคว่า จะรับประทานยาสมุนไพรต่าง ๆ ต้องมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านยา เช่น เภสัชกร แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก และแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะเราไม่ได้ห้ามไม่ให้ใช้ แต่การใช้ต้องใช้อย่างถูกต้อง ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งแต่ละคน แต่ละโรคมีความแตกต่างกัน ยิ่งเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคไตจะได้รับผลกระทบเร็วมาก แค่ 1-2 วันที่ใช้ไปก็ตัวบวม เพราะเกิดของเสียคั่ง ฟอสฟอรัสสูง โพแทสเซียมสูง และทำให้หัวใจวายได้

Posted in บทความ

“ต้นตีนเป็ด” หรือ “พญาสัตบรรณ” กับ 6 ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ

Posted on October 26, 2019October 26, 2019 by via1sideffects
“ต้นตีนเป็ด” หรือ “พญาสัตบรรณ” กับ 6 ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ

หน้าหนาวมาทีไร แถวบ้านใครที่ปลูกต้นตีนเป็ด หรือต้นพญาสัตบรรณ เอาไว้คงได้กลิ่นจากดอกของต้นนี้อย่างชัดเจน บ้างก็ว่าหอมชื่นใจ บ้างก็ว่าเหม็นจนเวียนหัว แต่ไม่ว่าอย่างไรต้นตีนเป็ดก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของ “ลมหนาว” ไปโดยปริยาย

นอกจากต้นตีนเป็ดจะเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงากับเราได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีสรรพคุณดีๆ ที่ช่วยรักษาอาการต่างๆ ในฐานะของการเป็นสมุนไพรไทยได้อีกด้วย

ต้นตีนเป็ด หรือพญาสัตบรรณ กับประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ

  1. เปลือกของลำต้นมีรสขม สามารถนำมาทำเป็นยาที่ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน และแก้หวัด แก้ไอ บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ
  2. เปลือกของลำต้น ช่วยรักษาโรคบิด ท้องร่วง ท้องเดินเรื้อรัง โรคลำไส้และลำไส้ติดเชื้อ
  3. เปลือกของลำต้น ต้มน้ำอาบ ลดอาการผดผื่นคัน
  4. ยางจากลำต้น ใช้หยอดหูแก้อาการปวดหู และใช้อุดฟันเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
  5. ใบอ่อน นำมาต้มเพื่อดื่มรักษาโรคลักปิดลักเปิด
  6. ใบ และยาง ชาวอินเดียใช้รักษาแผล แผลเปื่อย แผลตุ่มหนอง และอาการปวดข้อ 

ข้อควรระวังของต้นตีนเป็ด หรือพญาสัตบรรณ

จำให้ดีว่า ต้นตีนเป็ด (Alstonia scholaris) กับต้นตีนเป็ดน้ำ หรือต้นตีนเป็ดทะเล (Cerbera odollam) ไม่เหมือนกัน ต้นตีนเป็ดน้ำจะมีลำต้นเล็กกว่า และพบอยู่ริมน้ำ ริมคลอง หรือป่าชายเลน มีดอกสีขาวพร้อมกลิ่นอ่อนๆ ผลเป็นลูปกลมๆ หากลูกหลุดจากต้นแล้วแห้ง สามารถนำมารดน้ำปลูกเป็นต้นใหม่ได้

>> ต้นตีนเป็ดน้ำ ต้นตีนเป็ดทะเล มีพิษร้ายอย่างไร?

ต้นตีนเป็ดจะลำต้นสูงใหญ่กว่า ดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ผลจะออกมาเป็นฝักยาว เส้นๆ กลมเรียว และที่สำคัญคือส่งกลิ่นได้เข้มข้นรุนแรงกว่า

Posted in บทความLeave a Comment on “ต้นตีนเป็ด” หรือ “พญาสัตบรรณ” กับ 6 ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ

รพ. จ่ายยาเบาหวาน ให้ผู้ป่วยความดันนอนติดเตียง กินแป๊บเดียวสลบเลย !!

Posted on September 17, 2019November 25, 2020 by via1sideffects
รพ. จ่ายยาเบาหวาน ให้ผู้ป่วยความดันนอนติดเตียง กินแป๊บเดียวสลบเลย !!

อุทาหรณ์..สาวเล่านาทีเฉียดตายของยายที่ป่วยนอนติดเตียง วูบสลบหลังกินยาผิด ไปกินยาเบาหวานทั้งที่ไม่ได้ป่วย ทำน้ำตาลในเลือดลดฮวบเหลือ 20 ..สาเหตุโรงพยาบาลจ่ายยาให้ผิด !!

          เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560 เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict ได้มีการหยิบเอาเรื่องราวอุทาหรณ์ของสาวลูกเพจ กรณีคุณยายเธอกินยาผิด โดยคุณยายป่วยความดันสูงแต่ไปกินยาเบาหวาน จนทำให้น้ำตาลในเลือดลดเหลือ 20 กว่า ๆ เท่านั้น จนเกิดอาการวูบสลบทันที แต่โชคดีที่นำตัวส่งโรงพยาบาลได้ทัน และตอนนี้อาการปลอดภัยแล้ว ซึ่งเมื่อตรวจสอบถึงสาเหตุจึงทราบว่า ทางโรงพยาบาลที่จ่ายยามาให้นั้น จ่ายยาให้ผิด

          อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลยินดีรับผิดชอบในการเยียวยา รวมถึงจะดำเนินการปรับปรุงระบบการจ่ายยา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นอีก พร้อมทั้งฝากให้ญาติคนไข้ ดูยาในซองกับสติ๊กเกอร์หน้าซองด้วยว่า ระบุยาตรงกันไหม

ภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Drama-addict

Posted in ArticleTagged กินแป๊บเดียวสลบเลย !!, รพ.จ่ายยาผิด

ความเชื่อเรื่องการกินยา

Posted on August 16, 2019November 25, 2020 by via1sideffects
ความเชื่อเรื่องการกินยา

เรื่องของยารักษาโรค มีหลายความเชื่อที่ผิด และกลายเป็นข้อสงสัยของผู้คนจำนวนมากในเรื่องของข้อเท็จจริง อีกด้านหนึ่งยังพบว่าความเชื่อที่ผิดเหล่านั้นนำไปสู่การใช้ที่ไม่ถูกวิธี ทำให้ผลการรักษาด้อยประสิทธิภาพลง โดยข้อมูลที่นำมาเสนอในครั้งนี้จะเป็นการไขทุกความเชื่อเรื่องยารักษาโรค ความเชื่อไหนผิดหรือความเชื่อไหนถูกต้อง ทุกคนจะได้รับรู้พร้อมกันจากผู้เชี่ยวชาญ

ยาฉีดมีประสิทธิภาพมากกว่ายากิน จริงหรือไม่?

ไม่จริงเสมอไป เพราะยาชนิดกินก็มีประสิทธิภาพในการรักษาเช่นกัน เพียงแต่ยาฉีดจะใช้สำหรับผู้ป่วยบางรายที่การทำงานของลำไส้หรือกระเพาะอาหารมีปัญหา ดูดซึมยาผิดปกติหรือติดเชื้อรุนแรง หรือในกรณีที่ต้องการให้ยาที่ออกฤทธิ์เร็ว  การใช้ยาฉีดจะดีกว่ายากิน เนื่องจากไม่ต้องรอให้ยาดูดซึมจนถึงระดับการรักษาของยา แต่ยากินจะมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่ายาฉีด

ยาต่างประเทศมีประสิทธิภาพมากกว่ายาในประเทศ จริงหรือไม่?

ไม่จริง เพราะยาทุกชนิดไม่ว่าจะยาไทยหรือยาต่างประเทศ ก่อนวางจำหน่ายล้วนผ่านการตรวจสอบโดยละเอียดและผ่านการรับรองแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษา ดังนั้นทั้งยาไทยและยาต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายในท้องตลาด ย่อมมีประสิทธิภาพในการรักษาด้วยกันทั้งสิ้น

แต่ทั้งนี้ประเทศไทยจะมีการประกาศมาตรฐานยาตามเภสัชตำรับในราชกิจจานุเบกษาว่ายาแต่ละชนิดจะต้องทบทวนตำรับยาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของโรงงานยาและผู้ผลิตยาที่ต้องดำเนินการ

การกินยาชนิดใดนาน ๆ จะมีผลต่อตับและไต จริงหรือไม่?

ขึ้นอยู่กับสภาวะของคนไข้ว่ามีปัญหาการทำงานของตับหรือไตหรือไม่ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับการใช้ยาที่ถูกวิธี ถูกขนาดหรือไม่ หากมีการใช้ยาโดยไม่มีข้อบ่งชี้ ก็อาจมีผลต่อตับหรือไตได้ หรืออาจได้รับผลข้างเคียงของยา

การกินยาชนิดใดนาน ๆ จะทำให้ดื้อยา จริงหรือไม่?

การกินยาต่อเนื่องเป็นเวลานานไม่ได้ทำให้ดื้อยา หากการกินยานั้นอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ แต่ปัญหาที่พบส่วนมากคือคนไข้ส่วนหนึ่ง หลังจากกินยาไปช่วงเวลาหนึ่งแต่ยังไม่ครบตามแพทย์สั่ง ก็หยุดกินยาเอง หลังจากนั้นหากมีการกลับมากินยาชนิดนั้นอีกครั้ง อาจทำให้ผลการรักษาไม่ดีนัก โดยเฉพาะยาโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องกินต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง ไม่ควรหยุดยาเอง ยกเว้นยารักษาตามอาการที่สามารถหยุดกินได้เมื่ออาการดีขึ้น เช่น ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ปวด ยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

ยาแอสไพรินทำให้เลือดออกในสมอง จริงหรือไม่?

หากใช้ยาตามแพทย์สั่งไม่ทำให้เกิดปัญหา เพราะส่วนมากคนไข้ที่รับยามักมีการติดตามอาการกับแพทย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแพทย์จะปรับยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย แต่ปัญหาของยาแอสไพรินคือมีผลข้างเคียงทำให้ระคายกระเพาะอาหาร ดังนั้นควรกินยาหลังอาหารทันที่ และดื่มน้ำตามปริมาณมาก เพื่อลดผลข้างเคียงดังกล่าว

หากลืมกินยาต้องทำอย่างไร?

ขึ้นอยู่กับชนิดยา หากไม่ใช่ยาที่อาหารมีผลต่อการดูดซึม สามารถกินทันทีเมื่อนึกขึ้นได้ แต่ถ้าหากอาหารมีผลต่อการดูดซึม เช่น ยาก่อนอาหาร ซึ่งควรกินตอนท้องว่างหรือกินก่อนอาหาร 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง หากลืมกินยาก่อนอาหาร ควรกินหลังรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง

ในส่วนของยาที่มีผลข้างเคียงระคายเคืองกระเพาะอาหาร ต้องกินหลังอาหารทันที หากลืมกินยาจะต้องกินอาหารก่อนค่อยกินยา ไม่ควรกินตอนท้องว่าง หากลืมกินยาหลังอาหาร สามารถกินได้ทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ถ้าหากเป็นยา 3 เวลา หากนึกได้ใกล้มื้อถัดไป ให้ข้ามกินมื้อต่อไปได้เลย

การกินยาก่อนนอน สำหรับคนที่นอนไม่เป็นเวลา

ควรกินยาเวลาเดิมทุกวัน เช่น หากกินยาตอน 3 ทุ่มก็ควรกินเวลานั้นทุกวัน แม้จะไม่ได้นอนตอน 3 ทุ่มทุกวันก็ตาม ควรกำหนดเวลาเอาไว้แล้วกินเวลาเดิม เพื่อให้ระดับยาคงที่ ทำให้ยาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการกินยาไม่ตรงเวลา

กินยาแล้วกลิ่นและสีของปัสสาวะผิดปกติ แสดงว่ายาออกฤทธิ์ดี จริงหรือไม่?

ขึ้นอยู่กับชนิดของยา เช่น ยาคลายเครียด เช่น Amitriptyline ทำให้ปัสสาวะสีน้ำเงิน ยาวัณโรค Rifampin/ยากันชัก Phenytoin ทำให้ปัสสาวะสีแดง หรือวิตามินบีรวม ทำให้ปัสสาวะกลิ่นเหมือนยา ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของตัวยา ไม่อันตรายแต่อย่างไร  ยกเว้นยาบางชนิดการที่ปัสสาวะมีลักษณะผิดปกติ อาจแสดงถึงความอันตราย เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หากกินแล้วปัสสาวะมีสีแดง มีจ้ำเลือดตามใต้ผิวหนัง แสดงว่าระดับยาสูงกว่าปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที

กินยาหลายชนิดทำให้ตีกัน จริงหรือไม่?

มีความเป็นไปได้ที่ยาแต่ละชนิดจะตีกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับชนิดยาด้วย ว่าถูกทำลายและขับออกจากร่างกายที่อวัยวะเดียวกัน เช่น ตับ หรือ ไต หรือไม่ ยาบางชนิดสามารถตีกับยาบางชนิด แต่ไม่เพียงเฉพาะการตีกันระหว่างยากับยาเท่านั้น แต่ยังพบว่าอาหาร/สมุนไพรบางชนิดก็ไม่ควรกินพร้อมกับยาบางชนิดด้วย  ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลยาแต่ละชนิดรวมทั้งอาหาร/สมุนไพรหากใช้ร่วมก่อนกินเสมอ

เก็บยาในตู้เย็น ดีหรือไม่?

ขึ้นกับชนิดของยา เนื่องจากประเทศไทยมีลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้การเก็บยาในตู้เย็นบางชนิด ส่งผลให้ยาเสื่อมสภาพได้ง่าย จึงไม่แนะนำ อีกทั้งยังส่งผลต่อความคงตัวของยา ทำให้อายุการเก็บรักษายาสั้นลง ยกเว้นยาบางชนิดที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ซึ่งสามารถสังเกตได้จากฉลากยาที่มักมีข้อความการเก็บรักษายากำกับไว้

กินยาแล้วอาการดีขึ้น สามารถหยุดกินได้หรือไม่?

ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค/อาการ/ชนิดของยา หากเป็นยารักษาโรคประจำตัว จำเป็นต้องกินต่อเนื่อง ห้ามหยุดยาเอง แต่ถ้าหากเป็นยารักษาตามอาการ สามารถหยุดกินได้เมื่ออาการดีขึ้น ส่วนยาปฏิชีวนะ จำเป็นต้องกินให้ครบคอร์ส หากกินไม่ครบจะเกิดการดื้อยา

ยาที่ออกฤทธิ์แรงกว่า สามารถรักษาดีกว่า จริงหรือไม่?

ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก ยาที่ออกฤทธิ์แรงมีไว้สำหรับผู้ป่วยที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อยาที่ออกฤทธิ์อ่อน ส่วนหนึ่งมาจากการติดเชื้อรุนแรง ดื้อยา หรืออาการของโรคซับซ้อน แต่ถ้าหากมีการตอบสนองต่อยาปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาที่ออกฤทธิ์แรงกว่าเพื่อหวังผลการรักษาที่ดีกว่า นอกจากนี้ยาที่ออกฤทธิ์แรงกว่าอาจยังมีผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น และเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

การหักเม็ดยาก่อนกิน ลดประสิทธิภาพยาหรือไม่?

ขึ้นอยู่กับชนิดยา สำหรับยาเม็ดเรียบสามารถหักก่อนกินได้ โดยไม่ทำให้ยาเสื่อมประสิทธิภาพในการรักษา แต่ยาบางชนิดมีการออกแบบมาเพื่อให้ออกฤทธิ์เนิ่น หากมีการหักเม็ดยาก่อนกิน จะทำให้ออกฤทธิ์ทันทีและหมดฤทธิ์ในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้การรักษาไม่มีประสิทธิผล หลักการนี้ใช้กับยาชนิดแคปซูลได้ด้วย ในเรื่องของการแกะเม็ดแคปซูลและนำผงไปละลายน้ำเพื่อกิน บางชนิดสามารถทำได้ แต่บางชนิดออกแบบมาให้ออกฤทธิ์ทีละน้อย หากแกะแล้วนำผงไปละลายน้ำ จะทำให้ออกฤทธิ์ทันทีซึ่งมีผลต่อการรักษา ไม่เพียงเท่านั้นยังอาจทำให้คนไข้ได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรง

Posted in Article

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Posted on August 16, 2019November 25, 2020 by via1sideffects
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid) เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บทันที ณ บริเวณเกิดเหตุ อาจเป็นการใช้ทักษะความรู้เฉพาะทางหรือการตัดสินใจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการช่วยเหลืออาจใช้เพียงอุปกรณ์เท่าที่หาได้ในขณะนั้น เพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือถูกส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

Posted in Article

วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล

Posted on June 22, 2019November 25, 2020 by via1sideffects
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล

ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีน (Histamine) มี 2 กลุ่ม  กลุ่มแรก หรือกลุ่มดั้งเดิมมีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม อยากนอน และ กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม   ยาแก้แพ้ที่เราคุ้นเคยกันดีกับการใช้บรรเทาอาการหวัด ลดน้ำมูก ลดอาการคัน คงหนีไม่พ้นยาเม็ดกลมๆ เล็กๆ สีเหลืองบ้าง สีขาวบ้าง  ที่มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า  “คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)”  หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า ซีพีเอ็ม (CPM) หรือ คลอร์เฟน นั่นเอง   

เหตุที่ได้รับความนิยมก็ด้วยมีราคาถูก มีความปลอดภัยสูง มีโอกาสแพ้ยา หรือเกิดผลข้างเคียงน้อย และหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป  อย่างไรก็ดี  หากอยู่ระหว่างตั้งครรภ์แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยาทุกชนิด  อีกทั้งมีรายงานว่า คลอร์เฟนิรามีนอาจไม่เหมาะกับหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมมุตรเพราะตัวยาสามารถขับออกได้ทางน้ำนม  

นอกจากยาคอลอร์เฟนิรามีนชนิดเม็ดที่เรารู้จักกันดีแล้ว ยังมีชนิดน้ำเชื่อมและชนิดฉีดด้วย ซึ่งแต่ละชนิดก็มีข้อบ่งใข้แตกต่างกันไป

  • ยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อม  เหมาะสำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 4 ปีลงไป แต่ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 สัปดาห์เพราะจะทำให้เสมหะของเด็กเหนียวขับออกยาก
  • ยาแก้แพ้ชนิดเม็ด          จะเป็นชนิดที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเมื่อเราเป็นหวัด มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หรืออาจเกิดอาการแพ้อาหารทะเล มีผื่นคันขึ้นตามตัวคงต้องรับประทานยาแก้แพ้แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่อย่างนั้นคงต้องทนทุกข์กับความทรมานของอาการที่เกิดจากการแพ้

วิธีการกินยาแก้แพ้ที่ถูกต้อง

  1. ควรรับประทานยาแก้แพ้ วันละ 2-4 ครั้ง หรืออย่างน้อยหลังจากรับประทานยาแก้แพ้ครั้งแรกต้องรอให้ผ่านไปอีกประมาณ 6 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย จึงจะเริ่มรับประทานยาแก้แพ้ครั้งต่อไป
  2. ห้ามรับประทานยาแก้แพ้ร่วมกันกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาจำพวกระงับประสาทเด็ดขาด เพราะจะทำให้เพิ่มความง่วงนอนอย่างมาก
  3. การใช้ยาแก้แพ้เพื่อให้นอนหลับ แม้อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการคันจนนอนไม่หลับ  ผู้ป่วยบางโรคที่ต้องการพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูร่างกาย เช่น โรคหวัด  ภูมิแพ้  แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้เป็นยานอนหลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ นำไปสู่แก้ไขอย่างถูกต้อง 
  4. หากรับประทานยาแก้แพ้เข้าไปแล้วแต่กลับมีอาการไอเพิ่มขึ้นมาก ควรหยุดรับประทานทันทีเพราะยาแก้แพ้จะทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นมากกว่าเดิม
  5. ปริมาณการรับประทานยาแก้แพ้ชนิดเม็ด 
  • ในวัยผู้ใหญ่และเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป ควรรับประทานยาครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-4 ครั้ง   หรือทุก 4-6 ชั่วโมง   
  • เด็กที่มีอายุ 7-12 ปีควรกินครั้งละครึ่งเม็ด เด็กที่มีอายุ 4-7 ปี ควรกินครั้งละ 1 ใน 4 ของเม็ด 
  • ส่วนเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี ต้องรับประทานยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อมเท่านั้นเพราะว่าถ้าหากเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี รับประทานยาแก้แพ้เกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการชักรุนแรงขึ้นได

ปริมาณการกินยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อม 

  • เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี กินครั้งละครึ่งช้อนชา โดยต้องไม่มากไปกว่าวันละ 2 ครั้งต่อวัน
  • เด็กอายุ 1-4 ปี กินครั้งละครึ่งช้อนชา โดยต้องไม่มากไปกว่าวันละ 3-4 ครั้งต่อวัน 
  • สำหรับเด็กอายุ 4-7 ปี รับประทานครั้งละครึ่งถึงหนึ่งช้อนชา  วันละ 2-4 ครั้ง  

 6. การกินยาแก้แพ้ ห้ามเคี้ยว หรือบดตัวยาอย่างเด็ดขาด

การรับประทานยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิมอย่างคลอร์เฟนิรามีนอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน  เวียนศรีษะ  ตาพร่ามัวได้ ดังนั้นหลังรับประทานจึงควรพักผ่อน หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักร เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

สรรพคุณของยาแก้แพ้

  • บรรเทาอาการหวัดคัดจมูก  ลดน้ำมูก อาการจาม  คันจมูกและคอ
  • บรรเทาอาการแพ้ฝุ่นละเออง เกสรดอกไม้
  • บรรเทาอาการคันและระคายเคืองจากสาเหตุต่างๆ  
Posted in ArticleTagged น้ำมูกไหล

วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ

Posted on June 22, 2019November 25, 2020 by via1sideffects
วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ

วิธีการใช้ยาพาราเซตามอล

ยาเม็ดและยาน้ำบรรเทาปวดลดไข้ พาราเซตามอล ยาเม็ดมีขนาด 500 มก. และขนาด 325 มก

แม้จะเป็นยาที่ซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป แต่ท่านต้องอ่านฉลากยาก่อนทุกครั้งและกินยาตามที่ฉลากแนะนำ หรือตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น

ปริมาณที่ท่านสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยนั้น ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก อายุและชนิดของยาพาราเซตามอลที่ท่านใช้ เช่น ในผู้ใหญ่สามารถใช้ได้ในขนาด 500 มก. ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชม. แต่ไม่ควรใช้เกินวันละ 4 ก. หรือ 8 เม็ด  ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 16 ปีจำเป็นต้องลดขนาดการใช้ลง ขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนัก โดยสามารถอ่านได้ที่ฉลากยาของผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือสอบถามเภสัชกร

ยาพาราเซตามอลควรออกฤทธิ์หลังจากใช้ภายใน 1 ชม. และจะออกฤทธิ์ยาว 3-4 ชม. และไม่ควรใช้ยาเกินขนาดที่แนะนำ ควรปรึกษาแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น หลังจากกินยามากกว่า 3 วัน

ผลข้างเคียงของการใช้ยาพาราเซตามอล

  • อาการแพ้ยา โดยอาจมีอาการ ผื่นแดง บวมแดง ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นแรงได้
  • โรคเลือด เช่น เกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) และ เม็ดเลือดขาวต่ำ (leukopenia)
  • ทำลายตับและไต หากใช้ยาเกินขนาด หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้

ชนิดของยาพาราเซตามอล

ท่านสามารถซื้อยาพาราเกือบทุกชนิดได้จากร้านสะดวกซื้อทั่วไป หรือ ร้านยา โดยยาพาราเซตามอลมีทั้ง ชนิดเม็ด แคปซูล แบบน้ำ (สำหรับเด็ก) แบบฉีด (ใช้ในโรงพยาบาล) และบางชนิดเป็นยาชนิดผสมที่มีตัวยามากกว่า 1 ชนิดอยู่ในเม็ด เช่น ยาลดอาการหวัด เป็นต้นโฆษณาจาก HonestDocs

ยาพาราเซตามอลเหมาะกับใคร

คนส่วนใหญ่สามารถใช้ยาพาราเซตามอลได้อย่างปลอดภัย แม้แต่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็กอายุมากกว่า 2 เดือน

ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา ถ้าหากท่านมีปัญหา ดังนี้

  • เป็นโรคตับ หรือ ไต
  • ดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นเวลานาน
  • น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อย่างมาก
  • มียาที่ต้องใช้ประจำตัว
  • มีประวัติแพ้ยาพาราเซตามอล

พลาสเตอร์ช่วยบรรเทาปวด

วิธีใช้

  1. ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่เป็น
  2. เช็ดผิวให้แห้ง
  3. ลอกแผ่นพลาสเตอร์ ออกจากกระดาษและปิดทับบริเวณที่เป็น
  4. ไม่ควรใช้เกินวันละ 3-4 ครั้ง และไม่ควรใช้ปิดต่อเนื่องเกินกว่า 8 ชั่วโมง

ข้อห้าม

  • ห้ามใช้บริเวณที่มีแผล หรือผิวหนังถูกทำลาย
  • ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยาแอสไพริน หรือซาลิโลแลต
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา บริเวณเนื้อเยื่ออ่อน หรือ ผื่น
  • ไม่ควรใช้ร่วมกับแผ่นประคบร้อน

เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการ

  • การปวดล้าของกล้ามเนื้อ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ไหล่แข็งตึง
  • ปวดหลัง
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดฟัน
  • อาการเคล็ด
  • อาการฟกช้ำ
  • อาการแข็งตึง
  • ปวดข้อ

Posted in ArticleTagged ปวดหลัง, ปวดหัว, ยาพาราเซตามอล

วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน

Posted on June 22, 2019November 25, 2020 by via1sideffects
วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน

ใครที่มักจะเกิดอาการไม่สบายระหว่างที่เดินทางบ่อย ๆ ไม่วาจะเป็นอาการเมารถ เมาเรือ หรือเมาเครื่องบิน ลองมาศึกษาวิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบินกันดูนะ ว่าแท้จริงแล้วอาการ Motion Sickness เหล่านี้ ทำยังไงให้หายเป็นปกติได้บ้างนะ

อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบินเกิดจากอะไร

          อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน หรืออาการมึน ๆ เมื่อโดยสารยานพาหนะทุกประเภทเราเรียกว่า Motion Sickness โดยอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบินเกิดขึ้นจากระบบควบคุมการทรงตัวของร่างกายที่อยู่ในหูชั้นในทำงานไม่สมดุลกับข้อมูลที่ประสาทตาได้รับ ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวของร่างกายและทัศนียภาพรอบ ๆ ตัว ณ ขณะนั้น ส่งผลให้เกิดความรู้สึกมึน ๆ คล้ายอาการเมาได้

อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน เป็นอย่างไร    

อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน มักจะเกิดขึ้นโดยที่คาดเดาไม่ได้ คนที่มีอาการเมาจะเริ่มรู้สึกมึนศีรษะ ผะอืดผะอม อยากอาเจียน บางก็มีอาการตัวเย็นแต่เหงื่อออก หน้ามืด เป็นลมเป็นแล้งเลยก็มีให้เห็นกันอยู่บ้าง แต่เมื่อยานพาหนะหยุดเคลื่อนไหว อาการจะค่อย ๆ บรรเทาลงจนหายเป็นปกติได้

วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ทำไงดี ?

          เพราะอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบินไม่ใช่เรื่องน่าสนุก และใครก็ตามที่ต้องเผชิญกับอาการ Motion Sickness แบบนี้ก็รู้สึกเพลียจนไปเที่ยวไม่สนุก ดังนั้นเราลองมาดูวิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบินกันดีกว่า 

1. สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ 

          เมื่อเริ่มรู้สึกวิงเวียน เหมือนอาการเมาจะมาแน่ ให้สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ และหากสามารถให้หน้าปะทะลมเย็น ๆ ได้ก็อย่ารีรอ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น เคลียร์อาการวิงเวียนศีรษะออกไปได้ ทว่าหากเป็นอาการเมาเครื่องบิน ให้หาผ้าเย็นมาเช็ดหน้าผากและทั่วใบหน้า ซึ่งก็จะช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน

2. ดมยาดม

          ยาดมหลากชนิด หลากกลิ่นแล้วแต่ที่ชอบ สามารถนำมาสูดดมคลายอาการวิงเวียนคลื่นไส้กันได้เลยค่ะ หรือใครไม่มียาดมแต่มีผลไม้รสเปรี้ยวอย่างส้มหรือมะนาว สามารถบีบเปลือกผลไม้เหล่านี้แล้วดมกลิ่นจากเปลือกส้ม เปลือกมะนาวเพื่อช่วยลดอาการคลื่นเหียนได้เหมือนกัน

3. พยายามตั้งศีรษะให้ตรงและนิ่งที่สุด

          เมื่อเราเกิดอาการเมารถ เมาเรือ สิ่งที่จะช่วยได้ในเบื้องต้นคือการทรงตัวให้ตรง โดยเฉพาะศีรษะไม่ควรไหวเอนไป-มา หรือพิงอยู่กับผนังของรถ เรือ หรือเครื่องบิน เพราะอาจได้รับแรงสั่นสะเทือนตามจังหวะการเคลื่อนไหวของรถได้ ซึ่งจะทำให้รู้สึกเมามากขึ้นไปอีก

4. กลิ่นเปลือกพริกช่วยได้

          นอกจากกลิ่นเปลือกส้ม เปลือกมะนาวแล้ว กลิ่นของเปลือกพริกก็สามารถแก้อาการเมาได้ชะงัด ดังนั้นลองพกพริกขี้หนูติดกระเป๋าเสื้อไว้บ้างก็ดีค่ะ

5. ขิงก็ช่วยด้วย

          ทั้งน้ำขิง ลูกอมรสขิง หรือใครโอเคกับการกินขิงสด ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ช่วยให้อาการคลื่นไส้ค่อย ๆ บรรเทาลงได้ เพราะนี่แหละคือสรรพคุณเฉพาะตัวของขิงที่คนเมารถ เมาเรือคู่ควรสุด ๆ 

6. ดื่มน้ำอัดลม

          สำหรับคนที่ท้องไส้เริ่มปั่นป่วน อยากอาเจียนออกมาให้รู้แล้วรู้รอด ลองดื่มน้ำอัดลมแบบจิบ ๆ พอประมาณ อาการคลื่นไส้จะบรรเทาลงได้ไม่มากก็น้อย

7. เคี้ยวหมากฝรั่ง

          ขอเจาะจงให้เคี้ยวหมากฝรั่งรสเปปเปอร์มินต์สูตรเย็นค่ะ เพราะนอกจากหมากฝรั่งจะช่วยให้เราได้ขยับปากเคี้ยวแล้ว รสชาติที่เย็นซ่าของเปปเปอร์มินต์จะทำให้สมองรู้สึกสดชื่น ปลอดโปร่ง ส่งผลให้อาการปั่นป่วนมวนท้อง รวมทั้งอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เป็นอยู่สงบลง

8. กดจุดแก้เมารถ เมาเรือ

          ตามศาสตร์แพทย์แผนจีนเราสามารถแก้เมาเรือได้ด้วยการกดจุดค่ะ โดยสามารถกดจุดเน่ยกวาน หรือจุดที่อยู่ห่างจากเส้นข้อมือลงมาประมาณ 2 นิ้ว เมื่อหาจุดเน่ยกวานเจอแล้ว ให้ใช้หัวแม่มือกดจุดเน่ยกวานทั้ง 2 ข้าง กดนิ่งไว้สักครู่หนึ่งจนรู้สึกดีขึ้น

ส่วนจุดที่ 2 คือจุดเหอกู่ ซึ่งอยู่บริเวณหลังมือ ตรงง่ามนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ โดยวิธีหาจุดง่าย ๆ คือให้คว่ำฝ่ามือลง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ชิดติดกัน จุดเหอกู่จะอยู่ตรงจุดสูงสุดของกล้ามเนื้อที่นูนขึ้นมาระหว่างนิ้วทั้งสอง เมื่อเจอจุดกดแล้วให้ใช้นิ้วหัวแม่มืออีกข้างหนึ่งกดไว้สักครู่ หรือกดจนกว่าอาการเมารถ เมาเรือจะบรรเทาลง

9. หลับตาแล้วนอน

หากไม่ไหวจะเคลียร์กับอาการเมารถ เมาเรือแล้วจริง ๆ ให้หลับตาลง เพื่อปิดสัญญาณภาพเข้าสมองเป็นการลดความสับสน และปล่อยให้สมองได้รับสัญญาณจากอวัยวะคุมการทรงตัวที่อยู่ในหูชั้นในเพียงทางเดียว ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือได้ดีขึ้น หรือใครสามารถหลับไปเลยได้ยิ่งดี   

ทำยังไงไม่ให้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ?

          นอกจากวิธีแก้เมารถ เมาเรือแล้ว เรายังมีวิธีป้องกันอาการ Motion Sickness มาฝากกันตามนี้เลยจ้า

1. พยายามนั่งแถวหน้ารถ ตามองตรงไปตามทิศทางเคลื่อนไหวของรถ วิธีนี้จะทำให้ทั้งตาและหูของเรารับรู้การเคลื่อนไหวของรถไปพร้อม ๆ กับอวัยวะควบคุมการทรงตัวที่อยู่ในหูชั้นใน จึงมีโอกาสเมาน้อยกว่า หรือหากนั่งเครื่องบินก็ให้เลือกนั่งข้างหน้าต่างจะดีที่สุด

2.
 มองไปไกล ๆ มองไปยังจุดที่นิ่งและอยู่ไกล เพื่อให้สมองมีจุดโฟกัสที่แน่นอน ลดโอกาสเกิดอาการเมารถ เมาเรือลงไปได้

3. อย่าอ่านหนังสือ ดูทีวี หรือเล่นมือถือ เพราะจะยิ่งทำให้วิงเวียนกันไปใหญ่

4. พยายามอย่ามองวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมภายในรถ เรือ หรือเครื่องบิน เนื่องจากของเหล่านี้จะเกิดการสั่นไหวตามจังหวะของยานพาหนะ ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกคลื่นเหียนได้ง่ายขึ้น

5. อย่าสูบบุหรี่ หรือสูดดมกลิ่นบุหรี่ เนื่องจากกลิ่นของบุหรี่จะยิ่งทำให้รู้สึกเวียนหัว

6. พยายามงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แค่ดื่มบนพื้นนิ่ง ๆ ก็มึนได้ แล้วนับประสาอะไรกับดื่มบนรถที่เคลื่อนที่ไป-มา

7. พยายามอย่ากินอิ่มเกินก่อนออกเดินทาง เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการอาเจียนง่ายขึ้น

8. ก่อนออกเดินทางสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ให้รับประทานยาแก้เมา เช่น ยาแอนตี้ฮิสตามีนหนึ่งเม็ด หรือแปะแผ่นพลาสเตอร์แก้เมา โดยแปะไว้ที่หลังหูล่วงหน้าก่อนเดินทาง 2–3 ชั่วโมงขึ้นไป ยานี้จะมีฤทธิ์ป้องกันได้นานถึง 72 ชั่วโมง

9. พยายามตั้งศีรษะให้ตรงและอยู่นิ่งมากที่สุด เพื่อลดโอกาสเกิดอาการวิงเวียน

 ถ้ารู้ตัวว่าเป็นคนที่มักจะเกิดอาการเมารถ เมาเรือ นั่งพาหนะอะไรก็มึนไปหมด ลองนำวิธีป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ และวิธีแก้อาการดังกล่าวไปใช้กันดูนะคะ

Posted in ArticleTagged เมารถ, เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน, เมาเครื่องบิน, เมาเรือ

วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

Posted on June 22, 2019November 25, 2020 by via1sideffects
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า บาดแผลจากการถูกไฟไหม้ หรือโดนน้ำร้อนลวก เป็นบาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรอก แต่ถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว เราต้องรู้จักวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงวิธีการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อให้แผลหายอย่างรวดเร็ว ไม่ติดเชื้อ และไม่เป็นแผลเป็นด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูความรุนแรง ว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลาที่ผิวหนังสัมผัสกับความร้อน อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ดีกรีความลึกของบาดแผล และขนาดความกว้างพื้นที่ของบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกนั้น ๆ

บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แบ่งเป็น 3 ระดับ โดยดูจากความลึกของบาดแผล

  • ดีกรีความลึกระดับ 1 คือ บาดแผลอยู่แค่เพียงผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น โดยปกติจะหายเร็วและไม่เกิดแผลเป็น
  • ดีกรีความลึกระดับ 2 คือ บาดเจ็บในบริเวณชั้นหนังแท้ บาดแผลประเภทนี้ถ้าไม่มีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน มักจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความลึกของบาดแผล ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดร่องรอยผิดปกติของบริเวณผิวหนัง หรืออาจมีโอกาสเกิดแผลเป็นแผลหดรั้งตามได้ หากได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง
    *กรณีถูกไฟไหม้ หากบาดเจ็บไม่ลึกมากก็จะพบว่าบริเวณผิวหนังจะมีตุ่มพองใส เมื่อตุ่มพองนี้แตกออกบริเวณบาดแผลเบื้องล่างจะเป็นสีชมพู และผู้ป่วยจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนมาก แต่ถ้าพยาธิสภาพค่อนข้างลึกจะพบว่าสีผิวหนังจะเปลี่ยนไปเป็นสีเหลืองหรือขาว ไม่ค่อยเจ็บ
  • ดีกรีความลึกระดับ 3 คือ ชั้นผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายด้วยความร้อน บาดแผลเหล่านี้มักจะไม่หายเอง มีแนวโน้มการติดเชื้อของบาดแผลสูง และมีโอกาสเกิดแผลหดรั้งตามมาสูงมาก ถ้าได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง

สิ่งแรกที่ควรทำ เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

1. ล้างด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งเชื่อว่าจะมีผลช่วยลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณบาดแผลได้

2. หลังจากนั้นซับด้วยผ้าแห้งสะอาด แล้วสังเกตว่า ถ้าผิวหนังมีรอยถลอก มีตุ่มพองใส หรือมีสีของผิวหนังเปลี่ยนไป ควรรีบไปพบแพทย์

* แต่ถ้าไฟไหม้ น้ำร้อนลวกบริเวณใบหน้า จะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะบริเวณใบหน้ามักจะเกิดอาการระคายเคืองจากยาที่ใช้ ห้ามใส่ยาใดๆ ก่อนถึงมือแพทย์ เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีอาการตอบสนองต่อตัวยาไม่เหมือนกัน จะต้องขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

ข้อห้าม เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

1. ไม่ควรใส่ตัวยา/สารใดๆ ทาลงบนบาดแผล ถ้าไม่แน่ใจในสรรพคุณที่ถูกต้องของยาชนิดนั้น โดยเฉพาะ “ยาสีฟัน” “น้ำปลา” เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อบาดแผล เพิ่มโอกาสการเกิดบาดแผลติดเชื้อ และทำให้รักษาได้ยากขึ้น

ดูแลตัวเองอย่างไร

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นผล หรืออะไรก็ตามที่จะทำให้ระคายเคือง

2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ทุกชนิด เพราะหากโดนบริเวณแผล ก็อาจทำให้คันหรือมีการติดเชื้อได้ง่าย

3. รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เพื่อเสริมการสร้างเนื้อเยื่อใหม่บริเวณบาดแผลให้บาดแผลสมานปิดเร็วขึ้น

4. หมั่นทายา/รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญต้องรักษาความสะอาดแผลให้ดี

Posted in ArticleTagged ถูกไฟไหม้, น้ำร้อนลวก

ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม

Posted on June 21, 2019November 25, 2020 by via1sideffects
ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม

ยาสามัญประจำบ้าน คือ ยาที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาเอาไว้ว่าเป็นยาที่เหมาะสม ที่ประชาชนควรซื้อมาไว้ประจำบ้านของตนเอง เพื่อใช้ในการดูแลตัวเองจากอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ยาสามัญประจำบ้านเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง หากได้รับการใช้งานที่ถูกต้องก็จะไม่เป็นอันตรายใดๆ นอกจากนี้ยาสามัญประจำบ้านยังเป็นยาที่มีราคาถูก ประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยา ห้าง ร้านขายของชำทั่วไป โดยยาสามัญประจำบ้านมีทั้งหมด 53 ชนิด นำมาใช้รักษาโรคสามัญได้ 16 กลุ่ม ดังนี้…

1. กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้

  • ยาเม็ดสำหรับบรรเทาปวด และลดไข้ แอสไพริน
  • ยาเม็ดและยาน้ำบรรเทาปวดลดไข้ พาราเซตามอล ยาเม็ดมีขนาด 500 มก. และขนาด 325 มก
  • พลาสเตอร์ช่วยบรรเทาปวด

2. กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก

  • ยาเม็ดแก้แพ้ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน

3. กลุ่มยาแก้ไอ ขับเสมหะ

  • ยาน้ำแก้ไอ ขับเสมหะสำหรับเด็ก
  • ยาแก้ไอน้ำดำ

4. กลุ่มยาดมหรือยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก

  • ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนียหอม
  • ยาดมแก้วิงเวียน และแก้คัดจมูก
  • ยาทาระเหย บรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขี้ผึ้ง

5. กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ

  • ยาแก้เมารถ เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท

6. กลุ่มยาสำหรับโรคปาก และลำคอ

  • ยากวาดคอ
  • ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเชี่ยนไวโอเลต
  • ยาแก้ปวดฟัน
  • ยาดมบรรเทาอาการระคายคอ

7. กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

  • ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง
  • ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามิ้นท์
  • ยาขับลม
  • ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต
  • ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงค์
  • ยาเม็ดลดกรดอะลูมินา – แมกนีเซีย
  • ยาน้ำลดกรดอะลูมินา-แมกนีเซียม

8. กลุ่มยาแก้ท้องเสีย

  • ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาลเกลือแร่

9. กลุ่มยาระบาย

  • ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารหนักสำหรับเด็ก
  • ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่
  • ยาระบายแมกนีเซีย
  • ยาระบายมะขามแขก
  • ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ ชนิดสวนทวาร

10. กลุ่มยาถ่ายพยาธิลำไส้

  • ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีเบนดาโซล ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม

11. กลุ่มยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย

  • ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง

12. กลุ่มยาสำหรับโรคตา

  • ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์
  • ยาล้างตา

13. กลุ่มยาสำหรับโรคผิวหนัง

  • ยารักษาหิดเหา เบนซิล เบนโซเอต
  • ยารักษาหิด ขึ้ผึ้งกำมะถัน
  • ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า
  • ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
  • ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์
  • ยารักษาเกลื้อน โซเดียมไทโอซัลเฟต

14. กลุ่มยารักษาแผลติดเชื้อไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

  • ยารักษาแผลน้ำร้อนลวกฟีนอล
  • ยารักษาแผลติดเชื้อซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน ครีม

15. กลุ่มยาใส่แผล ยาล้างแผล

  • ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน
  • ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล
  • ยาใส่แผลโพวิโดน ไอโอดีน
  • ยาไอโซโบรฟิล แอลกอฮอล์
  • ยาเอทธิล แอลกอฮอล์
  • น้ำเกลือล้างแผล

16. กลุ่มยาบำรุงร่างกาย

  • ยาเม็ดวิตามินบีรวม
  • ยาเม็ดวิตามินซี
  • ยาเม็ดบำรุงโลหิต เฟอร์รัส ซัลเฟต
  • ยาน้ำมันตับปลา ชนิดแคปซูล
  • ยาน้ำมันตับปลาชนิดน้ำ

Posted in ArticleTagged ยาสามัญประจำบ้าน

Posts navigation

Older posts
dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ