Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider
ดูหนังออนไลน์ฟรี

ข้อควรปฏิบัติการใช้ยาในเด็ก

Posted on May 22, 2021May 22, 2021 by visaza_effects
ข้อควรปฏิบัติการใช้ยาในเด็ก

การใช้ยารักษาโรคหรือภาวะผิดปกติในเด็ก นอกจากจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องแม่นยำแล้ว การเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคหรือภาวะของผู้ป่วย การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงเภสัชวิทยา ขนาดยา พิษและผลข้างเคียงของยาที่ใช้ โดยทั่วไปการให้ยาแก่เด็กควรคำนึงถึง ดังนี้

  1. ขนาดสูงสุด (maximal dose) ที่คำนวณได้โดยใช้น้้ำหนักของเด็กเป็นหลัก ถ้าเกินขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่ต้องให้ขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่ 
  2. เด็กอ้วนมี metabolic rate ต่ำ เพราะไขมันเป็น metabolically insert tissue อาจต้องใช้ ideal body weight หรือ weight for height มาคำนวณในบางกรณี 
  3. เด็กที่บวม (edema) ต้องคิดขนาดยาจากน้ำหนักตัวก่อนบวมหรือน้ำหนักซึ่งน้อยกว่าที่ชั่งได้ในขณะบวม 
  4. เด็กที่มีการทำงานของไตลดลงหรือเสียไป (renal impairment/renal failure) จะต้องปรับลดขนาดยาที่ขับออกทางไต 

ข้อควรคำนึงถึง

1.เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่ตัวเล็ก 

  • การดูดซึมของกระเพาะเด็กและทารกมีการทำงานของกระเพาะและลำไส้ที่ช้ากว่า
  • การเมตาบอลิซึมของตับ : การทำงานของทารกแรกเกิดมีเพียง 20-40% ของผู้ใหญ่
  • การกำจัดของไต : ไตของเด็กแรกเกิดมีการทำงานเพียง 30% ของผู้ใหญ่และมีการทำงานเทียบเท่าผู้ใหญ่ เมื่ออายุราว 1 ขวบ
  • การดูดซึมของผิวหนัง : ผิวหนังของเด็กมีการดูดซึมได้ดีกว่า จึงดูดซึมยาที่ทาทางผิวหนังได้ดีกว่า

2.ยาที่บดเป็นผงแล้วเหมาะสำหรับเด็กมากกว่า? 

  • ยาของผู้ใหญ่ที่บดเป็นผงแล้วจะเสียได้ง่าย มีความคงตัวของยาต่ำและเก็บรักษาได้ไม่นาน
  • การบดยาหลายประเภทเข้าด้วยกันมักทำให้เสียและเกิดปฏิกิริยาต่อกันและปริมาณยาที่แบ่งไม่เท่ากัน
  • เด็กที่มีอายุมากขึ้นสามารถฝึกการกลืนและกลืนพร้อมอาหารในปริมาณน้อยได้

3.ข้อควรทราบในการให้ยาเด็ก

  • ไม่ใช่ยาทั้งหมดที่เหมาะสำหรับบดเป็นผง : ยาที่บดเป็นผงมักเสื่อมสภาพไว มีความคงที่น้อย ช่วงเวลาการเก็บรักษาน้อย และอาจเกิดปฏิกิริยาที่ไม่ดีระหว่างยาแต่ละประเภท
  • สามารถสั่งยาสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เช่น ยาน้ำ ยาน้ำประเภทน้ำหวาน สารละลาย สารแขวนลอย
  • ยาที่บดเป็นผงแล้วควรรับประทานให้หมดในคราวเดียว เพื่อรักษาคุณภาพยา

4.คำเตือนวิธีการบริโภคยาน้ำที่เป็นน้ำหวานและสารแขวนลอย

  • เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องหากยังไม่ได้เปิดใช้
  • ยาน้้ำที่เป็นผงอยู่ด้านในให้ใส่น้ำเข้าไปตามคำชี้แจง และเขย่าก่อนใช้ ยาทุกครั้งเพื่อใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสม
  • เมื่อเปิดใช้งานแล้วจะต้องเก็บยาตามที่กำหนดไว้ในตู้เย็นหรือในอุณหภูมิห้อง และให้คอยตรวจสอบวันหมดอายุ 

5.วิธีการให้ยาเด็กทารก

  • ควรใช้สลิง (Syringe) ที่ชี้บอกปริมาณในการให้ยาแต่ละครั้ง
  • วางไว้บนตักจับศีรษะเอาไว้ 
  • ให้ยาในปริมาณน้อยในแต่ละครั้งเพื่อป้องกันการสำลักยา
  • หยอดยาไว้ในปากหรือริมฝีปาก
  • กล่อมเด็กไปด้วยขณะให้ยา

 6.วิธีการให้ยาเด็กเล็ก

  • เลือกท่าที่เด็กเล็กต้องการในการทานยา และให้เด็กคุ้นเคยกับอุปกรณ์ให้ยา
  • ใช้อาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อกลบกลุ่นหากจำเป็น เมื่อทานยาแล้วให้ ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเพื่อลดกลิ่น
Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัย, ความรู้เรื่องยา

Post navigation

ยาอันตราย คืออะไร คุณรู้หรือไม
ทำความรู้จัก โรคซึมเศร้า วิธีสังเกต การรักษา

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ดูหนังชนโรง 2023
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ