พญ.พิมพ์ใจ เดชรุ่งเรือง แพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้ใช้ช่องทางโซเชียลของเธอให้ความรู้เกี่ยวกับวงการแพทย์ที่หลายคนสงสัย โดยคราวนี้เธอได้คลายความสงสัยเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
โดยคุณหมอพิมพ์ใจ ซึ่งเป็นที่รู้จักในโลกโซเชียลที่ชูป้ายให้ทุกคนอยู่บ้าน ช่วงโควิด-19 ระบาด ซึ่งคราวนี้เธอด้อธิบายเคลียร์ชัดๆเรื่องยาคุมฉุกเฉินผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Mhor Pimjai ระบุว่า

ตั้งแต่เปิดเพจมามีคนหลังไมค์มาถามหมอเยอะมาก เกี่ยวกับเรื่องของ ยาคุมฉุกเฉิน ทำให้หมอพบว่า โอ้โห! ยังมีคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทานยาคุมฉุกเฉินเยอะขนาดนี้เลยหรอ
วันนี้หมอพิมพ์ใจก็เลยจะมา เคลียร์ให้ขาด กับ 3 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน !! ซึ่งในที่นี้จะขอพูดถึง levonorgestrel ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินชนิดที่มีเฉพาะฮอร์โมนโพรเจสติน ซึ่งถูกนำมาใช้บ่อย


1) ยาคุมกำเนิดสามารถป้องกันได้ 100%
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้85-95% โดยประสิทธิภาพในการป้องกันจะลดลงตามระยะเวลาในการกินยา การใช้ยาคุมฉุกเฉินมันเป็นเหมือนวัวหายแล้วค่อยมาล้อมคอก แต่เราควรจะใช้วิธีล้อมคอกก่อนวัวจะหายอย่างการใช้ถุงยางร่วมกับการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ซึ่งอาจจะเป็นยาคุมกำเนิดแบบกินสม่ำเสมอทุกวัน ฉีดยาคุม หรือฝังยาคุม แทนจะดีนะคะ เพราะมีประสิทธิภาพในการป้องกันมากกว่ายาคุมฉุกเฉิน แถมยังสามารถลดโอกาสในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคได้อีกด้วย

2) กินยาคุมกำเนิดบ่อยๆ แล้วมดลูดพัง!!!
ยาคุมกำเนิด ไม่ได้มีผลข้างเคียงที่ทำให้อันตรายถึงชีวิต หรือทำให้มดลูดพัง ผลข้างเคียงที่เกิดได้บ่อยนั่นก็คือ อาการคลื่นไส้อาเจียนซึ่งพบได้ประมาณ 40% อาการอื่นๆที่อาจจะพบได้ เช่น ปวดศีรษะ เลือดออกกระปริบกระปรอย ตึงเต้านม

3)ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ถ้ากินภาใน 12 ชม. กินเม็ดเดียวก็พอแล้ว
ไม่จริง Levonorgestrel สามารถให้ได้ทั้งขนาด 0.75 mg 2 เม็ด ห่างกัน 12 ชั่วโมงหรือ ขนาด 1.5 mg = 2 เม็ด ใน1 ครั้ง การเริ่มต้นรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินโดยเร็วภายหลังมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่พึงประสงค์ยาจะมีประสิทธิภาพมาก ประสิทธิภาพจะลดลงหากเริ่มรับประทานเกิน 72 ชั่วโมงภายหลังมีเพศสัมพันธ์

