Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

Tag: ยาสามัญประจำบ้าน

ยาสามัญประจําบ้านแผนปัจจุบันที่ขายได้

Posted on January 28, 2020January 28, 2020 by visaza_effects
ยาสามัญประจําบ้านแผนปัจจุบันที่ขายได้

เวลาที่คุณรู้สึกป่วย ไม่สบาย มีไข้ เชื่อว่าคุณจะต้องเดินไปซื้อยาที่เซเว่นกันแน่ เพราะเมื่อเทียบกับร้านขายยาแล้ว เซเว่นนี่หละที่หาง่ายและใกล้ตัวเรามากที่สุด แต่เมื่อคุณป่วยหนัก แล้วจำเป็นต้องใช้ยาบางประเภทที่เจาะจงเป็นพิเศษ คุณกลับหาไม่ได้ในร้านสะดวกซื้อ เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมกัน สาเหตุที่เราไม่สามารถหาซื้อยาบางชนิดได้จากร้านเหล่านี้ ก็เพราะร้านพวกนี้วางจำหน่ายเฉพาะ “ยาแผนปัจจุบัน” อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นยาประเภทที่ไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาติก็ขายได้

ประเภทของยาที่ควรรู้
เนื่องจากตัวยาแต่ละชนิดมีความอันตรายหากใช้ไม่ระวัง จึงได้มีการจัดประเภทของยาขึ้นตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งมีการระบุเอาไว้ชัดเจนถึงประเภทยา และโทษของผู้ที่จำหน่ายยาโดยไม่มีใบอนุญาต

1.ยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาแผนปัจจุบันที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ยาสามัญประจำบ้าน” หมายความว่า สามารถนำมาใช้ หรือ ขายได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต อย่างเช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ไอ ซึ่งเป็นยาที่เราพบเห็นได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อนั่นเอง

2.ยาบรรจุเสร็จ เป็นยาแผงที่ขายตามร้านขายยา โดยต้องมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ หรือบุคลคากรที่มีความรู้ ผ่านการอบรมมาอย่างถูกต้อง เพื่อมีคุณสมบัติในการจ่ายยาเบื้องต้นได้อย่างปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น ยาแก้แพ้ (คลอร์เฟนิรามีน), ยาลดความดันโลหิต (ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์) หรือ ยาคุมกำเนิด

3.ยาอันตราย เป็นยาที่มีอันตรายหากใช้อย่างโดยไม่จำเป็น หรือไม่ระมัดระวัง บนตัวยามีระบุตัวหนังสือสีแดงว่า “ยาอันตราย” ชัดเจน สามารถวางขายได้ในร้านขายยา ที่มีเภสัชกรเป็นผู้ดูแลในการจ่ายยาเท่านั้น

4.ยาควบคุมพิเศษ เป็นยาอีกหนึ่งประเภทที่มีความอันตรายสูง จึงต้องถูกจำกัดการใช้อย่างเข้มงวด ยาชนิดนี้ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถเดินเข้าไปซื้อเหมือนกับยาชนิดอื่นได้ เช่น ยาต้านไวรัส ยากล่อมประสาท ยารักษามะเร็ง

ความผิดสำหรับผู้ที่จ่ายยาแผนปัจจุบัน นอกเหนือจากยาสามัญประจำบ้านนั้น ตามมาตรา 12 ห้ามผู้ใดผลิต นำเข้า หรือขาย ยาโดยไม่มีใบอนุญาต มีโทษตามมาตรา 101 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท สำหรับใครที่สงสัยว่าใบอนุญาติมีราคาแพงไหม จริงๆ แล้ว “ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน” มีอัตราค่าธรรมเนียมเพียง 3,000 บาท เท่านั้น แต่ถ้าเป็นการสั่งยาเข้ามาในประเทศไทย จะต้องใช้ “ใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร” ด้วยค่าธรรมเนียม 20,000 บาท เท่านี้ทุกคนก็คงจะหายข้องใจกันแล้ว ว่าทำไมเซเว่นถึงขายยาได้ แต่ไม่สามารถขายได้ทุกประเภท

Posted in บทความTagged ยา, ยาสามัญ, ยาสามัญประจำบ้านLeave a Comment on ยาสามัญประจําบ้านแผนปัจจุบันที่ขายได้

การใช้ยาสามัญประจำบ้าน

Posted on January 19, 2020January 19, 2020 by visaza_effects
การใช้ยาสามัญประจำบ้าน

การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยของแต่ละคน ย่อมมีข้อจำกัดในเรื่องของชนิดยา และขนาดของยาที่แตกต่างกัน

ดังนั้น เพื่อให้การใช้ยามีประสิทธิภาพ ผศ.พญ.สมฤดี ฉัตรสิริเจริญกุล ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีคำแนะนำมาบอกการใช้ยาถ้าเป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อย หรือยังไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ และจำเป็นต้องใช้ยาสามัญประจำบ้านที่มีอยู่ยิ่งจำเป็นต้องทราบวิธีใช้ และข้อควรระวัง

เพราะยาบางชนิดแม้จะมีประโยชน์ในการบรรเทาอาการเจ็บป่วย แต่ถ้าใช้ไม่ถูกก็จะเป็นอันตรายได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น พาราเซตามอล เป็นยาลดไข้แก้ปวดที่ใช้กันมากที่สุด มีความปลอดภัย ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร แต่ก็ไม่ควรใช้ยาเกิน 8 เม็ดต่อวัน และในเด็กให้ใช้ 10-15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว1 กิโลกรัม สิ่งสำคัญคือ ถ้าใช้ยาเกินขนาด เช่น มากกว่า 20 เม็ดต่อวัน จะเป็นพิษต่อตับ และทำให้ตับวาย อันตรายถึงชีวิตได้

ส่วน คลอร์เฟนิรามีน เป็นยาที่ใช้ลดน้ำมูกใสๆ และบรรเทาอาการแพ้ หรืออาการคัน ยานี้จะทำให้ง่วงนอน จึงไม่ควรใช้ถ้าต้องขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรกล เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และการใช้ยาอาจทำให้คอแห้ง ใจสั่น หรือมีเสมหะเหนียวข้น ขับออกยาก ผู้ที่ไอและมีเสมหะจึงไม่ควรรับประทานยาชนิดนี้ และ ยาที่นิยมใช้แก้ไอ ชนิดน้ำดำ ที่ถูกต้อง ควรรับประทานตามเวลาที่กำหนด คือวันละ 3-4 ครั้ง แต่ส่วนใหญ่มักใช้จิบเวลาไอ ซึ่งจะทำให้ได้รับทิงเจอร์ฝิ่นมากเกินไป เกิดอาการง่วง มึนงง คลื่นไส้ ท้องผูก และต้องระวัง หากนำไปใช้กับผู้ที่ไอและมีเสมหะเหนียว หรือไอจากหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ จะทำให้เสมหะเหนียวข้นมากขึ้นและ ไปอุดกั้นทางเดินหายใจทำให้หยุดหายใจได้เช่นกัน

สำหรับการรับประทานยาให้ได้ผล ถ้าเป็นยาก่อนอาหาร ให้รับประทานในช่วงท้องว่าง ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาถูกดูดซึมและออกฤทธิ์ได้เต็มที่ ส่วนยาหลังอาหาร โดยทั่วไปควรรับประทานหลังอาหาร ประมาณ 15-30 นาที ยกเว้นยาบางชนิดที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารทันที สำหรับยาก่อนนอน ควรรับประทานก่อนเข้านอนประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง จะช่วยให้ยาออกฤทธิ์ในช่วงกลางคืน

อย่างไรก็ตามเนื่องจากยามีหลากหลายชนิดและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นการใช้ยาควรเพิ่มความระมัดระวัง ใช้ยาให้ถูกโรค ถูกคน ถูกเวลา และถูกขนาด ตามที่แพทย์หรือเภสัชกรกำหนด และไม่ควรวิเคราะห์สาเหตุของโรคแทนผู้อื่น หรือนำยาที่ตนเองเคยใช้ไปให้ผู้อื่นรับประทาน ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายจากการใช้ยาโดยไม่รู้ตัว ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Posted in บทความTagged การใช้ยาสามัญประจำบ้าน, ยาสามัญ, ยาสามัญประจำบ้านLeave a Comment on การใช้ยาสามัญประจำบ้าน

ยาสามัญประจำบ้าน ที่ควรรู้จัก “ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ” 5

Posted on January 14, 2020January 14, 2020 by visaza_effects
ยาสามัญประจำบ้าน ที่ควรรู้จัก “ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ” 5

ยาธาตุน้ำแดง

ในสูตรตำรับ 15 มิลลิลิตร ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ

Sodium Bicarbonate 0.15-0.60 g.
Compound Rhubarb Tincture 0.50-2.00 ml.
และ/หรือ Tincture อื่นๆ ที่มีสรรพคุณทางยา ได้แก่
Compound Cardamom Tincture 0.01-1.00 ml.
Compound Gentian Tincture 0.18-1.10 ml.
Compound Tinospora Tincture 0.50 ml.
Weak Ginger Tincture 0.48-2.01 ml.
Strong Ginger Tincture 0.10-0.30 ml.
Nux Vomica Tincture 0.09-0.10 ml.
Ipecacuanha Tincture 0.18-0.30 ml.
และ/หรือ Volatile Substance อื่นๆ ที่มีสรรพคุณทางยาได้แก่
Peppermint Spirit 0.15-0.30 ml.
Peppermint Oil 0.03-0.20 ml.
Menthol 0.05-0.30 ml.
Concentrated Dill Water 0.10 ml.
Camphor 19.00 mg.

สรรพคุณ
บรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

ขนาดและวิธีใช้
เขย่าขวดก่อนใช้ยา
รับประทานก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ
เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 หรือ 1 ช้อนโต๊ะ

คำเตือน
1) ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคไต
2) ไม่ควรรับประทานเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ นอกจากแพทย์สั่ง
3) ยานี้มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

การเก็บรักษา
เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส และป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด

ขนาดบรรจุ
ขวดละ 180 มิลลิลิตร 240 มิลลิลิตร และ 450 มิลลิลิตร

Posted in บทความTagged การเก็บรักษา, ยาธาตุน้ำแดง, ยาสามัญประจำบ้าน, สรรพคุณLeave a Comment on ยาสามัญประจำบ้าน ที่ควรรู้จัก “ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ” 5

ยาสามัญประจำบ้าน ที่ทุกบ้านควรมี!

Posted on January 9, 2020January 9, 2020 by visaza_effects
ยาสามัญประจำบ้าน ที่ทุกบ้านควรมี!

สวัสดีค่ะ วันนี้ถือโอกาสมารีวิวยาสามัญที่หลายๆคนน่าจะมีติดบ้านกัน ที่มาของรีวิวนี้ก็เพราะเราต้องย้ายออกจากบ้านมาอยู่คอนโดที่อยู่ใกล้ที่ทำงานใหม่ พี่ชายที่เป็นเภสัชกรก็ทำตัวเป็นพี่ชายที่แสนดี ส่งลิสต์ยาที่จำเป็นให้ไปซื้อมาติดไว้ที่ห้อง เห็นครั้งแรกก็ตกใจมาก ถ้ามียาทั้งหมดนี้แล้วชีวิตเราจะเป็นอมตะ รึป่าวนะ ตอนแรกเข้าใจว่าอยากเป็นอมตะให้กินเด็กซะอีก 5555 เอาล่ะ ไหนๆก็ซื้อเยอะขนาดนี้ เราก็เลยคิดว่ามาแชร์ให้เพื่อนมาดูกันดีกว่าว่ามียาอะไรกันบ้าง เผื่อใครที่ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้จะได้ประโยชน์จากการอ่านกระทู้นี้บ้าง ^^
*** ขอย้ำว่าปริมาณการ บริโภค/ใช้ โปรดอ่านที่ข้างฉลากหรือปรึกษาแพทย์เภสัชก่อนนะ

1.ยาลดกรด มาเริ่มที่ตัวแรกใช้ของ Belcid เป็นยาสำหรับกิน สำหรับพวกโรคกระเพราะ แต่ปกติส่วนตัวจะได้ใช้ช่วงงานเยอะๆแล้วทานอาหารไม่เป็นเวลา จะเริ่มมีอาการท้องอืด + กรดไหลย้อน กินตัวนี้ไปก็ช่วยได้ค่ะ

2.ยาแก้ท้องอืด – ต่อกันที่ยาแก้ท้องอืด คิดว่าตัวนี้น่าจะใช้กันเยอะ ตัวยาจะเป็นเม็ด มีหลายรสชาติ กินง่ายมากๆๆๆ ชอบ เคี้ยวๆ กลืนน ไปเลยค่ะ หลังจากนั้นรอซักพักลมก็อาจจะออกมา ทั้งปากทั้งตรู๊ดเลยค่ะ

3.ยาแก้แพ้ – ใครเป็นภูมิแพ้ ขาดไม่ได้เลยจ้า วันไหนคันคอ คันหน้า คัดจมูก จัดไปเลย กินก่อนนอนก็จะดีตรงง่วงๆหลับสบาย

4.ยาพ่นจมูก – อันนี้พึ่งเคยลองใช้ เพราะร้านขายยาแนะนำมาปรากฏว่าเลิศมากๆ จนตอนนี้ต้องตั้งไว้ข้างเตียงเลยค่าาา เวลาที่คัดจมูก หายใจไม่ออก กลางดึก หยิบมาพ่นแปปเดียว หายใจคล่องทันที

5.ยาละลายเสมหะ – ตัวนี้ฉีกซองละลายน้ำทานได้เลยค่ะ ช่วยละลายเสมหะ ช่วยชีวิตมากเวลาป่วย

6.ยาแก้ท้องเสีย เกลือแร่ คาร์บอน – หมวดนี้ ตัวแรก ธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน ใช้มาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่ถ้าท้องเสีย กินแล้วก็เอาอยู่อยู่นะ ตัวที่สองคือคาร์บอน (ไว้ดูดสารพิษ) อันนี้บางทีถ้าท้องเสียก็ขี้เกียจทาน ฮาๆ ตัวสุดท้ายคือเกลือแร่ เราเข้าใจว่าถ้าท้องเสียเยอะๆ ร่างกายจะเสียเกลือแร่ ก็ต้องทานกลับเข้าไปทดแทน (ใครเคยเป็นหนักน่าจะเข้าใจดี ว่ามันเพลียแค่ไหน)

7.ยาระบาย – อันนี้ส่วนตัวไม่เคยใช้ แต่พี่สั่งให้ซื้อมาติดไว้ก็ ตามนั้นค่ะ คนอื่นใครเคยทดลองใช้แล้วเป็นยังไงก็มาแชร์กันให้ฟังหน่อยน้า อยากรู้ว่ากินไปแล้วของมันจะมาเร็วแค่ไหน ฮาๆๆ

8.ยาทาแก้ผดผื่น – เนื่องจากเป็นคนมีอาการภูมิแพ้ บางทีลมพิษขึ้น ก็ทาบรรเทาอาการกันไปได้ แต่อย่ากินเข้าไปล่ะ!

9.น้ำเกลือล้างแผล – ไว้ล้างทำความสะอาดแผล แต่จริงๆซื้อมากะจะลองไว้ล้างจมูกเพื่อลดอาการคัดจมูก แต่บอกตามตรงว่ายังไม่เคยใช้ ซื้อมาเพื่อความอุ่นใจค่ะ 55

10.ยาล้างตา – ส่วนใหญ่ใช้เวลามีฝุ่นเข้าตาแล้วเอาไม่ออก ไม่ควรขยี้นะ ข้างในจะมีฝาพลาสติกไว้ใส่ตัวยา แล้วเราก็เอาตาไปจุ่ม กระพริบซัก 2-3 ที ก็ดีขึ้น จริงๆอยากรู้เหมือนกันว่ามันมีประโยชน์อะไรมากกว่า ฝุ่นเข้าตารึปล่าว ใครรู้มาบอกกันหน่อยนะคะ

11.ยาใส่แผล – หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า ทิงเจอร์ เอ้ย เบตาดีน ตัวนี้รักมาก เพราะตอนเด็กซนแล้วล้มบ่อย ก่อนจะเป็นเบตาดีน เมื่อก่อนแม่ชอบใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน เพราะคิดว่า ถ้ามันแสบกว่าจะฆ่าเชื้อโรคได้ดีกว่า (กรีดร้องงง)

12.Alcohol – เหมาะกับเทศกาลหรือโอกาสพิเศษที่อยากจะฉลองกับเพื่อนๆ ผสมได้หลายอย่างไม่ว่าจะโซดา น้ำเปล่า หรือน้ำอัดลม… เอ๊ะ เดี๋ยว คนละแอลกอฮอล์ ละ! อันนี้แอลกอฮอล์ล้างแผลนะจ้ะ แบบเข้มๆ 70% เพราะงั้นอย่าได้คิดลองแดร๊กไปเด็ดขาด ประโยชน์ของมันก็คือ ไว้ล้างแผล ฆ่าเชื้อ นั่นแหละ

13.Para – อันนี้ถามจริงๆว่า มีใครยังไม่รู้บ้างคะว่ากินมันไปเพื่ออะไร หลายคนอาจจะรู้จักมันดีเกินไปด้วยซ้ำ เพราะเอะอะเป็นอะไรก็กินพารา จริงไม่ควรกินเกินวันละ 8 เม็ดนะจ้ะ เดี๋ยวตับจะพังเอา

14.Ponstan – เป็นยาแก้ปวดประจำเดือน หนุ่มๆควรจะรู้จักไว้นะคะ เพราะถ้าวันไหนผู้หญิงอย่างเราๆ ปวดประจำเดือนจนหงุดหงิดขึ้นมา พวกคุณจงไปหา ponstan มาให้เราโดยไว!

เอาล่ะ เรียกได้ว่า โชว์ยาสามัญประจำบ้าน กันยกตู้ยาเลยทีเดียว ยาทั้งหมดนี้เราคิดว่าควรจะมีติดบ้านไว้รักษาตัวเองจากอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ และหวังว่าทั้งหมดนี้คงจะมีประโยชน์กับคนอ่านบ้างนะคะ ใครมีอะไรอยากเสริมเพิ่มเติมก็คอมเม้นท์กันมาได้เลย ถือว่าแชร์ๆกันนะ ^^

Posted in บทความTagged ยาปฎิชีวนะ, ยาพาราเซตามอล, ยาล้างแผล, ยาสามัญประจำบ้านLeave a Comment on ยาสามัญประจำบ้าน ที่ทุกบ้านควรมี!

ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม

Posted on June 21, 2019November 25, 2020 by via1sideffects
ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม

ยาสามัญประจำบ้าน คือ ยาที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาเอาไว้ว่าเป็นยาที่เหมาะสม ที่ประชาชนควรซื้อมาไว้ประจำบ้านของตนเอง เพื่อใช้ในการดูแลตัวเองจากอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ยาสามัญประจำบ้านเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง หากได้รับการใช้งานที่ถูกต้องก็จะไม่เป็นอันตรายใดๆ นอกจากนี้ยาสามัญประจำบ้านยังเป็นยาที่มีราคาถูก ประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยา ห้าง ร้านขายของชำทั่วไป โดยยาสามัญประจำบ้านมีทั้งหมด 53 ชนิด นำมาใช้รักษาโรคสามัญได้ 16 กลุ่ม ดังนี้…

1. กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้

  • ยาเม็ดสำหรับบรรเทาปวด และลดไข้ แอสไพริน
  • ยาเม็ดและยาน้ำบรรเทาปวดลดไข้ พาราเซตามอล ยาเม็ดมีขนาด 500 มก. และขนาด 325 มก
  • พลาสเตอร์ช่วยบรรเทาปวด

2. กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก

  • ยาเม็ดแก้แพ้ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน

3. กลุ่มยาแก้ไอ ขับเสมหะ

  • ยาน้ำแก้ไอ ขับเสมหะสำหรับเด็ก
  • ยาแก้ไอน้ำดำ

4. กลุ่มยาดมหรือยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก

  • ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนียหอม
  • ยาดมแก้วิงเวียน และแก้คัดจมูก
  • ยาทาระเหย บรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขี้ผึ้ง

5. กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ

  • ยาแก้เมารถ เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท

6. กลุ่มยาสำหรับโรคปาก และลำคอ

  • ยากวาดคอ
  • ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเชี่ยนไวโอเลต
  • ยาแก้ปวดฟัน
  • ยาดมบรรเทาอาการระคายคอ

7. กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

  • ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง
  • ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามิ้นท์
  • ยาขับลม
  • ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต
  • ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงค์
  • ยาเม็ดลดกรดอะลูมินา – แมกนีเซีย
  • ยาน้ำลดกรดอะลูมินา-แมกนีเซียม

8. กลุ่มยาแก้ท้องเสีย

  • ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาลเกลือแร่

9. กลุ่มยาระบาย

  • ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารหนักสำหรับเด็ก
  • ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่
  • ยาระบายแมกนีเซีย
  • ยาระบายมะขามแขก
  • ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ ชนิดสวนทวาร

10. กลุ่มยาถ่ายพยาธิลำไส้

  • ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีเบนดาโซล ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม

11. กลุ่มยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย

  • ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง

12. กลุ่มยาสำหรับโรคตา

  • ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์
  • ยาล้างตา

13. กลุ่มยาสำหรับโรคผิวหนัง

  • ยารักษาหิดเหา เบนซิล เบนโซเอต
  • ยารักษาหิด ขึ้ผึ้งกำมะถัน
  • ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า
  • ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
  • ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์
  • ยารักษาเกลื้อน โซเดียมไทโอซัลเฟต

14. กลุ่มยารักษาแผลติดเชื้อไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

  • ยารักษาแผลน้ำร้อนลวกฟีนอล
  • ยารักษาแผลติดเชื้อซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน ครีม

15. กลุ่มยาใส่แผล ยาล้างแผล

  • ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน
  • ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล
  • ยาใส่แผลโพวิโดน ไอโอดีน
  • ยาไอโซโบรฟิล แอลกอฮอล์
  • ยาเอทธิล แอลกอฮอล์
  • น้ำเกลือล้างแผล

16. กลุ่มยาบำรุงร่างกาย

  • ยาเม็ดวิตามินบีรวม
  • ยาเม็ดวิตามินซี
  • ยาเม็ดบำรุงโลหิต เฟอร์รัส ซัลเฟต
  • ยาน้ำมันตับปลา ชนิดแคปซูล
  • ยาน้ำมันตับปลาชนิดน้ำ

Posted in ArticleTagged ยาสามัญประจำบ้าน
dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ