Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

Category: การใช้ยาอย่างปลอดภัย

การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร

Posted on February 22, 2021February 22, 2021 by visaza_effects

สำหรับมนุษย์แม่แล้วนั้น.. มั่นใจว่าทุกคนอยากจะสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไม่ป่วย จะได้ดูแลลูกน้อยสุดที่รักได้ด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ แต่แม่ก็คนธรรมดา ไหนจะอดนอนต่อเนื่องกันเป็นปีๆ ไหนจะที่ต้องอุ้มลูกตลอดเวลา ไหนจะลูกดราม่าแม่ก็ต้องปลอบ ทางเราก็ไม่ใช่ยอดมนุษย์เนาะ มันก็คงมีเจ็บป่วยไม่สบายบ้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พอไม่สบายก็ต้องกินยา แต่ถ้าใครที่ให้นมลูกอยู่ล่ะ มันจะกระทบลูกมั้ย กังวลใจไปอี๊กกกกก วันนี้เราเลยจะมาคุยกันในหัวข้อนี้เลย

“การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร”

หลักการทั่วไปในการใช้ยาในหญิงให้นมบุตร

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เพราะขึ้นชื่อว่ายา ยังไงก็คือสารเคมี เป็นแม่คนแล้วต้อง อดทน อดทน อดทน !!
  • หรือถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ควรเลือกใช้ยาที่ปลอดภัย ด้วยขนาดยาต่ำที่สุด ในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
  •  เลือกใช้ยาในรูปแบบอื่นที่ออกฤทธิ์แบบเฉพาะที่แทนการใช้ยาแบบฉีดหรือรับประทาน เช่น ยานวดบรรเทาปวด ยาแก้คัดจมูกแบบพ่น
  • ให้ลูกดูดนมให้เต็มที่ก่อนทานยา และทิ้งห่างประมาณ 2-3 ชั่วโมง ค่อยให้นมรอบถัดไป
  •  หรือถ้าเป็นสายนักปั๊ม อาจจะใช้นมสต๊อคไปก่อนระหว่างที่คุณแม่ทานยา ในกรณีจำเป็นต้องได้รับยาที่ห้ามใช้ในหญิงให้นมบุตรจริงๆ ก็ต้องหยุดให้นมค่ะ เพราะความปลอดภัยของลูกคือสิ่งสำคัญที่สุด

กลุ่มอาการไข้หวัด

โรคยอดฮิต สามัญประจำบ้าน เป็นหวัดก็ให้นมลูกได้น๊าาาา แค่เลือกยาให้เหมาะสมปลอดภัย ไม่กระทบน้ำนม แค่นั้นเอง 
อ้อ!! แล้วก็ระวังเอาหวัดไปติดลูกด้วย ใส่มาสก์ป้องกันหน่อย
 ปวดหัว ตัวร้อน
 Paracetamol 
 แก้แพ้ คัดจมูก น้ำมูกไหล
 Cetirizine
 Loratadine
Pseudoephedrine*
Chlorpheniramine*
*อาจมีผลทำให้น้ำนมลดลงได้
 แก้ไอ ละลายเสมหะ
 Dextromethorphan
 Bromhexine
 Carbocisteine

ยาฆ่าเชื้อ

ยาฆ่าเชื้อก็สามารถกินได้ค่ะ ถ้าจำเป็น  ตัวอย่างยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย ก็ตามนี้เลยค่า
 กลุ่ม Penicillins
 Amoxicillin
 Dicloxacillin
 Cephalosporins
 Cefalexin
 Cefaclor
 Maclorides
 Azithromycin
Clarithromycin

ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ คลื่นไส้อาเจียน

บางทีแม่ก็ไม่ได้อยากจะท้องเสียอ่ะเนาะ แต่มันห้ามบ่ได้ ท้องเสียแล้วให้นมลูกได้นะคะ ไม่มีปัญหา แต่อย่าลืมดูแลเรื่องความสะอาดให้ดีเท่านั้นเองค่า
 Activated Charcoal (ดูดซับสารพิษ)
 ORS (เสริมเกลือแร่ที่สูญเสียไป)
 Domperidone (แก้คลื่นไส้อาเจียน)
 Norfloxacin* (ยาฆ่าเชื้อ)
ไม่แนะนำให้ใช้เพราะมีโมเลกุลของยาเล็กอาจจะผ่านทางน้ำนมได้

อาการปวดต่างๆ

อันนี้ก็โรคยอดฮิตของมนุษย์แม่  ทั้งปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขน ปวดข้อมือ สารพัดอันเนื่องมาจากการอุ้มลูกตลอดเวลา ตัวอย่างยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยได้แก่
 Diclofenac
 Ibuprofen
 Mefenamic acid
 Celecoxib

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยTagged การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตรLeave a Comment on การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร

วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกาย

Posted on February 22, 2021February 22, 2021 by visaza_effects

การใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย”

ยา ที่เราใช่ในการรักษาไข้นั้นจะช่วยให้เราหายป่วย ยาทุกอย่างนั้นมีความอัตรายหายใช่เกิดขนาดหรือใช่ในเวลาที่ไม่จำเป็น จะทำให้ร่างกายนั้นสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้ทุกระบบ ที่เป็นผลจากการกินยาเกินขนาด ในบางครั้งผู้ป่วยก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ถึงจะมีเรื่องดีในการรักษา แต่ก็มีข้อเสียที่ตามมาพร้อมๆกัน

“ประโยชน์ของยา”

ผลของยาจะออกฤทธามวัตถุประสงค์ที่ใช้ เช่น ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยในการรักษาโรคติดเชื้อบร

” อันตรายของยา”

สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาเช่นกันโดยเริ่มจาก อาการไม่พึงประสงค์หรือผลข้างเคียงของยาที่ไม่รุนแรงเช่น คลื่นไส้กระสับกระส่าย นอนไม่หลับหรือง่วงนอน จนเสียชีวิต อย่างรุนแรงเช่นตับถูกทำลายหรือหายใจไม่ออก อันตรายจากยาอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เนื่องจากปฏิกิริยาระหว่างยาสองตัว (ปฏิกิริยาระหว่างยา) ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหารเครื่องดื่มหรืออาหารเสริม(เช่นวิตามินหรือสมุนไพร) ที่กินระหว่างการใช้ยาซึ่งอาจส่งผลให้ยาบางชนิดที่มีประสิทธิภาพหรือลดลงจนรุนแรงเกินไป จนเกิดผลข้างเคียงเกินความคาดหมายหรืออาจทำให้เกิดสารเคมีใหม่ที่มีอันตรายสูง

วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกาย 2

คำแนะนำพื้นฐานสำหรับการใช้ “ยา” ที่ปลอดภัยคือการลดความเสี่ยงของการใช้ยาและได้รับประโยชน์จากยา

1.พูดคุยกับแพทย์เภสัชกรบอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวคุณให้มากที่สุด เช่น

-เรื่องของการแพ้ยา

-ช่วงนี้ได้ทานอาหารเสริมอยู่รึป่าว

-ท่านสามารถทานยาเม็ดได้หรือไม่ (เพราะบ้างคนไม่ปัญหาเกี่ยวกับการกลืนยาเม็ด)

-อยู่ในช่วงมีบุตรอยู่รึป่าว

-สามารถสอบถามรายละเอียดที่มีข้อสงสัยกับแพทย์ได้เลย

2. รู้จักยาที่ใช้ทั้งยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์หรือว่าคุณซื้อมาด้วยตัวเองจากร้านขายยา เช่น

– ชื่อสามัญของยา เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำซ้อนและการที่ได้รับยาเกินขนาด

– ชื่อทางการค้าของยา

– ลักษณะทางกายภาพของยา เช่น สี กลิ่น รูปร่าง ฯลฯ เมื่อสภาพของยาเปลี่ยน เช่น การเปลี่ยนสีให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าว เพราะมันอาจทำให้เกิดอันตรายได้

– ข้อกำหนดการใช้ยาเช่นเวลาที่ใช้และระยะเวลาที่ควรใช้

– ควรหยุดยาในสถานการณ์ใดทันที

– ผลข้างเคียงของยาหรือปฏิกิริยาของยาที่ควรระวัง

วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกาย 3

3. อ่านฉลากยาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

– ทำความเข้าใจรายละเอียดของยาจากฉลากยา ควรอ่านฉลากยาอย่างน้อย 2 ครั้งก่อนใช้ยาเพื่อให้แน่ใจว่ายานั้นถูกต้องหากคุณไม่เข้าใจซึ่งควรปรึกษาแพทย์เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญ

– เก็บยาในสถานที่ที่เหมาะสมตามที่ระบุไว้ในฉลาก

– อย่าเก็บยาประเภทต่าง ๆ ไว้ในภาชนะเดียวกัน และไม่ควรเก็บยาไว้ใช้ภายในและยาสำหรับใช้ภายนอกนั้นไว้ในที่เดียวกัน

4. หลีกเลี่ยงการเพิ่มความเสี่ยงของปฏิกิริยาระหว่างยา

– จำและหลีกเลี่ยงอย่างเคร่งครัดต่อ ยา อาหารหรือเครื่องดื่มที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทานซึ่งก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนของการกระทำและสามารถเพิ่มอันตรายของยา

– หากเป็นไปได้ทุกครั้งที่คุณต้องการใช้ยาใหม่เพิ่มเติม คุณควรใช้ยาตัวเดียวกันที่กินอยู่ เพื่อแสดงแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อตรวจสอบว่ายา และเพื่อจัดยาอย่างเหมาะสม

วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกาย 4

5. สังเกตตนเองเกี่ยวกับผลกระทบข้างเคียงจากการใช้ยาหรือไม่

– สังเกตว่าผลของยานั้นเป็นไปตามแผนการใช้ยาหรือไม่ถ้าไม่ให้ไปพบแพทย์หรือเภสัชกรอีกครั้ง เพื่อประเมินและปรับการรักษา

– มุ่งเน้นไปที่อาการต่าง ๆ ของร่างกายหากมีสิ่งผิดปกติควรปรึกษาแพทย์

– ถามล่วงหน้าว่าสิ่งที่ควรทำเมื่อมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาหรือขอข้อมูลบางอย่างเพื่อลดผลข้างเคียงเช่นรับประทานยาหลังกินทันทีเพื่อลดอาการปวดท้อง

ยาทุกชนิดนั้นได้ระบุการใช่ยาอย่างถูกต้องไว้ที่ฉลากของตัวย้เองเสมอ การที่ทานยาปุ๊บแล้วจะหายจากไข้เลยถือว่าเป็นเรื่องที่ยาก แนะนำว่าอย่าใจร้อนไปเลยค่ะ แต่สำหรับท่านไหนที่มีปัญหาหรือมีข้อสงสัยในการใช่บาแนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เลยค่ะ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการใช่ยาผิดปกติ

การใช้ยาอย่างปลอดภัย

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยTagged วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกายLeave a Comment on วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกาย

พิษร้าย ‘ไซบูทรามีน’ สารอันตรายที่พบในยาลดความอ้วน

Posted on February 11, 2021February 11, 2021 by visaza_effects
พิษร้าย 'ไซบูทรามีน' สารอันตรายที่พบในยาลดความอ้วน

เป็นที่ทราบกันว่า “ไซบูทรามีน” เป็นสารอันตรายเพราะส่งผลกระทบต่อหัวใจและความดันโลหิต แต่ยังมีความเป็นพิษมากกว่านั้นหากอยู่ในอาหารเสริมที่กินทุกวัน

จากกรณีข่าวเผยผลตรวจพิสูจน์สารประกอบในยาลดน้ำหนักที่สาวแม่ลูกอ่อนชาว จ.อ่างทอง กินแล้วเสียชีวิตนั้น พบสารไซบูทรามีนและสารอันตรายอีกหลายชนิด จึงอยากให้เราฉุกคิดถึงการบริโภคยาเสริมอาหารกันให้มากขึ้น

มีข้อมูลจากศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี 3 ปี คือในปี 2558-2560 พบว่า มีผู้ที่เจ็บป่วยจากผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักทั้งหมด 244 ราย ร้อยละ 80 เป็นผู้หญิง ร้อยละ 20 เป็นผู้ชาย ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 13-48 ปี ถึงร้อยละ 86 และ อายุน้อยกว่า 12 ปี ร้อยละ 14 โดยค่ากลางของอายุผู้ป่วยจะอยู่ในช่วงวัย 20 ปี

ซึ่งหากพูดถึงอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมมากในไทย คงจะหนีไม่พ้น “อาหารเสริมลดน้ำหนัก” แม้ว่าการลดน้ำหนักนั้นสามารถทำไก้หลากหลายวิธี แต่อาหารเสริมลดน้ำหนักก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ดี เพราะวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่นั้นไม่ค่อยมีเวลาที่จะไปออกกำลังกาย หรือควบคุมอาหาร ทำให้ต้องใช้ตัวช่วยอย่างอาหารเสริมลดน้ำหนัก ซึ่งถ้าเราโชคร้ายอาจเจอกับอาหารเสริมลดน้ำหนักที่ใส่สารต้องห้ามอย่าง “ไซบูทรามีน”

ไซบูทรามีน คืออะไร?

ไซบูทรามีนคือเคมีอินทรีย์ที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางที่ทำให้คุณไม่รู้สึกหิว และอิ่มเร็วจึงเป็นที่นิยมในการลักลอบใส่ในอาหารเสริมลดน้ำหนัก 

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยสำหรับคนที่กินยาที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีน ได้แก่ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก

ยานี้ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ที่มีโรคต้อหิน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

9 อันตรายจากไซบูทรามีน

  1. รู้สึกปากแห้ง คอแห้ง แม้จะกินน้ำก็ไม่หายรู้สึกปากแห้ง
  2. กินอาหารไม่อร่อย ไม่รู้รสชาติอาหารไม่อร่อย
  3. เวียนหัว คล้ายๆ คนมีอาการเมา
  4. ปวดหัว เพราะความดันโลหิตสูง
  5. รู้สึกคลื่นไส้มากๆ จนถึงขั้นอาเจียน
  6. ท้องผูก ระบบขับถ่ายรวน
  7. นอนไม่หลับ รู้สึกไม่สบายตัว
  8. เกิดอาการใจสั่น ใจเต้นเร็วผิดปกติ
  9. ปวดตัว รู้สึก ปวดแขน ปวดขา ปวดข้อ

ถ้าอาหารเสริมที่ซื้อมาทำให้เกิดอาการเหล่า แสดงว่าอาจมีสารต้องห้ามหรือสารอันตรายในอาหารเสริมอย่างไซบูทรามีนเป็นส่วนผสม เพื่อความแน่ใจและปลอดภัยของผู้บริโภคควรเช็กหรือตรวจสอบเลขหมาย อย. จากเว็บไซต์ นอกจากนี้ ยังมีสารอันตรายอื่นๆในยาลดความอ้วนที่ต้องระวัง อย่างออริสแตท หากทานยาลดความอ้วน หรือยาลดน้ำหนักมีอาการข้างต้น ควรหยุดยาและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัย, ความรู้เรื่องยาTagged พิษร้าย 'ไซบูทรามีน' สารอันตรายที่พบในยาลดความอ้วนLeave a Comment on พิษร้าย ‘ไซบูทรามีน’ สารอันตรายที่พบในยาลดความอ้วน

เปิดไทม์ไลน์ สาวตายหลังซื้อยากินเอง จุดเริ่มต้นจากการปวดหัวช่วงรอบเดือน จนลุกลาม

Posted on February 4, 2021February 4, 2021 by visaza_effects

เรียงเหตุการณ์เรื่องราวสาวเสียชีวิตเพราะโรคหัวใจ ผลมาจากปวดหัวช่วงประจำเดือน แล้วซื้อยามากินเอง ติดต่อกันมาเป็นปี สุดท้ายอาการหนักต้องนำตัวส่งโรงพยาบาล และเสียชีวิต ล่าสุดแพทย์ยังสรุปสาเหตุการเสียชีวิตไม่ได้ 

  จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก Chudapa Pornngam โพสต์ข้อความบอกเล่าเรื่องราวของน้องสาว น.ส.จิดาภา พรงาม หรือ แนน อายุ 25 ปี เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับคนที่ซื้อยามากินเอง โดยช่วงแรกน้องสาวมีอาการปวดหัวบ่อย จึงซื้อยามากินเองและไม่ได้ไปหาหมอนานกว่า 1 ปี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ที่ผ่านมา น้องสาวมีอาการปวดหัว ปวดตัว อาเจียนจนเป็นลม เมื่อพาน้องไปหาหมอรักษาแต่อาการไม่ดีขึ้น และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ที่ผ่านมา ตามที่ได้มีการรายงานข่าวไปแล้วนั้น 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 ทีมข่าว อมรินทร์ ทีวี ได้ลงพื้นที่วัดทุ่งขวาง ต.ทุ่งขวาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี สถานที่ตั้งบำเพ็ญกุศลศพ น.ส.จิดาภา โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างโศกเศร้า   

สาวตายหลังซื้อยากินเอง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Chudapa Pornngam
          น.ส.ชุดาภา พรงาม อายุ 28 ปี พี่สาวของผู้เสียชีวิต เปิดใจว่า ก่อนหน้านี้น้องมีอาการปวดหัวบ่อยคล้ายไมเกรน และปวดตามร่างกาย เป็นผื่นแพ้ แต่ไม่ยอมไปหาหมอ และซื้อยามากินเองนานกว่า 1 ปี

        จากนั้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ที่ผ่านมา น้องมีอาการปวดหัว ปวดเนื้อปวดตัว และมีอาการวูบ แน่นหน้าอก จึงให้ตนพาไปหาหมอ โดยหมอได้ตรวจเลือดพบว่ามีความดันต่ำ แต่ไม่มีอาการแทรกซ้อน เบื้องต้นหมอได้วินิจฉัยว่าสาเหตุอาจเกิดจากยาที่น้องกิน

          เมื่อกลับมาถึงบ้านน้องก็พยายามกินยานอน แต่ไม่สามารถนอนได้ เนื่องจากมีอาการวูบ อาเจียน เวียนหัว แน่นหน้าอกตลอด พอกินยาไปก็ทุเลา แต่ไม่หาย พอหมดฤทธิ์ยาก็กลับมาเป็นอีก จนวันที่ 3 สิงหาคม 2562 น้องก็ยังคงมีอาการปวดหัวทั้งวัน

          ต่อมา วันที่ 4 สิงหาคม 2562 น้องไลน์มาบอกว่าไม่ไหวแล้ว และได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลพนัสนิคม ก่อนจะถูกส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลชลบุรี ซึ่งหมอบอกว่าอาการแย่ ความดันต่ำ เหมือนมีอาการช็อก โดยหมอได้รักษาด้วยการช็อตไฟฟ้า 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น ไม่รู้สึกตัว และเสียชีวิตในที่สุด

          โดยหมอได้แจ้งกับญาติว่าอาจจะเป็นเพราะสาเหตุด้วยภาวะหัวใจของน้องเอง หรืออาจจะเกิดจากการรับยา แล้วภาวะรับยาไม่ไหว ซึ่งขณะนี้ยังไม่สรุปสาเหตุการเสียชีวิตที่แน่ชัด

สาวตายหลังซื้อยากินเอง

เปิดไทม์ไลน์ สาวตายหลังซื้อยากินเอง จุดเริ่มต้นจากการปวดหัวช่วงรอบเดือน จนลุกลาม

ความปลอดภัยในการใช้ยา

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัย, อันตรายในการใช้ยาLeave a Comment on เปิดไทม์ไลน์ สาวตายหลังซื้อยากินเอง จุดเริ่มต้นจากการปวดหัวช่วงรอบเดือน จนลุกลาม

การไม่ปฏิบัติตามใบสั่งยาของแพทย์และอันตรายจากการใช้ยาแบบผิดๆ

Posted on February 4, 2021February 4, 2021 by visaza_effects
การไม่ปฏิบัติตามใบสั่งยาของแพทย์และอันตรายจากการใช้ยาแบบผิดๆ

Prescription Drug Abuse

การไม่ปฏิบัติตามใบสั่งยาของแพทย์และอันตรายจากการใช้ยาแบบผิดๆ

เหตุใดยังมีอีกหลายท่านที่พยายามแอบใช้ยาตามใบสั่งของแพทย์

ยังมีอีกหลายท่านที่ทานยาตามใบสั่งของแพทย์ เพราะพวกเขาเชื่อว่ายาเหล่านี้ จะช่วยให้น้ำหนักลดลง เหมาะกับอาการของโรคที่ตนเป็น หรืออาจทำให้พวกเขารู้สึกกระตือรือร้นมากขึ้นนด้วย โดยยาตามใบสั่งแพทย์นั้นหาซื้อง่ายกว่ายาที่ไม่มีใบสั่งซึ่งต้องแอบซื้อ โดยอาจหาได้จากการถามไถ่ญาติที่ป่วยหรือมียาที่มีคุณสมบัติกับยาที่พวกเขาต้องการ และยาตามใบสั่งแพทย์บางตัวก็ถูกนำมาแอบขายแบบผิดกฎหมายตามท้องตลาดด้วยเช่นกัน

การละเมิดการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น  ในปี 2012 พบว่าวัยรุ่นกว่า 24% ยืนยันว่า พวกเขาได้ใช้ยาที่มีใบสั่งแพทย์ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดซึ่งผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้เป็นยาที่ถูกสั่งโดยแพทย์ให้มีการใช้โดยเฉพาะเจาะจงบุคคลใดบุคคลหนึ่งแพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1188 บาท ลดสูงสุด 7500 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!กด

Ads h 48

ทำไม? บางคนถึงคิดว่ายาตามใบสั่งแพทย์มีความปลอดภัยและทำให้ติดน้อยกว่ายาที่หาซื้อเองตามท้องตลาด ซึ่งยาเหล่านี้ก็เป็นยาที่ แม่ พ่อ หรือพี่น้องของเราทานเพื่อรักษาอาการต่างๆ ยกตัวอย่างกรณีของ Angie ที่ทานยารักษาโรคสมาธิสั้นของน้องชายเพราะเข้าใจว่าเธอาอาจลดน้ำหนักลงได้ ซึ่งเธอเคยได้ยินมาว่าการทานยาลดความอ้วนนั้นอันตรายและเข้าใจว่ายาที่แพทย์สั่งให้น้องชายนั้นปลอดภัยกว่า

อย่างไรก็ตาม ยาที่แพทย์สั่งนั้นจะปลอดภัยได้เมื่อผู้ใช้ในใบสั่งยาเป็นผู้ใช้เอง เพราะแพทย์ได้วินิจฉัยโรคตามเฉพาะบุคคล ดังนั้นยาที่สั่งโดยแพทย์จึงเป็นยาที่ใช้เฉพาะบุคคลที่เหมาะสมทั้งปริมาณการใช้ยาและวิธีการรักษากับบุคคลนั้นๆ ซึ่งแพทย์จะระบุปริมาณและเวลาการทานยา รวมถึงแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ผู้ป่วยควรเลี่ยงเมื่อทานยานั้นๆ เช่น ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือไม่ควรใช้ยาชนิดอื่นๆ ร่วมด้วยกับยาที่แพทย์สั่ง เป็นต้น ซึ่งเป็นไปได้ว่ายาดังกล่าวอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ที่เป็นอันตรายทำให้แพทย์ต้องคอยดูอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคนที่ลองใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ซึ่งเป็นยาของบุคคลอื่นในครอบครัว อย่างกรณีของ Todd โดยคนเหล่านี้จะคิดว่าพวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิดเพราะยาเหล่านี้ถูกสั่งโดยแพทย์ แต่จริงๆ แล้ว การใช้ยาที่ไม่มีใบสั่งแพทย์หรือการแบ่งปันยาที่แพทย์สั่งกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวก็เป็นการทำผิดกฎหมายเช่นกัน

ยาประเภทใดที่ผู้คนมักแอบใช้แบบผิดๆ มียา 3 ประเภท ดังนี้

  1. กลุ่มยาโอปิออยด์ (Opioids)
  • เช่น oxycodone (OxyContin), hydrocodone (Vicodin), and meperidine (Demerol)
  • คุณสมบัติทางการรักษา – ยาโอปิออยด์มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการปวด ลดอาการไอ และรักษาอาการท้องเสีย
  • การออกฤทธิ์ทางยา – ยาโอปิออยด์จะทำงานโดยทำปฏิกิริยากับปุ่มโอปิออยล์บริเวณระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) โดยยาจะป้องกันสมองจากการรับความรู้สึกเจ็บปวดทำให้ร่างกายสามารถทนต่ออาการปวดได้
  1. กลุ่มยากดประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System – CNS Depressants)
  • เช่น pentobarbital sodium (Nembutal), diazepam (Valium), and alprazolam (Xanax)
  • คุณสมบัติทางการรักษา – กลุ่มยากดประสาทเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อลดความวิตกกังวล อาการเครียด อาการหวั่นวิตก และอาการนอนไม่หลับ
  • การออกฤทธิ์ทางยา – กลุ่มยากดประสาทจะส่งผลให้สมอง ระบบประสาทส่วนกลาง หรือระบบประสาททำงานได้ช้าลง โดยจะไปกระตุ้นให้สารส่งผ่านประสาทที่ชื่อ GABA ทำงาน ผลข้างคียงจากการทานยาคือ ผู้ป่วยจะมีอาการเซื่องซึม เชื่องช้า และมีอารมณ์ที่สงบลงอย่างเห็นได้ชัด
  1. กลุ่มยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System (CNS) Stimulants)
  • เช่น methylphenidate (Ritalin) and amphetamine/dextroamphetamine (Adderall)
  • คุณสมบัติทางการรักษา – กลุ่มยากระตุ้นประสาทเหล่านี้ถูกนำมาใช้พื่อรักษาภาวะง่วงเกิน/ลมหลับ และโรคสมาธิสั้น (ADHD)
  • การออกฤทธิ์ทางยา – กลุ่มยากระตุ้นประสาทเป็นยาที่เพิ่มการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง โดยกระตุ้นให้ผู้ป่วย รู้สึกตื่นเต้น ไม่ง่วงนอน กระฉับกระเฉง มีแรงทำงาน ลดความเหนื่อยล้า มีอารมณ์เคลิ้มสุข สนุกสนาน และมีความอยากอาหารน้อยลง

การซื้อยาเองตามร้านขายยาทั่วไป

หลายท่านเข้าใจผิดว่า ยาที่แพทย์สั่งนั้นมีฤทธิ์รุนแรงซึ่งต้องมีคำสั่งแพทย์จึงจะทานได้ แต่ทว่าการซื้อยาทานเองกลับทำให้เกิดอาการเสพติดยาและดื้อยามากกว่า ตัวอย่างเช่น ยา dextromethorphan (DXM) ที่พบได้ในยาแก้ไอและมีจำหน่ายทั่วไป การทานยาตามปริมาณที่ฉลากระบุนั้นไม่มีปัญหาใดๆ แต่ถ้าคุณรับยามากเกินไปอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับประสาทสัมผัส โดยเฉพาะการมองเห็นและการฟังได้ นอกจากนี้อาจนำไปสู่อาการสับสนมึนงง การปวดท้อง หรือมีอาการประสาทหลอน

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ยาแบบผิดๆ

การใช้ยาที่หาซื้อเองหรือการพยามรักษาโรคเอง อาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาได้ ไม่ว่าจะที่โรงเรียน ที่บ้าน กับเพื่อน หรือผิดกฎหมาย เป็นต้น นอกจากนี้อาจทำให้ผู้ที่รับยานั้นๆ ไปเกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรม ตกเป็นเหยื่อ หรือประสบอุบัติเหตุแพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1188 บาท ลดสูงสุด 7500 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!กด

Ads h 48

การใช้ยาที่แพทย์สั่งในทางที่ผิดนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการใช้ยาที่ผิดกฎหมายนั่นแหละ เนื่องจากต่างนำมาซึ่งความเสี่ยงจากการใช้ เฃ่น กลุ่มยาโอปิออยด์ที่จะทำให้ผู้รับยามีอาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดภาวะความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เกิดภาวะที่ความสามารถทางการคิดและกระบวนการรับรู้ของสมองลดลง ไปจนถึง ตัวยาจะไปกดระบบการทำงานของทางเดินหายใจ เกิดอาการโคม่า และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด โดยเฉพาะอันตรายจากผลข้างเคียงจะมีสูงขึ้นเมื่อยาถูกนำไปใช้ควบคู่กับพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การทานยากลุ่มโอปิออยด์แล้วดื่มแอลกอฮอล์ ยาแก้แพ้ ยารักษาโรคภูมิแพ้ หรือใช้ร่วมกับยากดประสาทตัวอื่นๆ เป็นต้น

ยากดประสาทนั้นค่อนข้างอันตรายและอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ใช้ ซึ่งการหยุดยาหรือลดปริมาณการใช้ยาแบบกระทันหันอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการชักได้ นอกจากนี้ การใช้ยากดประสาทร่วมกับการรักษาอื่นๆ ด้วย เช่น การทานยาแก้ปวด ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ระบบการเต้นของหัวใจและระบบทางเดินหายใจผิดปกติ หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

การใช้ยากระตุ้นประสาทอย่างยารักษาโรคสมาธิสั้น อาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดภาวะหัวใจวายหรือชักได้ ความเสี่ยงที่ว่านี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้ยากระตุ้นประสาทร่วมกับการรักษาอื่นๆ ด้วย เช่น การใช้ร่วมกับยาแก้หวัด เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ยากระตุ้นประสาทในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นมากผิดปกติ และอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ด้วย ไม่เพียงเท่านี้ การทานยาในปริมาณที่มากเกินในช่วงระยะเวลาสั้นๆ อาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดอาการก้าวร้าวหรือเกิดอาการหวาดระแวงได้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าการใช้ยากระตุ้นประสาทจะไม่สามารถดูออกได้ว่าผู้ป่วยมีอาการเสพติดยา แต่ผู้ป่วยเองจะรู้สึกได้เองว่าพวกเขามีความต้องการการใช้ยาปริมาณมากขึ้นและถี่ขึ้นจนไม่สามารถหยุดยาเหล่านี้ได้

อันตรายจากการใช้ยาตามแพทย์สั่งแบบผิดๆ นั้นนำมาซึ่งความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายหากผู้ใช้เป็นบุคคลอื่นที่ไม่ถูกระบุในใบสั่งแพทย์ อย่างยา Ritalin ที่อาจดูเหมือนว่าจะไม่มีอันตรายใดๆ เนื่องจากเป็นยาที่ใช้อย่างถูกต้องตามใบสั่งแพทย์เพื่อการรักษาโรคสมาธิสั้น แต่หากถูกใช้เมื่อไม่มีความจำเป็นหรือผิดวัตถุประสงค์ เช่น สูดเข้าทางจมูก หรือฉีดเข้ากระแสเลือด ยา Ritalin จะก่อให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นปริมาณการใช้ยาและระยะเวลาการรักษาจึงแตกต่างกันในแต่ละบุคคลด้วย ซึ่งผู้ที่ใช้ยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์จึงจะไม่มีทางทราบได้เลยว่าปริมาณเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมเพื่อการรักษา

อาจเป็นไปได้ว่าผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาเหล่านี้คือการเสพติดยา ซึ่งผู้ที่ใช้ยาแบบผิดๆ นั้นจะติดยาได้ง่ายพอๆ กับการใช้ยาเสพติดผิดกฎหมายอื่นๆ และเหตุผลที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการควบคุมโดยคำสั่งแพทย์

นั่นเพราะพวกเขามีพฤติกรรมของการเสพติดยาที่ใช้อยู่ ดังนั้นแพทย์จะไม่เขียนใบสั่งยาให้โดยที่ไม่ได้พบและวินิจฉัยอาการกับผู้ป่วยโดยตรงซึ่งแพทย์ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ต้องการยาเพียงเพราะพวกเขาเสพติดยาที่แพทย์สั่ง

แล้วคุณจะทราบได้อย่างไรว่าคุณกำลังเสพติดยาที่แพทย์สั่ง

มีหลายสัญญาณที่บ่งชี้ให้ทราบได้ว่าคุณกำลังติดยาที่แพทย์สั่ง สัญญาณที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ คุณจะมีความต้องการทานยานั้นอยู่โดยตลอด นอกจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ น้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด และความรู้สึกกระตือรือร้นเป็นพิเศษ ก็เป็นสัญญาณที่บอกได้ว่าคุณกำลังเสพติดยา

หากคุณคิดว่า คุณเองหรือเพื่อนของคุณกำลังเสพติดยาที่แพทย์สั่ง ให้คุณรีบปรึกษาแพทย์ อาจารย์ที่ปรึกษา พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะให้คำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวทางการรักษา โดยเฉพาะผู้ที่กำลังเสพติดกลุ่มยากดประสาทและกำลังต้องการเลิก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษาและเลิกยาอย่างถูกต้อง เนื่องจากการเลิกยาอาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ

วิธีการรักษาผู้ที่เสพติดยาตามใบสั่งแพทย์มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคลและประเภทของยาที่ทานเข้าไป จึงมีวิธีการรักษาหลักๆ 2 ลักษณะ คือ พฤติกรรมบำบัดและเภสัชบำบัด

โดยพฤติกรรมบำบัดจะแนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและมีสุขภาพที่ดีได้โดยไม่ต้องพึ่งยา เช่น การจัดการกับความต้องการยา วิธีหลีกเลี่ยงการใช้ยา การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะนำให้กลับไปใช้ยาอีก และการป้องกัน รวมถึงการจัดการกับอาการที่อยากกลับมาใช้ยาอีกครั้ง ส่วนเภสัชบำบัดนั้นเกี่ยวเนื่องกับการรักษาผู้ป่วยด้วยยาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเลิกยาได้และไม่ให้ผู้ป่วยมีความต้องการยา

คำแนะนำการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์

จะทำอย่างไรถ้าแพทย์สั่งยาให้คุณ แต่คุณกังวลว่าคุณอาจติดยานั้น? หากคุณกำลังใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ต้องกังวลไป เพราะแพทย์จะสั่งยาในปริมาณที่เหมาะสมกับอาการของโรค และปริมาณยาที่เหมาะสมจะไม่ทำให้คุณเสพติดยานั้นๆ แน่นอน

หากแพทย์สั่งยาให้คุณ เช่น ยาแก้ปวด ยากระตุ้นประสาท หรือยากดประสาท ให้คุณทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตตามคำแนะนำเหล่านี้

  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ แพทย์อาจนัดพบคุณถี่สักหน่อย นั่นเพราะแพทย์ต้องการควบคุมดูแลอาการป่วยของคุณอย่างใกล้ชิด และดูว่ายาที่สั่งให้นั่นใช้ได้ดีกับโรคที่คุณเป็น นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้แพทย์ได้ปรับปริมาณยาให้เหมาะสมได้ด้วย โดยยาบางตัวแพทย์อาจสั่งให้หยุดทานหรือเปลี่ยนตัวยาเพื่อป้องกันอาการเสพติดยาของผู้ป่วยนั่นเอง
  • จดบันทึกผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาที่มีต่อร่างกายและอารมณ์ของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 วันแรกที่ทานยา แล้วแจ้งแพทย์ของคุณเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • เก็บข้อมูลการใช้ยาที่เภสัชกรแนะนำเกี่ยวกับยาและการใช้ยา ซึ่งคุณต้องใส่ใจต่อคำแนะนำดังกล่าว และพยายามอ่านข้อมูลนั้นๆ ซ้ำบ่อยๆ ว่าสิ่งใดหรือพฤติกรรมใดที่ควรเลี่ยงเมื่อทานยา หากข้อมูลที่ได้มานั้นมีรายละเอียดมากเกินไป คุณอาจขอให้ผู้ปกครองหรือเภสัชกรช่วยเน้นและสรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการใช้ยาให้คุณ
  • อย่าเพิ่มหรือลดปริมาณการใช้ยาด้วยตัวของคุณเองโดยไม่ได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนเป็นอันขาด แม้จะเกิดผลข้างเคียงใดๆ เกิดขึ้น แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์หากเกิดผลข้างเคียงที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ

ผู้ป่วยต้องไม่ใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ซึ่งระบุเป็นชื่อของผู้อื่นโดยเด็ดขาด และต้องไม่ให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวใช้ยาของคุณ ผลกระทบจะไม่เพียงเกิดขึ้นกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวของคุณเท่านั้น แต่จะเกิดผลกระทบต่อการรักษาโรคของคุณโดยตรงด้วย เนื่องจาก เภสัชกรจะไม่สามารถเพิ่มยาให้คุณได้หากช่วงเวลาของการทานยายังไม่ครบกำหนด และที่แย่กว่านั้นคือ หากคุณนำยาของคุณไปให้ผู้อื่นใช้ ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายจนทำให้คุณต้องเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลไปเสียอีก

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยLeave a Comment on การไม่ปฏิบัติตามใบสั่งยาของแพทย์และอันตรายจากการใช้ยาแบบผิดๆ

4 วิธี การใช้ยาให้ถูกต้องปลอดภัย

Posted on February 1, 2021February 1, 2021 by visaza_effects

ทุกกคนย่อมต้องการที่จะมีร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย แต่วิธีการดำเนินชีวิตและสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาการเจ็บป่วยต่างๆได้ การดูแลเอาใจใส่สุขภาพของแต่ละคน ประกอบกับปัจจุบันอากาศบ้านเราก็ไม่เอานอนไม่ได้ ทำให้สภาพร่างกายปรับตัวตามไม่ทันจึงเกิดอาการเจ็บป่วยตามมา ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่มีอาการเจ็บปวดขึ้นมา “ยา” จึงนับเป็นปัจจัยสำคัญในการบำบัดอาการผิดปกติ ของระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย แต่ทั้งนี้ ยังมีทั้งคุณและโทษขึ้นอยู่กับลักษณะและวิธีการใช้ยาชนิดนั้นๆ

ด้วยความเคยชินของคนไทย แม้แต่อาการเจ็บไข้เล็กๆน้อยๆ ก็มักไม่ค่อยไปพึ่งหมอสักเท่าไร มักจะหาซื้อยาตามร้านมาทานก่อน ถ้าไม่ไหวจริงๆก็จะไปให้หมอรักษา แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ไม่ใช่ยาทุกชนิดที่เราจะหามารับประทานเองได้ เพราะว่าเราควรจะทราบถึงสาเหตุและอาการ เพื่อให้สามารถเลือกยานำมารับประทานได้ถูกกับโรค และที่สำคัญก็คือ ต้องใช้ให้ถูกกขนาด ถูกเวลา ถูกวิธี ดังนั้นก่อนใช้ยา ก็ควรปรึกษาเภสัชกรและศึกษาข้อมูล เพื่อการใช้ยาให้ถูกต้องปลอดภัยด้วยทุกครั้ง

4 วิธีใช้ยาให้ถูกต้องปลอดภัย

1.ใช้ยาให้ถูกกับโรค ในทุกครั้งควรทราบก่อนว่าเราป่วยเป็นโรคอะไร ซึ่งควรบอกอาการที่เป็นอยู่คร่าวๆ ให้เภสัชกรเป็นผู้ช่วยจัดยาให้รับประทาน

2.ใช้ยาให้ถูกกับคน เพราะยาที่รักษาอาการป่วยของแต่ละบุคคล ก็มักจะเหมาะสมเฉพาะๆนั้น ห้ามบุคคลอื่นนำไปใช้ ต้องศึกษาให้ดีเสียก่อน เพราะ อายุ เพศวัย น้ำหนัก ที่ต่างกัน อาจต้องใช้ยาในปริมาณที่ต่างกันด้วย บางครั้งอาการของโรคคล้ายๆกัน แต่อาจใช้ยารักษาต่างกัน จึงไม่ควรใช้ยาของคนอื่น และควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนด้วยทุกครั้ง

3.ใช้ยาให้ถูกเวลา ยาก่อนอาหารควรรับประทานก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง ส่วนยาหลังอาหารควรรับประทานหลังอาหาร 15 ถึง 20 นาที ถ้าเป็นยาที่ระบุว่าต้องรับประทานหลังอาหารทันที หรือรับประทานพร้อมอาหาร ก็ไม่ควรรับประทานขณะท้องว่าง เพราะส่วนมากจะเป็นยาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะ และถ้าเป็นยาลดกรด ควรรับประทานหลังอาหาร 1 ถึง 2 ชั่วโมงจะให้ผลดี

4.ใช้ยาให้ถูกวิธี เช่นยาเม็ดหรือยาแคปซูล ควรกลืนทั้งเม็ดพร้อมน้ำ ถ้าระบุว่าเคี้ยวก่อนกลืนต้องเคี้ยวให้ละเอียด หากเป็นยาน้ำแขวนตะกอน ควรเขย่าขวดก่อนใช้ทุกครั้ง เพื่อให้ตัวยากระจายทั่วขวด และถ้าเป็นยาผงที่ระบุให้ละลายน้ำก่อนรับประทาน ก็ควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพราะอาจทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินอาหารได้ สำหรับยาที่ใช้เฉพาะที่ เช่น ยาเม็ดที่ใช้สอดทวารหนัก หรือสอดทางช่องคลอด ควรนำยาจุ่มน้ำก่อน เพื่อให้ลื่นและสอดเข้าได้ง่าย ยาที่ใช้สอดเข้าเฉพาาะที่ จะต้องเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อป้องกันยาหลอมตัวและช่วยให้ยามมีความแข็งพอ ที่จะสอดเข้าทวารหนักได้

สิ่งสำคัญคือวันหมดอายุ เป็นสิ่งที่ไม่ควรลืมก่อนที่จะใช้ยาทุกครั้ง เพราะหากยานั้นหมดอายุไปแล้ว แทนที่จะช่วยรักษาให้หายจากอาการเจ็บปวด ก็จะก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ อาจทำให้อาการหนักขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการจะรู้ว่ายาหมดอายุหรือไม่ ก็ดูจากฉลากยาบนกล่องหรือขวดยานั้น

ถึงไม่ยาจะเป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่เราทุกคนก็ไม่ควรจะละเลยในรายละเอียดต่างๆของการใช้ยาแต่ละชนิด เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากได้ ก่อนใช้ยาทุกครั้ง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อน เผื่อได้รับคำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามการป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย เป็นวิธีการที่ดีที่สุด คือการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ ก็จะทำให้เราห่างหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้

4 วิธี การใช้ยาให้ถูกต้องปลอดภัย

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยTagged 4 วิธี การใช้ยาให้ถูกต้องปลอดภัยLeave a Comment on 4 วิธี การใช้ยาให้ถูกต้องปลอดภัย

10 พฤติกรรมการทานยาที่ไม่ปลอดภัย

Posted on February 1, 2021February 1, 2021 by visaza_effects
10 พฤติกรรมการทานยาที่ไม่ปลอดภัย.. #โรงพยาบาลลานนา #เกร็ดความรู้สุขภาพ

กรุงเทพฯ–19 พ.ย.–โรงพยาบาลลานนา #ยารักษาโรค ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่สำคัญกับชีวิตมนุษย์เรา ซึ่งจะใช้ในการบำบัดรักษาโรคให้หายดีจากอาการเจ็บป่วย ซึ่งยาในปัจจุบันก็มีมากมายหลากหลาย จำเป็นจะต้องใช้ให้ถูกต้อง ถูกคน ถูกวิธี จึงจะได้ผลดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาจะมีสรรพคุณในการรักษาโรค แต่หากว่าเราใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง หรือใช้โดยไม่ระมัดระวัง ยาที่รักษาโรคนั้น อาจย้อนกลับมาทำให้เกิดโรคได้เอง … วันนี้ #เกร็ดความรู้สุขภาพ#โรงพยาบาลลานนาจึงจะมาบอกเล่าถึง#10พฤติกรรมการทานยาที่ไม่ปลอดภัยของคนไทย มาฝากกันครับ มูลจาก ภญ.รศ.ธิดา นิงสานนท์ ที่ปรึกษาสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลฯ และนายกสภาเภสัชกรรม เปิดเผยว่า ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของ ตัวผู้ป่วยว่า อาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความเข้าใจไม่ถูกต้อง หรือความเชื่อแบบผิด ๆ ของผู้ใช้ยา โดยกล่าวถึง “10 พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่ปลอดภัยที่พบบ่อยในคนไทย” ได้แก่ 1.ปรับขนาดยาเร็ว จึงเพิ่มขนาดยาเอง ผลคือความดันอาจลดลงต่ำจนเกิดอันตรายได้เองตามใจชอบ ด้วยความเชื่อที่ว่ารับประทานยามากไม่ดี เมื่ออาการดีขึ้นแล้วก็หยุดยาเอง เช่น บางคนความดันเลือดสูง พอรับประทานยาแล้วความดันลดลง ก็งดยาเองไม่ยอมรับประทานต่อตามแพทย์สั่ง ความดันก็จะสูงขึ้นอีกหรือยาบางอย่าง เช่น ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ซึ่งต้องรับประทานให้หมดตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยบางคนพอรับประทานไปได้ระยะหนึ่ง อาการหายไปก็หยุดยาเอง ผลคือเกิดเชื้อดื้อยาขึ้น ครั้งต่อไปต้องใช้ยาที่แรงขึ้นเป็นต้น หรือในทางตรงข้ามเชื่อว่ารับประทานยามากแล้วหาย 2.นำยาของคนอื่นมาใช้ ด้วยความเอื้อเฟื้อจากเพื่อนบ้าน หรือคนในบ้านเดียวกัน เมื่อฟังว่ามีอาการเหมือนกัน ก็ขอยาที่เพื่อนใช้มาทดลองใช้บ้าง โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าอาการที่เหมือนกันนั้นอาจมาจากสาเหตุที่ต่างกัน ซึ่งนอกจากโรคไม่หายแล้วยังเสี่ยงต่อการเกิดการแพ้ยา หรือเกิดอาการข้างเคียงจากยาอีกด้วย 3.ไม่พร้อมฟังคำอธิบายจากเภสัชกร พฤติกรรมนี้พบบ่อยมากเวลาผู้ป่วยมารับยาที่ห้องยาตามสถานพยาบาล ผู้ป่วยมักจะรีบกลับบ้าน ไม่สนใจว่าเภสัชกรจะอธิบายวิธีใช้อย่างไรเพราะเข้าใจว่าอ่านฉลากเองได้ แต่เมื่อกลับไปบ้านแล้วมีข้อสงสัยวิธีการใช้ ก็ไม่ทราบจะถามใคร ซึ่งในบางกรณีแพทย์อาจเปลี่ยนชนิดของยาหรือเปลี่ยนขนาดที่เคยใช้อยู่เดิม ก็อาจไม่ทราบเพราะเคยใช้อยู่อย่างไรก็ใช้ในขนาดเดิมนั้น ไม่ได้อ่านฉลากยาให้ละเอียด หรือบางครั้งรับประทานยาเดิมที่แพทย์สั่งหยุดแล้วควบไปกับยาใหม่อีก ทำให้ได้ยาเกินขนาด หรือบางครั้งยามีอาการข้างเคียงที่เภสัชกรจะบอกให้ทราบล่วงหน้าเพื่อเป็นการ สังเกตอาการ หรือไม่ต้องกังวลเมื่อเกิดอาการดังกล่าว แต่ไม่มีโอกาสบอกเพราะผู้ป่วยไม่พร้อมรับฟัง 4.เก็บยาไม่ถูกต้อง เมื่อรับยามาจากสถานพยาบาลหรือซื้อยามาแล้วทิ้งไว้ในรถซึ่งจอดกลางแดด หรือเข้าใจว่ายาทุกชนิดควรเก็บไว้ในตู้เย็น หรือในช่องแข็ง ทำให้ยาเสื่อมก่อนถึงวันหมดอายุ ประสิทธิภาพยาลดลง 5.ไม่ดูวันหมดอายุเวลาซื้อยา ทุกครั้งที่ซื้อยาต้องหาดูวันหมดอายุที่แผงหรือขวดยา หรือหลอดบรรจุยา ให้มั่นใจว่ายาที่ซื้อไปยังไม่ถึงวันหมดอายุ อย่างน้อยที่สุด 6 เดือนถึง 1 ปี 6.ลืมรับประทานยา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรับประทานยาจำนวนมากมักลืมรับ ประทานยามื้อกลางวันบ่อยที่สุด หรือมักลืมรับประทานยาก่อนอาหาร ซึ่งยาบางอย่างจำเป็นต้องรับประทาน ก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง เพราะยาจะถูกดูดซึมดีตอนท้องว่าง หรือยาบางชนิดเพื่อให้ออกฤทธิ์พอดีเวลาอาหาร 7.ใช้ยาไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะยาที่มีเทคนิคพิเศษในการใช้ ทำให้ใช้ยาไม่ได้ผล เช่น ยาพ่นป้องกันการจับหืด ซึ่งมีชนิดต่าง ๆ มากมาย เป็นต้น 8.ไม่นำยาเก่ามาด้วยเวลามารักษาตัวในโรงพยาบาล ทำให้บางครั้งไม่ได้รับยาที่รับประทานต่อเนื่องเพื่อรักษาโรคเรื้อรังที่ เป็นอยู่เดิม แต่ครั้งนี้มารับการรักษาอาการอื่น แพทย์เองก็ไม่ทราบว่าเป็นโรคอะไรอยู่ก่อน 9.ชอบไปรับการรักษาจากหลายสถานพยาบาล ทำให้ได้รับยาซ้ำซ้อน บางครั้งยามีปฏิกิริยากัน อาจเสริมฤทธิ์กันหรือทำให้ฤทธิ์ยาลดลง 10.เชื่อว่าการใช้ยาดีกว่าการป้องกันการเกิด โรค คนส่วนใหญ่ชอบที่จะได้รับยาจากแพทย์เพื่อรักษามากกว่าการรับฟังคำแนะนำการ ดูแลรักษาตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรค ซึ่งแท้จริงแล้วการป้องกันการเกิดโรคย่อมดีกว่า หรือถึงแม้รับประทานยาเพื่อรักษาโรคเรื้อรังอยู่แล้วก็ไม่ระวังดูแลตนเอง เพราะ คิดว่าหากมีอาการมากขึ้นก็เพิ่มขนาดยาเข้าไปอีก ลืมคิดไปว่ายามีทั้งคุณและโทษ ไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็น หรือหากต้องใช้ยาก็ต้องใช้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่กล่าวมาเป็นเพียงพฤติกรรมส่วนหนึ่งที่พบบ่อยในคนไทย ซึ่งผู้ป่วยและผู้ใช้ยาจะต้องช่วยกันดูแลตนเอง หากไม่เข้าใจหรือมีปัญหาจากการใช้ยา ควรขอคำปรึกษาจากเภสัชกร เพื่อลดปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยา โดยเฉพาะยาที่มีเทคนิคพิเศษและยารักษาโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยต้องรับประทานยาหลายชนิด

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยLeave a Comment on 10 พฤติกรรมการทานยาที่ไม่ปลอดภัย

ไขข้อสงสัย อาการเจ็บหัวนม เกิดจากอะไร อันตรายไหม?

Posted on January 7, 2021January 7, 2021 by visaza_effects
ไขข้อสงสัย อาการเจ็บหัวนม เกิดจากอะไร อันตรายไหม?

อาการเจ็บหัวนม ถือเป็นอาการที่ผู้หญิงอย่างเราๆ ต้องเคยประสบกันมาแล้วบ้าง โดยเฉพาะช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้เกิดอาการเจ็บที่บริเวณหัวนม และเมื่อเกิดอาการนี้ สาวๆ ก็อย่าชะล่าใจเด็ดขาดนะคะ โดยเฉพาะหากเกิดอาการดังกล่าวบ่อยๆ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม วันนี้เราก็จะพาคุณไปดูกันค่ะว่าสาเหตุของอาการนี้เกิดจากอะไร หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลยค่ะ


1.เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
ผู้หญิงที่ร่างกายเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว ฮอร์โมนในร่างกายก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลให้เต้านมมีขนาดที่ขยายใหญ่ขึ้น และมีอาการไวต่อความรู้สึก จนทำให้บางครั้งเกิดอาการคัดตึงบริเวณหัวนมและเต้านมได้ ซึ่งอาการเหล่านี้ถือว่าเป็นความปกติของร่างกายที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยไม่ถือว่าเป็นอันตรายแต่อย่างใด


2.เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน     
เมื่อร่างกายเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจนก็จะลดลง จึงส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งบางรายก็อาจจะมีอาการเจ็บหัวนมหรือมีอาการปวดหัวคล้ายบ้านหมุนได้


3.กินยาคุมกำเนิด
การกินยาคุมกำเนิดก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านมได้ในบ้างครั้ง ซึ่งถ้าคุณกำลังมีอาการเหล่านี้ก็อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพราะยาคุมกำเนิดเป็นยาที่สามารถเพิ่มจำนวนฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิงเราให้เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้ในช่วงที่เราทานยาก็อาจจะก่อให้เกิดอาการเจ็บเต้านมขึ้นมาได้บ้าง ซึ่งก็ถือว่าเป็นอาการปกติและไม่ใช่การเกิดโรคร้ายแรงแต่อย่างใด


4.ความเครียด
ความเครียดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมา รวมไปถึงอาการเจ็บจื๊ดๆ บริเวณเต้านมก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งอาการก็จะคล้าย ๆ กับตอนที่เรามีประจำเดือนเลยนั่นเอง

5.กรดไขมันในร่างกายไม่สมดุล
การที่ร่างกายได้รับกรดไขมันในปริมาณที่ไม่เพียงพอก็อาจทำให้ไขมันในเซลล์เกิดความไม่สมดุล จึงจะทำให้เรารู้สึกคัดแน่นและเจ็บบริเวณหัวนมได้ โดยสาเหตุก็มาจากการทำงานของเซลล์ผิวหนังและการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติ ดังนั้นกรดไขมันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับร่างกายมากที่สุดอีกชนิดหนึ่งที่เราไม่ควรละเลยที่จะทานเป็นประจำทุกวัน


6.มีอาการเจ็บหน้าอก และหัวใจร่วมด้วย
เนื่องจากหัวนมเป็นจุดที่ไวต่อความรู้สึกอย่างมาก ดังนั้น เมื่อเวลาเราเจ็บหน้าอกและหัวใจในบางครั้ง ก็จะทำให้มีโอกาสที่จะสะเทือนไปเจ็บที่บริเวณหัวนมได้ด้วย

และนี่ก็คือ สาเหตุของอาการเจ็บหัวนม โดยบางสาเหตุก็ไม่ได้ถือว่าเป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่หากสาวๆ พบว่าอาการเจ็บหัวนมเป็นบ่อยและรุนแรงหนักขึ้น ทำอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงจะดีกว่า เพราะไม่แน่ว่าเราอาจจะป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งอยู่ก็เป็นได้ หรืออาจจะมีปัญหาความผิดปกติของเต้านมอยู่ก็เป็นได้นั่นเอง

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัย, ความรู้เรื่องยาLeave a Comment on ไขข้อสงสัย อาการเจ็บหัวนม เกิดจากอะไร อันตรายไหม?

ไขข้อสงสัย กินยาแก้ปวดท้องประจำเดือนบ่อยๆ อันตรายหรือไม่?

Posted on January 7, 2021January 7, 2021 by visaza_effects
ไขข้อสงสัย กินยาแก้ปวดท้องประจำเดือนบ่อยๆ อันตรายหรือไม่?

คำถามที่ผู้หญิงหลายคนที่มีอาการปวดประจำเดือนบ่อยๆ อาจสงสัย ประจำเดือนมาทีไร วันนั้นต้องปวดท้องทุกที และต้องเพิ่งยาแก้ปวดตลอด ไม่ว่าจะพาราเซตามอล พอนสแตน หรือบรูเฟน แล้วแต่ใครถูกกับยาขนานไหน

แต่การทานยาทุกเดือนๆ แบบนี้ เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ มดลูกจะเป็นอะไรหรือเปล่า หรือแม้กระทั่งการทานยาทุกเดือนแบบนี้จะส่งผลต่อตับ อย่างที่เราอาจเคยได้ยินมาว่าการทานยาปฏิชีวนะมากๆ แล้วจะไปสะสมที่ตับ เสี่ยงตับพัง เรื่องนี้จริงหรือไม่ เฟซบุ๊คเพจ “ใกล้มิตรชิดหมอ” ให้คำตอบเอาไว้ชัดเจนว่า “ไม่เป็นอันตรายค่ะ” คุณผู้หญิงสามารถทานยาแก้ปวดท้องได้ทุกเดือน เดือนละ 2-3 วันได้ เป็นเรื่องปกติ และไม่มีอะไรต้องกังวล

แต่ในกรณีที่คุณเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคไต โรคกระเพาะ อาจต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยาเพิ่มขึ้น แต่หากใครที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ทานยาแก้ปวดได้ ไม่ต้องกังวลค่ะ

อย่างไรก็ตาม หากพบว่าทานยาแล้วยังไม่หายปวดท้อง หรือพบอาการอื่นๆ เพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดอีกครั้งจะดีกว่าค่ะ

ไขข้อสงสัย กินยาแก้ปวดท้องประจำเดือนบ่อยๆ อันตรายหรือไม่?

อันตรายจากการใช้ยา

การใช้ยาอย่างปลอดภัย

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัย, ความรู้เรื่องยา, อันตรายในการใช้ยาLeave a Comment on ไขข้อสงสัย กินยาแก้ปวดท้องประจำเดือนบ่อยๆ อันตรายหรือไม่?

การเก็บรักษายาสามัญประจำบ้านที่ถูกต้อง

Posted on January 6, 2021January 6, 2021 by visaza_effects

การเก็บยาสามัญประจำบ้านเอาไว้นั้น ควรมีตู้สำหรับใส่ยาเหล่านี้โดยเฉพาะ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพิ่มความสะดวกในการหยิบใช้ และช่วยรักษาตัวยาให้มีอายุการใช้งานได้ตามกำหนด โดยมีวิธีเก็บดังนี้

1.ควรแยกยาออกเป็นประเภทต่างๆ อย่างชัดเจน ว่าอันไหนคือยาสำหรับทาน และยาอันไหนคือยาสำหรับใช้ภายนอก
2.ยาจะต้องมีฉลากยาที่มีความถูกต้องชัดเจน ไม่จาง หรือขาดหาย
3.เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
4.เก็บยาไว้ในที่ไม่โดนแสงแดด ความร้อน ความชื้น และเปลวไฟ
5.อย่าเก็บยาชนิดอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเอาไว้ในตู้เก็บยาสามัญประจำบ้าน เพราะอาจจะหยิบผิดได้

ยาสามัญประจำบ้านเป็นของที่ต้องมีติดบ้านเอาไว้เสมอ เพราะรักษาโรคทั่วไปเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถซื้อยาทานเองได้ แต่ก็ต้องศึกษาตัวยาและข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับยาให้ครบถ้วนเพื่อจะได้ใช้รักษาโรคได้อย่างปลอดภัย

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัย, ความรู้เรื่องยาLeave a Comment on การเก็บรักษายาสามัญประจำบ้านที่ถูกต้อง

Posts navigation

Older posts
dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ