Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

ยาสำหรับรักษาสิว

Posted on July 9, 2020July 9, 2020 by visaza_effects

ยารักษาสิวมีทั้งชนิดทาภายนอกและชนิดรับประทาน สิวชนิดไม่รุนแรงหรือไม่มีการอักเสบมักจะใช้ยาทาภายนอกอาจจะใช้ชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดร่วมกัน ยารักษาสิวมักจะทำให้อาการดีขึ้นแต่ไม่หายขาดยาที่ใช้รักษามีดังนี้

สบู่และน้ำ

การใช้สบู่อ่อนหรือสบู่ที่เป็นกลางหรือสบู่สำหรับใช้กับเด็กล้างด้วยน้ำสะอาดวันละ 2-3 ครั้งอย่าให้มากกว่านี้เพราะจะทำให้แห้งไปและอาจจะเกิดปัญหากับผิวหนังได้ สบู่ที่ใช้ไม่ควรจะเป็นด่างมากเกินไป และไม่ควรที่จะถูแรงๆเพราะจะทำให้ผิวหนังพกช้ำและเกิดปัญหา

ยาทา

Benzoyl peroxide

เป็นชนิดครีมหรือเจล 2.5% 5% 10% เมื่อทายาไว้บนผิวหนังปริมาณเชื้อและไขมันบนผิวหนังจะลดลง ยานี้จะมีระคายเคืองต่อผิวหนังจะทำให้ผิวหนังลอกหลุดเร็วขึ้น ทำให้ปริมาณหัวสิวลดลง ในระยะแรกของการใช้ยาอาจจะทำให้ผิวหนังแดงอักเสบจึงควรจะเริ่มใช้ยาในขนาดความเข็มข้นต่ำๆ ทาระยะเวลาสั้นเช่น 5-10 นาที แล้วล้างออก เมื่อผิวหนังทนต่อยาจึงเพิ่มความเข้มข้น และทาไว้นานขึ้นจนไม่ต้องล้างออก ทาวันละ 2 ครั้งเมื่อทาตามบริเวณลำตัวอาจจะทำให้สีเสื้อจางลง อ่าน Benzoyl peroxide

salicylic acid

กรดนี้จะช่วยละลายขุยทำให้สิ่งสกปรกหลุดออก แต่จะไม่ช่วยในการลดการสร้างไขมัน ยานี้จะต้องใช้อย่างต่อเนื่องเมื่อหยุดยาก็จะกลับเป็นใหม่ salicylic acid

Sulfer

เป็นยาที่ใช้กันมาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยมากต้องผสมกับสารชนิดอื่น เช่น alcohol,salicylic acid,resorcinol ยาชนิดนี้มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ แต่ยาทาส่วนใหญ่ก็มีตัวยานี้ผสม

สำหรับสมุนไพรหรือสารธรรมชาติก็ยังไม่มีหลักฐานว่าได้ผลสำหรับยาที่ควรจะปรึกษาแพทย์ไม่ควรจะซื้อยาเองได้แก่

Retinoids

เป็นยาทารักษาสิวที่มีความรุนแรงปานกลางจนถึงชนิดรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาชนิดอื่น ยา Retinoids จะลายเซลล์ที่อุดตันทำให้ยาชนิดอื่นสามารถออกฤทธิ์ได้เต็มที่ นอกจากนั้นยานี้ยังป้องกันการเกิดแผลเป็น Retinoids

ยาทาที่เป็นปฏิชีวนะ

  • Azelaic acid ยานี้จะลดประชากรของเชื้อ Propionibacterium และละลายขุยทำให้ได้ผลดีสำหรับสิวหัวดำ และสิวธรรมดา ยานี้ทำเป็นรูปครีม อาจจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือน
  • erythromycin solution 1-4% ออกฤทธิ์โดยการต้านเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ เมื่อใช้ร่วมกับ Bebzoyl peroxide จะทำให้ได้ผลดี
  • Clindamycin phosphate solution 1%
  • Tetracyclin เป็นยาทาตัวแรกๆที่ได้มีการนำมาใช้ทาเพื่อรักษาสิว แต่ปัจจุบันได้รับความนิยมลดลงเนื่องจากผลข้างเคียงของยา
  • Sulfonamide ทำเป็นรูปสารละลายซึ่งยังมีการใช้ยาชนิดนี้อยู่

ยาทาชนิดอื่น

  • อนุพันธ์ของกรดวิตามินเอTretinoin เป็นยารักษาสิวที่ให้ผลค่อนข้างดีชนิดยาทาภายนอน ยาตัวนี้เป็นยาละลายขุยซึ่งทำเป็นรูปครีมหรือเจลความเข้มข้น 0.01-0.1% ยานี้จะมีอาการระคายเคืองต่อผิวหนังทำให้ผิวหนังแดง แห้ง ลอกเป็นขุยดังนั้นจึงต้องทายาในขนาดความเข้มข้นต่ำๆ เมื่อใช้ร่วมกับ Benzoyl peroxide ให้ใช้ Benzoyl peroxide ทาในตอนเช้า ส่วนวิตามินเอให้ทาก่อนนอน
  • Adapalene เป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอ มีผลข้างเคียงเหมือนอนุพันธ์วิตามินเอ
  • Tazarotene เป็นสารสังเคราะห์วิตามินเอ

ยารับประทาน

ยาปฏิชีวนะ

  • Tetracyclin เป็นยาที่ใช้รักษาสิวตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันมักจะให้ในรายที่ผู้ป่วยเป็นสิวค่อนข้างมากตั้งแต่สิวที่เป็นหนอง โดยเริ่มต้น 500-1000 มิลิกรัมต่อวัน เมื่อดีขึ้นจึงลดขนาดของยาลง และอาจจะต้องให้ยาในขนาดต่ำเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ไม่ควรให้ยานี้ในเด็กและคนท้อง
  • Erythromycin สำหรับผู้ที่ใช้ tetracyclin ไม่ได้เช่น เด็ก คนท้อง คนที่แพ้ยา tetracyclin
  • Minocycline Doxycycline เป็นยาสังเคราะกลุ่ม tetracycline ห้ามใช้ในคนท้อง

ฮอร์โมน

  • estrogen เป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนทำให้มีการสร้างไขมันลดลง แต่การใช้ต้องระวังผลข้างเคียงเช่นมะเร็งเต้านม
  • ยาคุมกำเนิด นิยมใช้รักษาสิวมากกว่า estrogen เดี่ยวๆเนื่องจากผลข้างเคียงต่ำกว่า อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน คัดเต้านม การใช้ยาคุมเมื่อการรักษาวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล

Steroid

จะใช้ในกรณีที่เป็นสิวมาก ควรจะใช้ในระยะเวลาสั้นๆ เพราะหากใช้ในระยะเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อน

Isotretinoin

เป็นยาที่ใช้ได้ผลสำหรับสิวที่ดื้อต่อยาหรือการรักษา เหมาะสำหรับสิวหัวช้าง cystic acne ยาชนิดรับประทาน Isotretinoin ใช้รักษาสิวชนิดดื้อต่อการรักษาชนิดอื่น ยานี้จะทำให้ไขมันและเชื้อลดลงจึงไม่เกิดสิว ยานี้มีผลข้างเคียงมากจึงไม่แนะนำให้ซื้อรับประทานเอง ผลข้างเคียงที่พบได้คือปากแห้ง ผิวแห้งแตก ผมร่วงปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ สำหรับคนท้องก็อาจจะทำให้เด็กเกิดมาพิการและแท้ง ผลข้างเคียงอื่นๆที่พบได้แก่ คลื่นไส้อาเจียนปวดข้อปวดกระดูก ปวดหัว การใช้ยานี้ต้องคุมกำเนิด และหากต้องการตั้งท้องต้องหยุดยานี้ 1 เดือน Isotretinoin

จะต้องใช้ยานานแค่ไหน

โดยปกติจะต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์จึงจะเห็นผล จะได้ผลสูงสุดประมาณ 4 เดือนสิวจึงจะไม่พบสิว สำหรับผู้ที่ใชยาสักสองสามสัปดาห์แล้วยังไม่เห็นผลขอให้อดทนใช้ต่อสักระยะหนึ่งก่อนอย่างน้อยประมาณ 6 สัปดาห์จึงจะประเมินได้ว่าไม่ได้ผล ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อปรับการรักษา

สิวจะกลับเป็นซ้ำไหม

เมื่อรักษาสิวจนหายแล้วก็มีโอกาศที่จะกลับเป็นซ้ำ วิธีป้องกันให้รักษาต่อเนื่อง 4-5 ปีจนอายุประมาณ 20 ปีแต่ก็มีบางรายสิวยังเกิดแม้ว่าอายุย่างเข้าเลข 30 ปีก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ยาทาที่ใช้ป้องกันการเกิดสิวได้แก่ benzoyl peroxide หรือ ยาทา retinoid ซึ่งใช้ขนาดต่ำกว่าที่ใช้รักษา การป้องกันการเกิดสิวจะไม่ใช้ยาทาปฏิชีวนะเพราะจะทำให้เชื้อดื้อยา

Posted in บทความTagged ยารักษาสิว

Post navigation

“ยาเสียสาว” คืออะไร มีอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?
‘พาราเซตามอล’ ยาสามัญที่ไม่ธรรมดา

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ