Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

Category: บทความ

จะทำไมอย่างไร หากคุณเป็นคนหลั่งเร็ว

Posted on April 18, 2021April 18, 2021 by visaza_effects
จะทำไมอย่างไร หากคุณเป็นคนหลั่งเร็ว

การหลั่งเร็วถือว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคู่นอนหรือคู่สามีภรรยาสะส่วนใหญ่เลยที่เดียว เพราะเพศสัมพันธ์ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของคู่ชีวิตบ้างคู่และอาจจะเป็นส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้ หากการร่วมเพศไม่มีความสุขก็อาจจะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงคันแอบไปมีเล็กมีน้อยเลยก็ว่าได้วันนี้เราเลยอยากจะมาช่วยแนะนำ สำหรับหนุ่มๆที่หลั่งเร็วว่าจะมีวิธีใดที่ช่วยได้บ้าง

เมื่ออาการหลั่งเร็วเริ่มก่อให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์และความมั่นใจในตนเอง ไม่ควรลังเลใจที่จะไปปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งแพทย์อาจให้ยารักษาตามอาการ เช่น ให้รับประทานยาต้านเศร้า หรือให้ใช้ยาชาทาอวัยวะเพศก่อนมีกิจกรรมทางเพศ รวมถึงอาจแนะนำวิธีการอื่น ๆ เช่น พูดคุยปรับความเข้าใจกับคู่ครองเพื่อหาทางออกที่ดีร่วมกัน เข้ารับการบำบัดหรือรับคำปรึกษาจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต รวมถึงอาจใช้เทคนิคทางเพศบางประการเพื่อช่วยบริหารขณะมีเพศสัมพันธ์และลดปัญหาหลั่งเร็ว ดังต่อไปนี้

  • สำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง

นอกจากจะช่วยปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศและทำให้เกิดความสุขแล้ว การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองของผู้ชายยังมีประโยชน์ต่อการร่วมเพศเช่นกัน เพราะหากผู้ชายไม่ได้ทำกิจกรรมทางเพศมานานกว่า 1 วัน จะทำให้หลั่งน้ำอสุจิได้เร็วกว่าที่ควร เพราะฉะนั้นผู้ชายควรสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองก่อนร่วมเพศประมาณ 1-2 ชั่วโมง และอาจทำในตอนเช้าแล้วจึงมีเพศสัมพันธ์ในตอนค่ำ หรือทำในตอนค่ำแล้วจึงมีเพศสัมพันธ์ในตอนเช้า

นอกจากนี้ การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองยังช่วยฝึกฝนให้ผู้ชายควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิได้ดีขึ้น ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาหลั่งเร็วควรสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง 3-5 วัน/สัปดาห์ โดยการใช้มือเปล่าสลับกับมือที่ชุ่มน้ำสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เพื่อฝึกฝนให้ร่างกายรับรู้ความรู้สึกที่หลากหลาย และเมื่อรู้สึกใกล้ถึงจุดสุดยอดให้หยุดพักไปก่อนประมาณ 5 นาที จากนั้นจึงค่อยเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง โดยปฏิบัติเช่นนี้ซ้ำ ๆ 3-4 รอบก่อนจะหลั่งน้ำอสุจิในรอบสุดท้าย วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ชายเรียนรู้ขีดจำกัดของตัวเองและสามารถนำประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์ โดยการหยุดพักเป็นระยะก่อนไปถึงจุดสุดยอดเพื่อแก้ปัญหาอาการหลั่งเร็ว

  • หยุดพักก่อน แล้วเริ่มต้นใหม่

แทนที่จะร่วมเพศในทันที คู่รักอาจเริ่มต้นจากการเล้าโลมกันก่อนเพื่อคลายความเขินอายหรือความวิตกกังวล แต่ไม่ควรเล้าโลมนานเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการหลั่งเร็วได้ขณะมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น เมื่อรู้ตัวว่าใกล้ถึงจุดสุดยอดให้ชะลอความเร็วหรือพักไปก่อน โดยอาจหยุดนิ่ง ขยับองคชาติไปมาเป็นวงกลมเพื่อลดการปลุกเร้า หรือถอนอวัยวะเพศออกมาก่อนเพื่อหยุดแรงกระตุ้น เมื่อทั้งคู่รู้สึกผ่อนคลายอารมณ์ลง จึงค่อยเริ่มต้นปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศใหม่ มีเพศสัมพันธ์ต่อไป และหลั่งอสุจิเมื่อถึงจุดที่ตนพอใจ

นอกจากนี้ ผู้หญิงอาจช่วยชะลอการหลั่งเร็วได้ด้วยการใช้นิ้วมือบีบเบา ๆ บริเวณหัวองคชาติ โดยบีบค้างไว้เมื่อผู้ชายรู้สึกเกือบถึงจุดสุดยอดจนกว่าความต้องการหลั่งน้ำอสุจิจะลดลง วิธีนี้อาจช่วยให้ร่างกายของผู้ชายเรียนรู้การควบคุมน้ำอสุจิไม่ให้หลั่งออกมาก่อนกำหนด แต่ไม่ควรทำหากผู้ชายรู้สึกเจ็บปวด ทั้งนี้ ทั้งคู่ควรตกลงกันก่อนว่าต้องการใช้เวลาในการมีเพศสัมพันธ์นานเท่าไรจึงจะหลั่งน้ำอสุจิจริง หากผู้ชายเผลอหลั่งน้ำอสุจิไปก่อน อาจรอจนกว่าองคชาติจะแข็งตัวใหม่แล้วค่อยร่วมเพศกันอีกครั้ง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้มีเพศสัมพันธ์ได้ยาวนานขึ้น เพราะผู้ชายได้ปลดปล่อยความต้องการทางเพศบางส่วนไปแล้ว

  • สวมถุงยาง ลดสัมผัส ลดอารมณ์

ด้านการใช้ตัวช่วย ถุงยางอนามัยกับสารหล่อลื่นเป็นตัวเลือกที่ดีและน่าสนใจไม่น้อย เพราะการใช้สารหล่อลื่นช่วยลดการเสียดสีขณะมีเพศสัมพันธ์ ส่วนการสวมถุงยางอนามัยโดยเฉพาะถุงยางแบบหนาจะช่วยลดความรู้สึกทางเพศที่ถูกกระตุ้นจากการร่วมเพศ จึงทำให้ผู้ชายควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิได้ดีขึ้นและช่วยแก้ปัญหาการหลั่งเร็วได้

  • ฝึกขมิบเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานซึ่งเป็นบริเวณที่ควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิจะช่วยยืดระยะเวลาในการหลั่งน้ำอสุจิได้ โดยควรเริ่มจากการลองกลั้นปัสสาวะหรือกลั้นผายลมกลางคันดูก่อน แล้วจึงฝึกฝนตัวเองด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวนาน 3 วินาที สลับกับการคลายกล้ามเนื้ออีก 3 วินาทีต่อเนื่องกัน 10 ครั้งจนครบ 3 ยกในแต่ละวัน โดยไม่ควรเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ต้นขา หรือก้นร่วมด้วย และไม่ควรกลั้นหายใจขณะบริหารกล้ามเนื้อในท่านี้ ทั้งนี้ อาจเริ่มบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานลักษณะนี้ในท่านอนก่อน แล้วค่อยลองเปลี่ยนมาบริหารในท่านั่งและท่ายืน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งช่วยควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิได้ดีขึ้น

  • ก้าวผ่านปัญหาหลั่งเร็วด้วยความสัมพันธ์ที่ดี

นอกเหนือจากเทคนิควิธีการต่าง ๆ การสื่อสารกับคู่ชีวิตก็เป็นพื้นฐานของการมีความสัมพันธ์ที่ดี ผู้ที่มีปัญหาหลั่งเร็วควรพูดคุยกับคู่ของตนให้รับรู้สถานการณ์ และฝ่ายหญิงก็ไม่ควรกดดันฝ่ายชายด้วยการจับเวลา เพราะระยะเวลาของการมีเพศสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ไม่ควรมีกำหนดการที่ตายตัว และความเครียดจากแรงกดดันมีแต่จะส่งผลให้ปัญหานี้แย่ลง การปรับความเข้าใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ฝ่ายชายรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นซึ่งช่วยชะลอการหลั่งของน้ำอสุจิได้ อย่างไรก็ตาม หากพยายามปฏิบัติตามแนวทางต่าง ๆ แล้วยังอาการไม่ดีขึ้น หรือปัญหาหลั่งเร็วก่อให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจและความสัมพันธ์เป็นอย่างมาก ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

Posted in บทความLeave a Comment on จะทำไมอย่างไร หากคุณเป็นคนหลั่งเร็ว

เรียนรู้ ป้องกัน รักษาโรคลมแดด

Posted on April 8, 2021April 8, 2021 by visaza_effects
เรียนรู้ ป้องกัน รักษาโรคลมแดด

โรคลมแดด ถึงหน้าร้อนกันแล้วนี้คือโรคยอดฮิตที่เป็นกันมากไม่ว่าจะเป็นคนที่ออกกำลังกายกลางแจ้งหรือทำงานกลางแจ้ง หากเราไม่รู้วิธีป้องกันหรือมีคนเกิดขึ้นต่อหน้าเราถ้าเราปฐมพยาบาลเลื้องต้นไม่ทันเวลาก็อาจทำให้ถึงชีวิตได้ โดยโรคลมแดดเกิดจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ตามปกติ โดยอาการอาจเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มสูงถึง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป 

อาการของโรคลมแดด
อาการของโรคลมแดดเกิดขึ้นได้ในทันทีโดยที่ไม่มีสัญญาณเตือน และอาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปแต่ละบุคคล โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นถึง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป  
  • ร่างกายไม่ขับเหงื่อออกแม้จะมีอุณหภูมิในร่างกายสูง
  • ผิวหนังแดง เนื่องจากอุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูง
  • ผิวหนังของผู้ป่วยจะแห้งและร้อน แต่กรณีที่เป็นโรคลมแดดจากการออกกำลังกายผิวอาจมีความชื้นอยู่บ้าง
  • เป็นตะคริวหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หายใจถี่และตื้น
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการชัก
  • วิงเวียนศีรษะ มึนงง หน้ามืด หรือเป็นลมหมดสติ
  • มีสภาพจิตใจหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น สับสนมึนงง กระสับกระส่าย หงุดหงิด พูดไม่ชัด มีอาการเพ้อ หรือไม่สามารถทรงตัวได้

สาเหตุของโรคลมแดด

สาเหตุที่สำคัญของโรคลมแดด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงหรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นและไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้ตามปกติ เช่น เมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้นเป็นเวลา 2 หรือ 3 วันติดต่อกัน มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง
  • การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก เมื่อออกกำลังกายหรือทำกิจรรมที่ใช้กำลังมาก โดยเฉพาะเมื่อทำกิจกรรมในสถานที่ที่มีอากาศร้อนจัดมักเป็นเหตุทำให้เกิดโรคลมแดดได้ อย่างไรก็ตาม โรคลมแดดประเภทนี้อาจเกิดขึ้นได้แม้ไม่ได้อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อน

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคลมแดดในแต่ละประเภทข้างต้น ได้แก่

  • สวมใส่เสื้อผ้ามากชิ้นเกินไป เสื้อผ้าระบายความร้อนได้ไม่ดี และมีสีเข้ม
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกายขาดประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมิ
  • ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ ไม่มีน้ำทดแทนจากการเสียเหงื่อ

ไม่ว่าใครก็เป็นโรคลมแดดได้ แต่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากมีปัจจัยดังต่อไปนี้

  • เด็กเล็กและผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป เนื่องจากประสิทธิภาพในการรับมือกับอุณหภูมิของร่างกายขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของระบบประสาทส่วนกลางในร่างกาย ดังนั้น ผู้สูงอายุที่ระบบประสาทส่วนกลางเริ่มเสื่อมลง หรือเด็กเล็กที่ประสาทส่วนกลางยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงทำให้ประสิทธิภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในร่างกายน้อย นอกจากนั้น ทั้ง 2 กลุ่มอายุดังกล่าว ยังมีความเสี่ยงต่อภาวะร่างกายขาดน้ำได้ง่าย ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคลมแดดได้มากขึ้น
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับหัวใจและปอด
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น ผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ
  • ผู้ที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมากเป็นระยะเวลานาน เช่น ทหาร นักกีฬา หรือผู้ที่ใช้แรงในการทำงาน  
  • ผู้ที่ร่างกายขาดน้ำ อยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หรือสวมใส่เสื้อผ้าคับและระบายอากาศได้ไม่ดี
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาแก้แพ้ เบต้า บล็อกเกอร์ ยารักษาโรคทางจิต หรือยาเสพติด
  • การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น คลื่นความร้อน (Heat Wave) ในช่วงต้นฤดูร้อน หรือเดินทางไปยังภูมิประเทศที่มีอากาศร้อน
  • ไม่มีเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะในช่วงที่มีสภาพอากาศร้อนจัด สามารถใช้พัดลมช่วยได้แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องปรับอากาศจะมีประสิทธิภาพในการช่วยให้อุณหภูมิเย็นลงและลดความชื้นได้ดีกว่า

การรักษาโรคลมแดดการรักษาโรคลมแดดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งผู้ที่เกิดอาการต้องได้รับความช่วยเหลือในทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสมองและอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย ด้วยการทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงเป็นปกติโดยเร็ว

เบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล คนรอบข้างอาจช่วยเหลือผู้ป่วยได้โดยการนำตัวไปไว้ในที่ร่มหรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ ถอดหรือคลายเสื้อผ้าที่คับแน่นออก และประคบด้วยความเย็น

วิธีการรักษาเพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง ได้แก่

  • ให้ผู้ป่วยอาบน้ำเย็นหรือแช่ตัวลงไปในน้ำเย็น เป็นวิธีที่จะช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงได้อย่างรวดเร็ว
  • แพทย์บางท่านจะใช้เทคนิคการระเหย โดยใช้น้ำเย็นชโลมตามผิวหนังของผู้ป่วยและใช้พัดลมเป่าให้เกิดการระเหย ซึ่งเป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้ร่างกายเย็นลง
  • ใช้แพ็คน้ำแข็งประคบไปที่บริเวณรักแร้ ขาหนีบ คอและหลัง เพราะบริเวณดังกล่าวจะมีเส้นเลือดที่ใกล้กับชั้นผิวหนังอยู่จำนวนมาก วิธีนี้จะช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้เป็นอย่างดี
  • พยายามทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงมาที่ประมาณ 38.3-38.8 องศาเซลเซียส โดยคอยเฝ้าดูด้วยเทอร์มอมิเตอร์ ในขณะที่ยังคงใช้วิธีรักษาเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย
  • หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ควรให้ดื่มน้ำเย็นที่ไม่มีส่วนผสมของคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
  • วิธีการรักษาเพื่อทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหนาวสั่น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้น แต่ทำให้วิธีการรักษาโรคลมแดดมีประสิทธิภาพลดลง แพทย์จึงอาจให้ผู้ป่วยใช้ยาที่ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวลง เช่น ยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) เพื่อบรรเทาอาการหนาวสั่น
  • แพทย์อาจให้น้ำเกลือหรือเกลือแร่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำ

ภาวะแทรกซ้อนโรคลมแดดโรคลมแดดทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดอาการและหากได้รับการช่วยเหลือล่าช้า อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองหรืออวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ไตวายหรือหัวใจวาย และอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรได้ นอกจากนั้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีหรือรักษาได้ไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกันโรคลมแดด

การป้องกันโรคลมแดดทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • วิธีที่สำคัญที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดโรคลมแดด คือการหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายขาดน้ำและหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมาก โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีอากาศร้อนและชื้น แต่หากจำเป็นก็ควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • คอยดูการแจ้งเตือนการเกิดคลื่นความร้อน (Heat Wave) ในช่วงฤดูร้อน เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงหรือเตรียมตัวป้องกัน
  • หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้ง ต้องปกป้องตนเองจากแสงแดด ด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายระบายอากาศได้ดี สีอ่อน หรือสวมหมวกปีกกว้าง รวมไปถึงใช้ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดด (SPF) 15 ขึ้นไป
  • หลีกเลี่ยงออกไปกลางแจ้งในช่วงที่มีอากาศร้อน เวลาประมาณ 11.00-15.00 น. ของแต่ละวัน แต่หากจำเป็นให้พยายามอยู่ในที่ร่มและเตรียมอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดให้พร้อม
  • หากต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีอากาศร้อน ให้ระมัดระวังในช่วงวันแรก ๆ เพราะร่างกายกำลังปรับตัวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น สลัดและผลไม้
  • ใช้น้ำพรมตามผิวหนังและเสื้อผ้า หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ วางไว้ที่คอ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมการปัสสาวะของตนเอง หากไม่ค่อยถ่ายหรือปัสสาวะมีสีเข้ม แสดงว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ ควรดื่มน้ำให้มาก
  • จัดการสภาพแวดล้อมหรือที่พักอาศัยให้เย็นสบาย เช่น การปิดหน้าต่างหรือผ้าม่านบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด หรือหากต้องการนอนหลับพักผ่อน ควรไปอยู่ในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศหรือพัดลม นอกจากนั้น ควรปิดไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น เพราะเป็นแหล่งกำเนิดความร้อน และการปลูกต้นไม้และวางอ่างน้ำไว้บริเวณที่พักอาศัยจะช่วยให้อุณหภูมิเย็นลงได้
  • ระวังอย่าให้เด็ก ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ในรถที่จอดเอาไว้ โดยเฉพาะหากจอดเอาไว้กลางแดด เพราะภายใน 10 นาที อุณหภูมิในรถจะเพิ่มขึ้นมากว่า 6 องศาเซลเซียส ซึ่งมีอันตรายมาก
  • ควรเฝ้าระวังผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมแดดได้มาก
  • ผู้ที่ใช้ยาบางชนิดหรือเป็นโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาเมื่อต้องเจอกับอากาศร้อน ควรหลีกเลี่ยงอากาศร้อนและหากมีสัญญาณของอาการที่ผิดปกติ ควรรีบหาทางรักษาหรือทำให้ร่างกายเย็นลงโดยเร็ว และหากจำเป็นต้องทำกิจกรรมหรือแข่งกีฬาที่อยู่ในสภาพอากาศร้อนหรือกลางแจ้ง ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีบริการทางการแพทย์เตรียมพร้อมอยู่
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม ควรออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ พร้อมกับดื่มน้ำในปริมาณมาก
Posted in บทความLeave a Comment on เรียนรู้ ป้องกัน รักษาโรคลมแดด

ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา จากหมอนพพร

Posted on December 23, 2020January 5, 2021 by visaza_effects
ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา

ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา

 ยาเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งมีคุณสมบัติในการบำบัด รักษา บรรเทาอาการ หรือใช้ป้องกันโรค ซึ่งยาแต่ละชนิดก็มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน เช่น ยาทา ยาฉีด ยากิน เป็นต้น หากเราใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือใช้โดยไม่ระมัดระวัง อาจทำให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ ถ้าหากใช้ยาไม่ถูกขนาด อาจทำให้ไม่ได้ผลในการรักษา หรือ อาจทำให้เกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ และยังทำให้สุขภาพของผู้ใช้ทรุดโทรมอีกด้วย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา เราจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา ทั้งในเรื่องของการใช้ยาที่ถูกต้อง รู้จักวิธีการเก็บรักษายาไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว และรู้จักสังเกตว่ายานั้นเสื่อมสภาพหรือยัง

หลักการใช้ยา
ปัจจุบันพบว่าการใช้ยาของคนไทย ยังมีการใช้ที่ผิดๆ จะโดยการไม่ระมัดระวัง หรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ เกิดพิษเนื่องจากได้รับยาเกินขนาด หรือเกิดอาการแพ้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย เราจึงควรใช้ยาให้ถูกหลักการใช้ยา ดังนี้
         1. ใช้ให้ถูกโรค คือ ใช้ยาให้ตรงกับโรคที่เป็น ซึ่งจะเลือกใช้ยาตัวใดในการรักษานั้น ควรจะให้แพทย์ หรือเภสัชกรเป็นคนจัดให้ เราไม่ควรซื้อยาหรือใช้ยาตามคำบอกเล่าของคนอื่น หรือหลงเชื่อคำโฆษณา เพราะหากใช้ยาไม่ถูกกับโรคอาจทำให้ได้รับอันตรายจากยานั้นได้ หรือไม่ได้ผลในการรักษา และยังอาจเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ มีประชาชนส่วนหนึ่งชอบใช้ยาโดยไม่จำเป็นหรือไม่ถูกกับอาการเจ็บป่วย เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะทั้งที่โรคที่เป็นไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อเลย ซึ่งทำให้เชื้อโรค เกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ในภายหลัง การใช้วิตามินขนาดสูงเป็นประจำด้วยคิดว่าจะบำรุงร่างกาย ให้แข็งแรงโดยไม่ต้องรับประทานอาหารให้ถูกส่วนหรือออกกำลังให้พอเหมาะ
         2. ใช้ยาให้ถูกกับคน คือ ต้องดูให้ละเอียดก่อนใช้ว่า ยาชนิดใดใช้กับใคร เพศใด และ อายุเท่าใดเพราะอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของคนแต่ละเพศ แต่ละวัยมีความแตกต่างกัน เช่น เด็กจะมีอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อได้รับยาเด็กจะตอบสนองต่อยาเร็วกว่าผู้ใหญ่มาก และสตรีมีครรภ์ก็ต้องคำนึงถึงทารกในครรภ์ด้วย เพราะยาหลายชนิดสามารถผ่านจากแม่ไปสู่เด็กได้ทางรก อาจมีผลทำให้เด็กที่คลอดออกมาพิการได้ นอกจากนี้การใช้ยาในสตรีที่ให้นมบุตรต้องระมัดระวังเช่นกันเพราะยาอาจถูกขับทางน้ำนม ทำให้มีผลต่อทารกได้ เช่น ยาสตรี ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ดังกล่าวอาจมีผลต่อทารกที่ดูดนมแม่ได้ การใช้ยาในเด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีที่ให้นมบุตร จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ นอกจากนี้การใช้ยาในผู้สูงอายุก็ต้องระมัดระวังเช่นกับเพราะการทำลายยาโดยตับและไตของผู้สูงอายุอาจทำได้ช้ากว่าในคนหนุ่มสาว สำหรับผู้ที่เป็นโรคตับหรือโรคไต ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งก่อนที่จะได้รับยา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจ่ายยาให้เหมาะสม
         3. ใช้ยาให้ถูกเวลา คือ ช่วงเวลาในการรับประทานยาหรือการนำยาเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น หยอด เหน็บ ทา ฉีด เป็นต้น เพื่อให้ยาในกระแสเลือดมีปริมาณเหมาะสมในการบำบัดรักษา ไม่มากเกินไปจนเกิดพิษและไม่น้อยเกินไปจนไม่สามารถรักษาโรคได้

ซึ่งการใช้ยาให้ถูกเวลาควรปฏิบัติดังนี้
 การรับประทานยาก่อนอาหาร

ยาที่กำหนดให้รับประทานก่อนอาหาร ต้องรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ถึงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ยาถูกดูดซึมได้ดี ถ้าลืมกินยาในช่วงดังกล่าวก็ให้รับประทานเมื่ออาหารมื้อนั้นผ่านไปแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ยาถูกดูดซึมได้ดี ตัวอย่างยาที่จำเป็นต้องรับประทานก่อนอาหาร เช่น ยาเพนนิซิลิน (Penicillin) และเตตร้าซัยคลิน (Tetracycline) เป็นต้น
 การรับประทานยาหลังอาหาร

ยาที่กำหนดให้รับประทานหลังอาหาร โดยทั่วไป จะให้รับประทานยาหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วประมาณ 15 – 30 นาที
การรับประทานยาหลังอาหารทันที หรือพร้อมอาหาร

 ให้รับประทานยาทันทีหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว หรือจะรับประทานยาในระหว่างที่รับประทานอาหารก็ได้ เพราะยาประเภทนี้จะระคายเคืองต่อกระเพาะมาก หากรับประทานยาในช่วงที่ท้องว่าง อาจทำให้กระเพาะเป็นแผลได้ เช่น ยาแอสไพริน(Aspirin) และยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)เป็นต้น
การรับประทานยาก่อนนอน

ให้รับประทานยาก่อนเข้านอนตอนกลางคืนประมาณ 15-30 นาที เช่น ไดอะซีแพม (Diazepam)
การรับประทานยาเมื่อมีอาการ

 ให้รับประทานยาเมื่อมีอาการของโรค เช่น ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ และยาลดไข้ แก้ปวด ตัวอย่างเช่นยาพาราเซตามอล (Paracetamal)ใช้ลดไข้แก้ปวด ให้รับประทานทุก 4 หรือ 6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง การรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาดจะทำให้เป็นพิษต่อตับได้ และไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 5 วัน
          4. ใช้ยาให้ถูกขนาด คือการใช้ยารักษาโรคจะต้องไม่มากหรือน้อยเกินไป ควรรับประทานให้ถูกขนาดตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ จึงจะให้ผลดีในการรักษา เช่น ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ก็ควรรับประทานตามนี้ ไม่ควรรับประทาน 2 เม็ด หรือเพิ่มเป็นวันละ 4-5 ครั้ง เป็นต้น ซึ่งการใช้ยาในแต่ละคนก็แตกต่างกันโดยเฉพาะเด็ก จะมีขนาดการใช้ที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ ให้ใช้อุปกรณ์ มาตรฐานในการตวงยาให้เด็ก ในทารกต้องใช้ยาปริมาณน้อยๆ มักเป็นยาน้ำที่ใช้หลอดหยดที่มักให้มาพร้อมกับยา โดยจะต้องอ่านขนาดการใช้ยาที่ระบุบนฉลากให้ถี่ถ้วน หากเป็นเด็กเล็กให้ใช้อุปกรณ์มาตรฐานในการตวงยาให้เด็ก ไม่ใช้ช้อนทานข้าวหรือช้อนชงกาแฟ เพราะจะทำให้ได้ปริมาณยาที่ไม่ถูกต้อง สำหรับขนาดมาตรฐานในการตวงยาคือ 1 ช้อนชา เท่ากับ 5 มิลลิลิตร และ 1 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 15 มิลลิลิตร
           5. ใช้ยาให้ถูกวิธี เนื่องจากการจะนำยาเข้าสู่ร่างกายมีหลายวิธี เช่น การกิน การฉีด การทา การหยอด การเหน็บ เป็นต้น ซึ่งการจะใช้วิธีใดก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวยานั้นๆ ดังนั้นก่อนใช้ยาจึงจำเป็นต้องอ่านฉลากและศึกษาวิธีการใช้ให้ละเอียดทุกครั้ง เพื่อที่จะได้ใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
                 –  การใช้ยาที่ใช้ภายนอก ยาที่ใช้ภายนอกได้แก่ ขี้ผึ้ง ครีม ยาผง ยาเหน็บ ยาหยอด มีข้อดีคือยาจะมีผลเฉพาะบริเวณที่ให้ยาเท่านั้นและมีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย จึงไม่ค่อยมีผลอื่นต่อระบบในร่างกาย ข้อเสียคือ ใช้ได้ดีกับโรคที่เกิดบริเวณพื้นผิวร่างกายเท่านั้น และฤทธิ์ของยาอยู่ได้ไม่นาน โดยมีวิธีการใช้ดังนี้
ยาใช้ทา ให้ทาเพียงบาง ๆ เฉพาะบริเวณที่เป็นโรค หรือบริเวณที่มีอาการ ระวังอย่าให้ยาถูกน้ำล้างออกหรือถูกเสื้อผ้าเช็ดออก
ยาใช้ถูนวด ก็ให้ทาและถูบริเวณที่มีอาการเบา ๆ
ยาใช้โรย ก่อนที่จะโรยยาควรทำความสะอาดแผล และเช็ดบริเวณที่จะโรยให้แห้งเสียก่อน ไม่ควรโรยยาที่แผลสด หรือแผลมีน้ำเหลือง เพราะผงยาจะเกาะกันแข็งและปิดแผล อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคภายในแผลได้
ยาใช้หยอด จะมีทั้งยาหยอดตา หยอดหู หยอดจมูกหรือพ่นจมูก
         – ยาหยอดตา มีวิธีปฏิบัติดังนี้ ล้างมือให้สะอาด ดึงเปลือกตาล่างออกให้เป็นกระเปาะโดยนอนหรือเอียงศีรษะไปด้านหลัง มองขึ้นเพดาน แล้วหยอดยาลงในเปลือกตาล่างตามจำนวนที่กำหนดไว้ในฉลาก ระวังไม่ให้หลอดยาหยอดตาสัมผัสกับตาหรือปลายนิ้วมือ ปล่อยเปลือกตาล่าง พยายามอย่าปิดตา และกระพริบตาอย่างน้อย 30 วินาที แล้วกดที่หัวตาทั้ง 2 ข้างเบาๆ 1 นาที เพื่อป้องกันการไหล ของยาจากบริเวณที่ต้องการ กรณีหยอดยาทั้ง 2 ข้าง ควรหยอดตาข้างหนึ่งและเว้นอย่างน้อย 5 นาที แล้วจึงหยอดตาอีกข้างหนึ่ง ถ้าหากต้องหยอดยาตา 2 ชนิดขึ้นไปในคราวเดียวกัน ควรทิ้งระยะห่างประมาณ 10 นาที จึงหยอดยาชนิดต่อไป ยาหยอดตาเมื่อเปิดใช้แล้วให้เก็บในตู้เย็นที่ไม่ใช่ช่องน้ำแข็ง ยกเว้นยาหยอดตาบางชนิดเช่นยาหยอดตาซัลฟาเซตาไมด์ (Sulfacetamide) จะห้ามเก็บในตู้เย็น ยาหยอดตา เมื่อเปิดใช้แล้วจะเสื่อมคุณภาพไปตามวันเวลา จะมีฤทธิ์เต็มที่ภายใน 1 เดือนหลังจากที่เปิดใช้ครั้งแรกเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาหยอดตาหลังเปิดใช้แล้ว 1 เดือน แม้ว่ายาจะยังไม่หมดอายุตามที่ระบุไว้บนฉลากก็ตาม นอกจากนี้ไม่ควรใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่นเพราะอาจติดโรคกันได้ – ยาหยอดจมูก ถ้ามีน้ำมูกให้สั่งออกอย่างเบาๆ นั่งเงยหน้า หรือนอนหงายบนเตียง ใช้หมอนหนุนคอให้หงายหน้าออกเล็กน้อย สอดหลอดสำหรับหยดยา เข้าไปในส่วนบนของ รูจมูกเล็กน้อย ให้แตะชิดผนังด้านในข้างสันจมูก แล้วค่อยๆหยดยา ประมาณ 1-2 หยด ยกศีรษะให้ตรง ใช้นิ้วคลึงเบาๆที่จมูกเพื่อให้ยาแพร่กระจายทั่วถึง สำหรับยาพ่นจมูกก็มีวิธีคล้ายกัน แต่เมื่อสอดปลายท่อสำหรับพ่นยาเข้าในรูจมูก ให้ใช้นิ้วปิดรูจมูกอีกข้างไว้ จากนั้นปิดปาก แล้วหายใจเข้าแล้วกดยาพ่นเข้าไปในรูจมูก กลั้นลมหายใจไว้สักครู่ แล้วหายใจตามปกติ ไม่ควรหยอดจมูกหรือพ่นจมูกด้วยยานานเกิน 3 วัน และห้ามใช้ร่วมกับผู้อื่นเพราะอาจติดเชื้อกันได้
        – ยาหยอดหู วิธีใช้ให้ล้างมือให้สะอาด เขย่าขวดก่อนใช้ แล้วนอนหรือนั่งตะแคง เพื่อให้หูข้างที่จะหยอดยาหันขึ้นด้านบน หยอดยาลงในรูหูตามจำนวนหยดที่ระบุในฉลากยา หรือตามที่แพทย์สั่ง ระวังอย่าให้ปลายหลอดแตะถูกหู แล้วนอนหรือนั่งอยู่ในท่าเดิม ประมาณ 5 นาที ถ้ายาไหลออกจากหู ให้ใช้สำลีซับ ถ้ากรณีที่หูมีน้ำหนวก ก่อนใช้ยาหยอดหู ควรใช้สำลีพันปลายไม้เช็ดน้ำหนวกออกอย่างเบาๆ เมื่อเปิดใช้ยาหยอดหูแล้วไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 เดือน ห้ามใช้ยาหยอดหูร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจติดเชื้อกันได้
 ยาใช้เหน็บ ยาที่ใช้เหน็บทวารหนัก หรือช่องคลอดมักเป็นแท่ง คล้ายขี้ผึ้ง ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่ไม่ใช่ช่องแช่แข็ง เวลาใช้ให้แกะที่หุ้มออกแล้วจุ่มน้ำพอลื่นก่อนสอด ควรสอดให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้
ยาใช้ป้าย ยาที่ใช้สำหรับป้าย ถ้าเป็นขี้ผึ้งป้ายตา เมื่อป้ายแล้ว ให้ปิดเปลือกตาลง ใช้นิ้วสะอาดคลึงหนังตาเบา ๆ ถ้าเป็นยาป้ายลิ้น ให้ใช้สำลีชุบยาเช็ดบริเวณที่ต้องการ

การใช้ยาที่ใช้ภายใน ยาที่ใช้ภายในคือยาที่ใช้รับประทาน ได้แก่ ยาเม็ดยาผง ยาน้ำ การให้ยาโดยการรับประทานมีข้อดี คือ สะดวก ปลอดภัย และใช้ได้กับยาส่วนใหญ่ แต่มีข้อเสียคือ ยาจะต้องผ่านทางเดินอาหาร และดูดซึมผ่านผนังกระเพาะ และลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด จึงออกฤทธิ์ได้ช้าและปริมาณยาที่เข้าสู่กระแสเลือดอาจแตกต่างกันตามสภาพการดูดซึม โดยมีวิธีการใช้ดังนี้
 ยาเม็ด ที่ให้เคี้ยวก่อนรับประทาน ได้แก่ ยาลดกรดและยาขับลมชนิดเม็ดทั้งนี้เพื่อให้เม็ดยาแตกเป็นชิ้นเล็ก จะ ได้มีผิวสัมผัสกับกรดหรือฟองอากาศในกระเพาะอาหารได้มากขึ้น ยาที่ห้ามเคี้ยวให้กลืนลงไปเลย ได้แก่ ยาชนิดที่เคลือบน้ำตาล และชนิดที่เคลือบฟิล์มบาง ๆ จับดูจะรู้สึกลื่น ยาดังกล่าวเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์เนิ่นนาน ต้องการให้ยาเม็ดค่อยๆละลายทีละน้อย
ยาแคปซูล เป็นยาที่ห้ามเคี้ยวให้กลืนลงไปเลย มีทั้งชนิดอ่อน และชนิดแข็ง ซึ่งชนิดแข็งจะประกอบด้วยปลอก 2 ข้างสวมกัน ยาแคปซูลมีข้อดีคือรับประทานง่าย เพราะกลบรสและกลิ่นของยาได้ดี
ยาผง มีอยู่หลายชนิด และใช้แตกต่างกัน เช่น ตวงใส่ช้อนรับประทานแล้วดื่มน้ำตาม หรือชนิดตวงมาละลายน้ำก่อน และยาผงที่ต้องละลายน้ำในขวดให้ได้ปริมาตรที่กำหนดไว้ก่อนที่จะใช้รับประทาน เช่นยาปฏิชีวนะชนิดผงสำหรับเด็ก โดยน้ำที่นำมาผสมต้องเป็นน้ำดื่มที่ต้มสุกและทิ้งให้เย็น ต้องเก็บในตู้เย็นที่ไม่ใช่ช่องแช่แข็งและหากใช้ไม่หมดใน 7 วันหลังจากที่ผสมน้ำแล้วให้ทิ้งเสีย
ยาน้ำแขวนตะกอน (Suspension) เช่น ยาลดกรดต้องเขย่าขวดให้ผงยาที่ตกตะกอนกระจายเป็นเนื้อเดียวกัน จึงรินยารับประทาน ถ้าเขย่าแล้วตะกอนยังไม่กระจายตัว แสดงว่ายานั้นเสื่อมคุณภาพแล้ว
ยาน้ำใส เช่น ยาน้ำเชื่อม ต้องเขย่าขวดก่อนใช้ ถ้าเกิดผลึกขึ้น หรือเขย่าแล้วไม่ละลาย ไม่ควรนำมารับประทาน
ยาน้ำแขวนละออง (Emulsion) เช่น น้ำมันตับปลา ยาอาจจะแยกออกให้เห็นเป็นของเหลว 2 ชั้น เวลาจะใช้ให้เขย่าจนของเหลวเป็นชั้นเดียวกันก่อน จึงรินมารับประทาน ถ้าเขย่าแล้วยาไม่รวมตัวกันแสดงว่ายานั้นเสื่อมคุณภาพแล้ว

การเก็บรักษายา
เมื่อเราทราบถึงวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องแล้ว ก็ควรรู้ถึงวิธีการเก็บรักษาที่ถูกต้องด้วย เพื่อให้ยามีคุณภาพในการรักษา ไม่เสื่อมคุณภาพเร็ว โดยมีวิธีการเก็บรักษา ดังนี้
1. ตู้ยาควรตั้งอยู่ในที่ที่แสงแดดส่องไม่ถึง ควรตั้งให้พ้นจากมือเด็ก โดยอยู่ในระดับที่เด็กไม่สามารถหยิบถึง เพราะยาบางชนิดมีสีสวย เช่นยาบำรุงเลือดที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบซึ่งมีลักษณะเป็นยาเม็ดเคลือบน้ำตาลสีแดง ซึ่งเด็กอาจนึกว่าเป็นขนม แล้วนำมารับประทานจะก่อให้เกิดอันตรายได้
2.ไม่ตั้งตู้ยาในที่ชื้น ควรตั้งอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรเก็บยาให้ห่างจากห้องครัว ห้องน้ำ และต้นไม้
3. ควรจัดตู้ยาให้เป็นระเบียบ โดยแยก ยาใช้ภายนอก ยาใช้ภายใน และเวชภัณฑ์ เพื่อป้องกันอันตรายจากการหยิบยาผิด
ยาใช้ภายใน ให้ใส่ขวดสีชามีฝาปิดสนิท เขียนฉลากว่า “ยารับประทาน” โดยใช้ฉลากสีน้ำเงิน หรือตัวอักษรสีน้ำเงิน หรือสีดำ พร้อมกับระบุชื่อยา สรรพคุณ ขนาด และวิธีรับประทาน ติดไว้ให้เรียบร้อย ถ้าเป็นยาน้ำแขวนตะกอน ที่ฉลากจะต้องมี คำว่า “เขย่าขวดก่อนใช้ยา”
ยาใช้ภายนอก ให้ติดฉลากสีแดง มีข้อความว่า “ยาใช้ภายนอก ห้ามรับประทาน” ในฉลากต้องระบุชื่อยา สรรพคุณ ขนาดและวิธีใช้ให้เรียบร้อย
4. เก็บรักษายาไม่ให้ถูกแสงสว่าง เพราะยาบางชนิดหากถูกแสงแดด จะเสื่อมคุณภาพ จึงต้องเก็บในขวดทึบแสง มักเป็นขวดสีชา เช่น ยาหยอดตา ยาวิตามิน ยาปฏิชีวนะ และ ยาแอดรีนาลิน ที่สำคัญควรเก็บยาตามที่ฉลากกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด แต่ถ้าฉลากไม่ได้บ่งไว้ ก็เป็นที่เข้าใจว่า ให้เก็บในที่ซึ่งป้องกันความชื้นได้ดี ไม่เก็บยาในที่อุณหภูมิสูงเกินไป หรือไม่นำยาไปแช่แข็ง การเก็บรักษายาที่ถูกต้อง ย่อมได้ยาที่มีประสิทธิภาพ และยาก็ไม่เสื่อมคุณภาพเร็ว ซึ่งจะให้ผลในการรักษาเต็มที่

วิธีสังเกตยาเสื่อมคุณภาพ
ยาเสื่อมคุณภาพ เป็นยาที่เปลี่ยนสภาพไป ทำให้ไม่ให้ผลในการรักษาหรืออาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ การเปลี่ยนสภาพของยาอาจเปลี่ยนจากลักษณะภายนอก ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัด หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของตัวยา ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การเสื่อมสภาพของยาที่เราพบกันบ่อย ๆ เช่น
 ยาน้ำ จะมีการเปลี่ยนสี กลิ่น หรือมีตะกอนผิดไปจากเดิม รายละเอียดดังที่กล่าวมาแล้ว
 ยาหยอดตา จะมีลักษณะขุ่น หรือตกตะกอนของตัวยา เปลี่ยนสี
 ยาเม็ด จะมีลักษณะเยิ้มเม็ดแตก ชื้น บิ่น แตก เปลี่ยนสี
 ยาแคปซูล จะมีลักษณะแตกออกจากกัน บวม ชื้น หรือสีของยาที่อยู่ภายในแคปซูลเปลี่ยนไปหรือมีสีเข้มขึ้น
 ยาขี้ผึ้ง ยาครีม จะมีลักษณะเนื้อยาเยิ้มเหลว แยกชั้น กลิ่น สีเปลี่ยนไปจากเดิม
 สำหรับยาแผนปัจจุบันทุกชนิด กฎหมายกำหนดให้ระบุวันสิ้นอายุไว้ในฉลาก โดยผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้าในราชอาณาจักร ต้องแสดง วัน เดือน ปีที่ยาสิ้นอายุไว้ในฉลาก
 สำหรับยาแผนโบราณ หากเป็นยาแผนโบราณที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน ต้องระบุ วันสิ้นอายุของยาดังกล่าวด้วย โดยยาแผนโบราณที่เป็นยาสามัญประจำบ้านที่เป็นยาน้ำจะมีอายุการใช้ 2 ปีนับจากวันที่ผลิต หากอยู่ในรูปอื่นที่มิใช่ยาน้ำจะมีอายุการใช้ 3 ปีนับจากวันที่ผลิต ส่วนยาแผนโบราณที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน ฉลากยาจะต้องระบุวันที่ผลิต แต่จะกำหนด วันหมดอายุหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากยาแผนโบราณส่วนใหญ่ได้จากสมุนไพรมักมีการสลายตัวง่าย จึงควรเลือกที่ผลิตมาใหม่ๆ
ทั้งนี้ยาทุกชนิด หากการเก็บรักษายาไม่ถูกต้องอาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพก่อนวันที่กำหนดไว้ได้

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าการใช้ยาให้ถูกต้องนั้นไม่ยากเลย เพียงแต่ใช้ให้ถูกต้องโดยอ่านฉลากและเอกสารกำกับยาให้เข้าใจ และใช้ตามหลักการใช้ยาคือ ถูกกับโรคที่เป็น ถูกวิธี ถูกเวลา และถูกขนาด การใช้ยานั้นก็จะไม่เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ นอกจากการใช้ยาให้ถูกต้องแล้ว การเก็บรักษายาก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน คือต้องเก็บยาให้ถูกที่ ไม่ถูกแสงแดด และไม่เก็บยาในที่อุณหภูมิสูงเกินไปก็จะทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ยาที่ดีมีคุณภาพให้ผลเต็มที่ในการรักษาโรค ทั้งนี้การเลือกซื้อยาก็สำคัญไม่ซื้อยาตามคำชักชวนหรือโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณครอบจักรวาล การซื้อยาชุด ยาที่ไม่มีเลขทะเบียนตำรับยาซื้อยาจากสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้านขายของชำ รถเร่ขายยา แผงข้างทาง หรือตามวัดต่างๆ หากพบการขายยาที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว สามารถร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วนผู้บริโภคกับ อย. 1556 กด 0 หรือแจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด

ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัย, ความรู้เรื่องยา, บทความLeave a Comment on ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา จากหมอนพพร

ยาทรามาดอลใช้ผิดอาจถึงตาย

Posted on September 16, 2020September 16, 2020 by visaza_effects
ยาทรามาดอลใช้ผิดอาจถึงตาย

Tramadol ภัยร้ายที่คุณไม่รู้
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะพบข่าวปัญหายาเสพติดตามสื่อต่างๆ เป็นระยะๆ แม้จะมีกฎหมายออกมาควบคุม เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีบุคคลที่พยายามนำพืชหรือยาที่หาได้ง่ายตามท้องตลาดมาประยุกต์ใช้เพื่อเสพติด เช่น ใบกระท่อมนำมาผสมกับเครื่องดื่มหรือที่รู้จักในชื่อ “สี่คูณร้อย” และยาต่างๆ ได้แก่ ยานอนหลับ alprazolam ยารักษาภูมิแพ้ dimenhydramine ยาแก้ไอ codeine หรือแม้กระทั่งยาแก้ปวด tramadol ที่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้เพื่อเสพติด

ยาทรามาดอลใช้ผิดอาจถึงตาย

Tramadol เป็นยาในกลุ่มโอพิออยด์ (opioids) ออกฤทธิ์เหมือนมอร์ฟีน และสามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ทำให้ยาชนิดนี้ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดได้ง่าย โดยนำยา tramadol ผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เป็นต้น หลังจากดื่มเครื่องดื่มที่ผสมยา tramadol เข้าไปจะทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข (euphoria) จึงทำให้ผู้ใช้มีความต้องการใช้ทุกวัน และเมื่อใช้อย่างต่อเนื่องติดต่อกันจะทำให้มีความต้องการปริมาณยาที่เพิ่มมากขึ้น จนเกิดอาการติดยา(addiction) ซึ่งนำไปสู่อาการถอนยาได้ หากไม่ได้รับยาเข้าสู่ร่างกาย การติดยาดังกล่าวสามารถอธิบายได้ด้วยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของตัวยา คือ ออกฤทธิ์กระตุ้นมิวรีเซพเตอร์ (µ-receptor) ทำให้เกิดการปลดปล่อยสารสื่อประสาทโดพามีน (dopamine) ที่สมองมีผลทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข และการติดยา1,2

ในทางการแพทย์ Tramadol ใช้ระงับอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรงเช่นเดียวกับมอร์ฟีน (morphine) โดยออกฤทธิ์กระตุ้นที่มิว รีเซปเตอร์ แต่เนื่องจากยาชนิดนี้ระงับอาการปวดได้น้อยกว่ามอร์ฟีน 5-20 เท่า จึงทำให้ยาชนิดนี้ไม่จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้ tramadol ยังออกฤทธิ์ระงับปวดปลายประสาท โดยออกฤทธิ์ยับยั้งตัวเก็บกลับสารสื่อประสาท (transporter) ชนิดซีโรโธนิน(serotonin) และ นอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine) ที่บริเวณปลายประสาท ทำให้บริเวณปลายประสาทมีปริมาณสารสื่อประสาททั้งสองชนิดเพิ่มขึ้น จึงสามารถลดอาการปวดได้ ขนาดยาที่แนะนำสำหรับรักษาอาการปวด คือ 50-100 มิลลิกรัม รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมง โดยขนาดยาสูงสุดที่แนะนำต่อหนึ่งวัน คือ400 มิลลิกรัม3, 4

ยาทรามาดอลใช้ผิดอาจถึงตาย

ผลข้างเคียงของยา Tramadol พบได้ตั้งแต่ไม่รุนแรง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก มือสั่น ใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ มึนงง ง่วงซึม ประสาทหลอน จนถึงรุนแรงระดับนำไปสู่การเสียชีวิต เช่น ชักกดศูนย์การหายใจของร่ายกาย หรือซีโรโธนินซินโดรม (serotonin syndrome) ซึ่งจะมีอาการแสดงในหลายๆ ระบบของร่างกายพร้อมกัน เช่น กล้ามเนื้อเกร็งกระตุกร่วมกับความดันโลหิตสูงและประสาทหลอน ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้ โดยไม่รักษาจะนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด2
จะเห็นได้ว่าการนำยา tramadol มาใช้เสพติดเพื่อให้เกิดอาการเคลิ้มสุข เป็นอันตรายอย่างมากอาจถึงแก่ชีวิต เพราะฉะนั้นคงไม่คุ้มค่ากับการต้องแลกชีวิตเพียงเพื่อความสุขชั่วครู่ นอกจากทำลายสุขภาพแล้วการใช้ยานี้เพื่อการเสพติดอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ทั้งด้านครอบครัว สังคม และประเทศชาติตามมาอีกด้วย

Posted in บทความLeave a Comment on ยาทรามาดอลใช้ผิดอาจถึงตาย

ยาสมุนไพร

Posted on September 14, 2020September 14, 2020 by visaza_effects
ยาสมุนไพร
ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร คืออะไร

หมายถึง ยาที่ได้จาก ส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ ส่วนการนำมาใช้ อาจดัด แปลงรูป ลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่นนำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผง เป็นต้น สมุนไพรนอกจากนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก เช่นนำมาบริโภคเป็นอาหาร อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม ตลอดจนใช้ทำเครื่องสำอางอีกด้วย
การใช้สมุนไพรเป็นยาบำบัดโรคนั้น อาจใช้ในรูปยาสมุนไพรเดี่ยวๆ หรือใช้ในรูป ตำรับยาสมุนไพร ปัจจุบันตำรับยา สามัญประจำบ้านแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้ใช้รักษาโรคได้ มีทั้งหมด 28 ขนาน

สำหรับ สมุนไพรที่นิยมใช้เดี่ยวๆรักษาอาการของโรคที่พบบ่อยๆได้แก่

  • สมุนไพร แก้ไข้ ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด
  • สมุนไพรแก้ท้องเสีย กล้วยน้ำว้า ทับทิม ฝรั่งดิบ
  • สมุนไพรแก้ไอ มะแว้ง ขิง มะนาว
  • สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขมิ้นชัน แห้วหมู กระชาย
  • สมุนไพรช่วยให้นอนหลับ ขี้เหล็ก ดอกบัวหลวง หัวหอมใหญ่
  • สมุนไพรแก้เชื้อรา กระเทียมข่า ชุมเห็ดเทศ
  • สมุนไพรแก้เริม เสลดพังพอนตัวเมียและตัวผู้
ยาสมุนไพร
Posted in บทความLeave a Comment on ยาสมุนไพร

วิธีสังเกตุยาหมดอายุ

Posted on September 10, 2020September 10, 2020 by visaza_effects
วิธีสังเกตุยาหมดอายุ

วิธีสังเกตุยาหมดอายุ หลายคนซื้อยามาทานเองตามร้านขายยาต่างๆ หรืออาจจะเป็นวิตามิน อาหารเสริมที่สามารถซื้อได้ตามร้านทั่วไป แต่ก็มีหลายคนเช่นกันที่ซื้อโดยไม่ได้สังเกตวันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุ อย่างไรก็ตาม ลักษณะที่ผิดปกติของยาอาจบอกได้ว่า ยาที่อยู่ในมือของคุณหมดอายุแล้วหรือยัง ซึ่งยาแต่ละชนิดหากเก็บรักษาไม่ดีพอ อาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้เช่นกัน

วิธีสังเกตุยาหมดอายุ

1 ยาเม็ด ลักษณะแตกกร่อน กะเทาะ เปลี่ยนสีหรือสีซีด
2.ยาเม็ดเคลือบ ลักษณะเยิ้มเหนียว
3.ยาแคปซูล ลักษณะบวมโป่งพองหรือผงยาภายในจะจับกันเป็นก้อนเปลี่ยนสี
4.ยาน้ำเชื่อม ลักษณะขุ่น มีตะกอน เปลี่ยนสี มีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยว
5.ยาน้ำแขวนตะกอน ลักษณะตะกอนจับตัวเป็นก้อนแข็ง เขย่าแรงๆก็ไม่กระจาย
6.ยาน้ำอีมัลชั่น ลักษณะเขย่าแล้วไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน

Posted in บทความLeave a Comment on วิธีสังเกตุยาหมดอายุ

อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา

Posted on September 8, 2020September 8, 2020 by visaza_effects
อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา

อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา ได้แก่

  • การแพ้ยา หมายถึง การแพ้ยาก็เหมือนกับการแพ้อื่นๆ คือ ร่างกายจะต้องเคยได้รับยานั้นมาก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างสารแอนตี้บอดี้ Antibody ต่อ ยาหรือสารนั้นๆ เมื่อได้รับยานั้นอีก Antibody นั้นก็เริ่มแสดงบทบาท ทำให้เกิดการแพ้ ซึ่งมีระดับความรุนแรงได้แตกต่างกัน และด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน
    อาการที่ปรากฏมีตั้งแต่อาการทางผิวหนัง เป็นผื่นคัน ลมพิษ ผิวเกรียมไหม้ ปากไหม้ บวม หอบ หยุดหายใจ จนถึงตายได้ อาการจะปรากฏเฉพาะบางคน และเฉพาะบางชนิดของยาเท่านั้น ถ้ามีการแพ้ยาให้หยุดใช้ยาทันที และปรึกษา บุคลากรสาธารณสุข
การแพ้ยา
  • ผลข้างเคียงของยา คือ อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับคนไข้ เมื่อใช้ยาในขนาดที่รักษา โดยไม่ได้ทานยาเกิน
    ขนาด หรือผลร่วมกับการทานยาตัวอื่น เช่น ยาลดน้ำมูก มีฤทธิ์ไม่พึงประสงค์คือ ทำให้ง่วงนอนด้วย ดังนั้น ควรศึกษาอาการ
    ข้างเคียง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วย มีอุบัติเหตุจำนวนไม่น้อยที่ผู้ขับขี่ยวดยาน หรือผู้ทำงานที่เสี่ยงอันตราย
    ต้องประสบเนื่องจากรับประทานยาลดน้ำมูกนี้
  • การติดยา ซึ่งเมื่อขาดยา จะทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น หรือการเสพยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
    ก็จะก่อให้เกิดโรค ที่รุนแรงเพิ่มขึ้น
การติดยา

พิษของยาโดยตรงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่

  • พิษต่อตับ เช่น พาราเซตามอล
  • พิษต่อไต เช่น ซัลฟา
  • พิษต่อกระเพาะอาหาร เช่น แอสไพริน สเตียรอยด์ (เพรดนิโซโลนเด๊กช่าเมทาโซน)
  • พิษต่อหูภายใน เช่น กานามัยซิน สเตร็บโตมัยซิน
  • พิษต่อการสร้างเม็ดเลือด เช่น ไดพัยโรน คลอแรมเฟนิคอล เฟนิลบัวดาโซน
  • พิษต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ ยาเกือบทุกชนิด แม้กระทั่งวิตามินเกินขนาด ฯลฯ
การดื้อยา
  • การดื้อยา เป็นภาวะที่เชื้อโรคต่าง ๆ ที่เคยถูกทำลายด้วยยาชนิดหนึ่ง ๆ สามารถปรับตัวจนกระทั่งยานั้นไม่สามารถทำลาย ได้อีกต่อไป เชื้อโรคที่ดื้อยาแล้วจะสามารถถ่ายทอดคุณสมบัตินี้ไปยังเชื้อโรครุ่นต่อไป ทำให้การใช้ยาชนิดเดิมไม่สามารถใช้ทำลายหรือรักษาโรคได้ ดังนั้นจึงควรใช้ยาให้ครบตามขนาดของยาที่แพทย์กำหนดและไม่ควรซื้อยามาใช้เอง
Posted in บทความLeave a Comment on อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา

การเก็บรักษายา

Posted on September 6, 2020September 6, 2020 by visaza_effects
การเก็บรักษายา

การเก็บรักษายา

การเก็บรักษายา
  • ควรเก็บยาไว้ในตู้ต่างหากที่สูงเกินเด็กเล็กเอื้อมถึง ไม่ควรเก็บในตู้กับข้าวปะปนกับสารอาหารหรือสารเคมีอื่น ๆ
  • ควรแยกยาประเภทกินออกจากยาประเภทสูดดมและทาภายนอก
  • ไม่ให้ถูกความร้อนหรือแสงแดด การวางบนหลังตู้เย็นหรือโทรทัศน์ก็อาจถูกความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล่านี้ได้ โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น การเก็บไว้ในตู้เย็น (ห้ามใส่ตู้แช่แข็ง) อาจรักษาคุณภาพยา ได้นานขึ้นแต่ต้องแยกเก็บต่างหาก อย่างมิดชิด เพราะเด็กเล็กอาจเปิด ตู้ได้เองและเข้าใจเป็นขนม
  • ยาทุกชนิดต้องมีฉลากติดไว้อย่างชัดเจน ถ้าฉลากเลอะเลือนหรือฉีกขาดต้องรีบทำใหม่ ถ้าไม่แน่ใจควรทิ้งยา ไปเลย หรือปรึกษา เภสัชกร อย่าเดาเอาเอง
  • หมั่นตรวจดูวันหมดอายุของยาบนกล่องหรือฉลาก เมื่อหมออายุควรทิ้งทันที
  • ยาที่เปลี่ยนสีหรือลักษณะต่างจากเดิมควรทิ้งทันที เช่น สีขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง น้ำที่ใสเปลี่ยนเป็นขุ่นหรือ ตกตะกอน แม้จะยังไม่หมดอายุก็ตาม
  • อย่านำยาอื่นมาใส่ในภาชนะบรรจุของยาคนละชนิด เพราผู้อื่นจะเข้าใจผิด หรือในเวลา ฉุกเฉินตนเองก็อาจลืม
    และหยิบ ใช้ยาผิดได้อันตรายจากการใช้ยา

Posted in บทความLeave a Comment on การเก็บรักษายา

รูปแบบของยา

Posted on September 4, 2020September 4, 2020 by visaza_effects
รูปแบบของยา

รูปแบบของยา

ยาเม็ด (Tablets)

ยาเม็ด (Tablets)

มีทั้งชนิดเม็ดไม่เคลือบและชนิดเม็ดเคลือบ ยาเม็ดธรรมดาไม่ได้เคลือบ เป็นยาเม็ดที่อาจมีรูปรางกลม เหลี่ยม
หรือรูปร่างต่างๆ กัน มีขนาดต่างๆ กัน ผิวหน้าของเม็ดยาอาจเรียบหรือนูน ส่วนใหญ่เมื่อรับประทานต้องกลืนทั้งเม็ด
ห้ามเคี้ยว บางชนิดต้องเคี้ยวก่อนกลืน ส่วนมากเป็นยาจำพวก ยาลดกรดชนิดเม็ด ยาขับลมชนิดเม็ด เป็นต้น

ยาแคปซูล (Capsules)

ยาแคปซูล (Capsules)

ยาแคปซูลเป็นรูปแบบที่มีตัวยาเป็นของแข็งหรือของเหลวบรรจุอยู่ภายในเปลือกหุ้ม ซึ่งละลายได้เมื่อรับประทานเข้า
ไปในกระเพาะอาหาร รับประทานโดนกลืนทั้งแคปซูลพร้อมกับน้ำโดยไม่ต้องเคี้ยวยาหรือถอดปลอกแคปซูลออก ยกเว้น
กรณีให้ยาทางสายอาหาร เพราะตัวยาอาจมีผลระคายเคืองทางเดินอาหารและอาจมีผลต่อการดูดซึมของยา

ยาผง (Powders and Granules)

ยาผง (Powders and Granules)

ยาผงมีทั้งชนิดรับประทานและยาใช้ภายนอก ดังนี้
3.1ชนิดรับประทาน ยาผงชนิดรับประทาน ยาผงชนิดรับประทานโดยทั่วไปให้ละลายน้ำก่อนรับประทาน ไม่ควรเท
ใส่ปาก ในลักษณะผงแห้งแล้วดื่มน้ำตาม เพราะอาจเกิดการอุดตันในหลอดอาหารได้
3.2 ชนิดใช้ภายนอก ยาผงใช้ภายนอกมักใช้โรยที่ผิวหนังเพื่อลดอาการคันและช่วยให้รู้สึกเย็นสบายป้องกันการอับชื้น
ยาผงไม่ควรใช้โรยแผลที่มีน้ำเหลือง เพราะจะทำให้น้ำเหลืองเกาะกันเป็นก้อนแข็งระคายต่อแผล และทำให้แผล
หายช้า เนื่องจากการเจริญเติบโตของเชื้อโรคภายใต้แผ่นสะเก็ดแข็งนั้น เวลาใช้ยาผงต้องระวังอย่าให้ผงปลิวเข้า
ปาก จมูก หรือตา เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องล้างมือให้สะอาด

ยาน้ำ

ยาน้ำ

ยาน้ำ เหมาะสำหรับคนที่กลืนยาเม็ดไม่ได้ ดูดซึมและออกฤทธิ์เร็วกว่ายาเม็ดแต่สลายตัวเร็วกว่า ยาน้ำแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้
ยาน้ำใส (Solution) เป็นรูปสารละลายน้ำใส ไม่มีตะกอน ยาน้ำเชื่อม (Syrups) ยาจะเหนียวข้นและมีรสหวาน
ถ้ามีการตกผลึก แสดงว่ายาเสื่อมคุณภาพ
ยาทิงเจอร์ (Tinctutes) และยาอีลิเซอร์ (Elixirs) เป็นยาน้ำที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ 4-40%
ส่วนยาสปิริต (Spirits) เป็นยาน้ำที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ 60-90%
ยาน้ำแขวนตะกอน (Suspension) ยาน้ำแขวนตะกอนเมื่อตั้งทิ้งไว้ ตัวยาจะตกตะกอนลงที่ก้นขวด ก่อนใช้ต้องเขย่า
ขวดให้ตะกอนกระจายตัว เพื่อให้ตัวยากระจายทั่วขวดเพื่อให้ได้ขนาดยา แต่ละครั้ง เท่าๆ กัน
ยาน้ำแขวนละออง (Emulsion) ยาน้ำแขวนละอองจะเป็นยาน้ำผสมน้ำมันจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนใช้ต้อง
เขย่าแรงๆ ถ้าเกิดการแยกชั้ของไขมัน แสดงว่ายาเสื่อมคุณภาพแล้ว

ยาขี้ผึ้ง (Ointments) ครีม (Creams) และเจล (Gels)

ยาขี้ผึ้ง (Ointments) ครีม (Creams) และเจล (Gels)
  • ยาขี้ผึ้ง ลักษณะเป็นน้ำมัน สำหรับใช้ภายนอก ใช้ทาเฉพาะที่ จึงเก็บให้ห่างจากแสงแดด
  • ครีม เป็นยาแขวนละอองที่มีความข้นมาก ครีมจะเหลวกว่าขี้ผึ้ง เป็นยาใช้ภายนอกหรือใช้เฉพาะที่ ตัวยาละลายในน้ำ
    หรือน้ำมันใช้ทาได้ง่าย ล้างออกง่าย ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น
  • เจล เป็นยากึ่งแข็งกึ่งเหลว ตัวยาในเจลจะค่อยๆ ดูดซึม เป็นตัวยาทาเพื่อบรรเทาอาการอักเสบและปวดบวม

ยาเหน็บ (Suppositories)

ยาเหน็บ (Suppositories)

ยาเหน็บ (Suppositories) เป็นยาลักษณะกึ่งของแข็ง มีรูปร่าง ขนาดต่างๆ มีวิธีการใช้เฉพาะที่ โดยใช้สอดเข้า
ช่องต่างๆ ของร่างกาย เช่น ทวารหนัก ช่องคลอด เป็นต้น ส่วนใหญ่ต้องการให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่

ยาฉีด (Injection)

ยาฉีด (Injection)
syringe with vial

ยาฉีด (Injection) เป็นยาที่ประกอบด้วยตัวยาซึ่งละลายในน้ำกลั่นปราศจากเชื้อ สารละลายจะได้รับการปรับความเป็น
กรด-ด่าง เพื่อให้มีความ

Posted in บทความLeave a Comment on รูปแบบของยา

การใช้ยาให้ถูกเวลา

Posted on September 2, 2020September 2, 2020 by visaza_effects
การใช้ยาให้ถูกเวลา

การใช้ยานั้นต้องทราบว่ายานั้นควรรับประทานเมื่อใด และออกฤทธิ์อย่างไร เพราะถ้ารับประทานยาผิดเวลาที่กำหนดไป ยาอาจหมดฤทธิ์หรือไม่มีผลในการรักษา

  • ยาก่อนอาหาร ส่วนใหญ่เป็นยาที่มีคุณสมบัติถูกดูดซึมได้ดีในขณะท้องว่าง จึงต้องรับประทาน ก่อนอาหารประมาณ
    ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงชั่วโมง ถ้านำยาก่อนอาหารมา รับประทานหลังอาหารจะไม่ได้ผลในการรักษา เพราะตัวยาจะถูกดูดซึมเข้า
    สู่กระแสโลหิตได้ยาก
  • ยาหลังอาหาร ส่วนมากเป็นยาที่มีคุณสมบัติเป็นกรด ถ้านำมารับประทานก่อนอาหารจะไป เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้กัดกระเพาะได้ จึงต้องนำมารับ ประทานหลังอาหาร โดยรับประทาน หลังอาหารประมาณ 15-30 นาที
  • ยาก่อนนอน ส่วนมากเป็นยาที่มีคุณสมบัติกดประสาทหรือกล่อมประสาท เมื่อรับประทาน แล้วจะทำให้ง่วงนอน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ถ้าขับรถ หรือทำงานใกล้เครื่องจักรเครื่องยนต์ อาจเกิดอันตรายได้จึงให้รับประทาน ก่อนนอน ซึ่งยาจะไปออกฤทธิ์ในขณะที่กำลังนอนหลับ เช่น ยานอนหลับ เป็นต้น
Posted in บทความLeave a Comment on การใช้ยาให้ถูกเวลา

Posts navigation

Older posts
dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ