Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

Tag: ยาพาราเซตามอล

พาราเซตามอล กินมากไปเสี่ยงทำลายตับ

Posted on June 1, 2020June 1, 2020 by visaza_effects
พาราเซตามอล กินมากไปเสี่ยงทำลายตับ

“พาราเซตามอล” ยาสามัญประจำบ้านที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี หลายบ้านยังมีติดไว้เพื่อใช้ในการลดไข้และบรรเทาอาการปวดในชีวิตประจำวัน ถือเป็นยาที่เข้าถึงได้ง่ายและจัดเป็นยาที่ไม่อันตราย แต่ในขณะเดียวกัน หากมีการใช้ยาไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน จึงมีการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาพาราเซตามอลที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อเป็นการให้ความรู้ต่อทุกคน นำไปสู่การใช้ยาที่เกิดประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย

ทำความรู้จักกับยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอล เป็นยาบรรเทาอาการปวดระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และบางครั้งยังใช้ลดไข้ในเด็กและผู้ใหญ่ จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน และเป็นยาที่ไม่อันตราย

กลไกการออกฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอลออกฤทธิ์โดยการยับยั้งสารเคมีบางชนิดในสมองของมนุษย์ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด เช่น สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) และจะชักนำให้เกิดกลไกการลดอุณหภูมิหรือลดไข้ของร่างกายลง

การใช้ยาพาราเซตามอล

  • ในการกินยา 1 ครั้ง ใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
  • กินครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • ไม่ควรกินเกิน 8 เม็ดต่อวัน หรือ 4 กรัม/วัน
  • สามารถกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
  • ระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับบกพร่องหรือน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา
  • เป็นยารักษาตามอาการ หากไม่มีอาการปวดหรือไม่มีไข้ ไม่จำเป็นต้องกินยา
  • กรณีลืมกินยา สามารถกินได้ทันทีที่นึกขึ้นได้ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา

ปัญหาที่พบจากการใช้ยาพาราเซตามอล

ใช้ยาพร่ำเพรื่อ

การกินยาพาราเซตามอลพร่ำเพรื่อติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ตับทำงานบกพร่อง โดยเฉพาะการกินยาร่วมกับแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการตับอักเสบมากขึ้น

ใช้ยาเกินขนาด

การกินยาพาราเซตามอลต่อครั้ง ระบุว่าต้องกินยาขนาด 1-2 เม็ด ถ้าหากกินมากเกิน 2 เม็ด ต้องดูที่น้ำหนักตัวของผู้ป่วยว่าสัมพันธ์กับขนาดยา 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หรือไม่ ถ้าหากนำน้ำหนักตัวผู้ป่วยมาคำนวณแล้วเกินกว่า 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) แปลว่าใช้ยาเกินขนาด จะทำให้มีความเสี่ยงต่อตับเช่นเดียวกับการใช้ยาพร่ำเพรื่อ

ใช้ยาทั้งที่ไม่มีอาการ

พบว่าบางรายมีการใช้ยาทั้งที่ไม่มีอาการ เช่น การกินยาดักไว้ก่อน เพื่อป้องกันอาการไข้ ทั้งที่ยังไม่มีไข้เกิดขึ้น ถือเป็นการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล และไม่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษา ทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงจากยาได้

อาการของการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาด

อาการแสดงของการใช้ยาเกินขนาดจะแสดงใน 1-3 วัน มีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหงื่อออก เป็นระยะสั้น ๆ โดยจะเกิดภายใน 24 ชั่วโมง บางรายอาจไม่มีอาการ

ระยะที่ 2 หลังกินยาระหว่าง 24-48 ชั่วโมง ไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อเจาะเลือดจะพบว่าเอนไซม์ทรานซามิเนส (transaminase) เริ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่แสดงถึงการบาดเจ็บของตับ

ระยะที่ 3 หลังกินยาไปแล้ว 48 ชั่วโมง มีอาการตับอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารอีกครั้ง มีภาวะแทรกซ้อนเหมือนตับอักเสบทั่วไป หากรุนแรงอาจมีอาการสมองเสื่อมจากโรคตับ และเสียชีวิตได้หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที

ข้อห้าม/ข้อควรระวังในการใช้ยาพาราเซตามอล

  • หากมีภาวะการทำงานของตับผิดปกติ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ
  • ห้ามใช้ยากับคนที่แพ้ยาพาราเซตามอลเด็ดขาด อาการแพ้ยา ได้แก่ ผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ

การเก็บรักษายาพาราเซตามอล

  • เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
  • เก็บให้พ้นแสงแดดและความร้อน อย่าให้อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส
  • เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • อย่าเก็บยาในที่ชื้น เพราะจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ
Posted in บทความTagged ยาพาราเซตามอลLeave a Comment on พาราเซตามอล กินมากไปเสี่ยงทำลายตับ

ยาสามัญประจำบ้าน ที่ทุกบ้านควรมี!

Posted on January 9, 2020January 9, 2020 by visaza_effects
ยาสามัญประจำบ้าน ที่ทุกบ้านควรมี!

สวัสดีค่ะ วันนี้ถือโอกาสมารีวิวยาสามัญที่หลายๆคนน่าจะมีติดบ้านกัน ที่มาของรีวิวนี้ก็เพราะเราต้องย้ายออกจากบ้านมาอยู่คอนโดที่อยู่ใกล้ที่ทำงานใหม่ พี่ชายที่เป็นเภสัชกรก็ทำตัวเป็นพี่ชายที่แสนดี ส่งลิสต์ยาที่จำเป็นให้ไปซื้อมาติดไว้ที่ห้อง เห็นครั้งแรกก็ตกใจมาก ถ้ามียาทั้งหมดนี้แล้วชีวิตเราจะเป็นอมตะ รึป่าวนะ ตอนแรกเข้าใจว่าอยากเป็นอมตะให้กินเด็กซะอีก 5555 เอาล่ะ ไหนๆก็ซื้อเยอะขนาดนี้ เราก็เลยคิดว่ามาแชร์ให้เพื่อนมาดูกันดีกว่าว่ามียาอะไรกันบ้าง เผื่อใครที่ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้จะได้ประโยชน์จากการอ่านกระทู้นี้บ้าง ^^
*** ขอย้ำว่าปริมาณการ บริโภค/ใช้ โปรดอ่านที่ข้างฉลากหรือปรึกษาแพทย์เภสัชก่อนนะ

1.ยาลดกรด มาเริ่มที่ตัวแรกใช้ของ Belcid เป็นยาสำหรับกิน สำหรับพวกโรคกระเพราะ แต่ปกติส่วนตัวจะได้ใช้ช่วงงานเยอะๆแล้วทานอาหารไม่เป็นเวลา จะเริ่มมีอาการท้องอืด + กรดไหลย้อน กินตัวนี้ไปก็ช่วยได้ค่ะ

2.ยาแก้ท้องอืด – ต่อกันที่ยาแก้ท้องอืด คิดว่าตัวนี้น่าจะใช้กันเยอะ ตัวยาจะเป็นเม็ด มีหลายรสชาติ กินง่ายมากๆๆๆ ชอบ เคี้ยวๆ กลืนน ไปเลยค่ะ หลังจากนั้นรอซักพักลมก็อาจจะออกมา ทั้งปากทั้งตรู๊ดเลยค่ะ

3.ยาแก้แพ้ – ใครเป็นภูมิแพ้ ขาดไม่ได้เลยจ้า วันไหนคันคอ คันหน้า คัดจมูก จัดไปเลย กินก่อนนอนก็จะดีตรงง่วงๆหลับสบาย

4.ยาพ่นจมูก – อันนี้พึ่งเคยลองใช้ เพราะร้านขายยาแนะนำมาปรากฏว่าเลิศมากๆ จนตอนนี้ต้องตั้งไว้ข้างเตียงเลยค่าาา เวลาที่คัดจมูก หายใจไม่ออก กลางดึก หยิบมาพ่นแปปเดียว หายใจคล่องทันที

5.ยาละลายเสมหะ – ตัวนี้ฉีกซองละลายน้ำทานได้เลยค่ะ ช่วยละลายเสมหะ ช่วยชีวิตมากเวลาป่วย

6.ยาแก้ท้องเสีย เกลือแร่ คาร์บอน – หมวดนี้ ตัวแรก ธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน ใช้มาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่ถ้าท้องเสีย กินแล้วก็เอาอยู่อยู่นะ ตัวที่สองคือคาร์บอน (ไว้ดูดสารพิษ) อันนี้บางทีถ้าท้องเสียก็ขี้เกียจทาน ฮาๆ ตัวสุดท้ายคือเกลือแร่ เราเข้าใจว่าถ้าท้องเสียเยอะๆ ร่างกายจะเสียเกลือแร่ ก็ต้องทานกลับเข้าไปทดแทน (ใครเคยเป็นหนักน่าจะเข้าใจดี ว่ามันเพลียแค่ไหน)

7.ยาระบาย – อันนี้ส่วนตัวไม่เคยใช้ แต่พี่สั่งให้ซื้อมาติดไว้ก็ ตามนั้นค่ะ คนอื่นใครเคยทดลองใช้แล้วเป็นยังไงก็มาแชร์กันให้ฟังหน่อยน้า อยากรู้ว่ากินไปแล้วของมันจะมาเร็วแค่ไหน ฮาๆๆ

8.ยาทาแก้ผดผื่น – เนื่องจากเป็นคนมีอาการภูมิแพ้ บางทีลมพิษขึ้น ก็ทาบรรเทาอาการกันไปได้ แต่อย่ากินเข้าไปล่ะ!

9.น้ำเกลือล้างแผล – ไว้ล้างทำความสะอาดแผล แต่จริงๆซื้อมากะจะลองไว้ล้างจมูกเพื่อลดอาการคัดจมูก แต่บอกตามตรงว่ายังไม่เคยใช้ ซื้อมาเพื่อความอุ่นใจค่ะ 55

10.ยาล้างตา – ส่วนใหญ่ใช้เวลามีฝุ่นเข้าตาแล้วเอาไม่ออก ไม่ควรขยี้นะ ข้างในจะมีฝาพลาสติกไว้ใส่ตัวยา แล้วเราก็เอาตาไปจุ่ม กระพริบซัก 2-3 ที ก็ดีขึ้น จริงๆอยากรู้เหมือนกันว่ามันมีประโยชน์อะไรมากกว่า ฝุ่นเข้าตารึปล่าว ใครรู้มาบอกกันหน่อยนะคะ

11.ยาใส่แผล – หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า ทิงเจอร์ เอ้ย เบตาดีน ตัวนี้รักมาก เพราะตอนเด็กซนแล้วล้มบ่อย ก่อนจะเป็นเบตาดีน เมื่อก่อนแม่ชอบใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน เพราะคิดว่า ถ้ามันแสบกว่าจะฆ่าเชื้อโรคได้ดีกว่า (กรีดร้องงง)

12.Alcohol – เหมาะกับเทศกาลหรือโอกาสพิเศษที่อยากจะฉลองกับเพื่อนๆ ผสมได้หลายอย่างไม่ว่าจะโซดา น้ำเปล่า หรือน้ำอัดลม… เอ๊ะ เดี๋ยว คนละแอลกอฮอล์ ละ! อันนี้แอลกอฮอล์ล้างแผลนะจ้ะ แบบเข้มๆ 70% เพราะงั้นอย่าได้คิดลองแดร๊กไปเด็ดขาด ประโยชน์ของมันก็คือ ไว้ล้างแผล ฆ่าเชื้อ นั่นแหละ

13.Para – อันนี้ถามจริงๆว่า มีใครยังไม่รู้บ้างคะว่ากินมันไปเพื่ออะไร หลายคนอาจจะรู้จักมันดีเกินไปด้วยซ้ำ เพราะเอะอะเป็นอะไรก็กินพารา จริงไม่ควรกินเกินวันละ 8 เม็ดนะจ้ะ เดี๋ยวตับจะพังเอา

14.Ponstan – เป็นยาแก้ปวดประจำเดือน หนุ่มๆควรจะรู้จักไว้นะคะ เพราะถ้าวันไหนผู้หญิงอย่างเราๆ ปวดประจำเดือนจนหงุดหงิดขึ้นมา พวกคุณจงไปหา ponstan มาให้เราโดยไว!

เอาล่ะ เรียกได้ว่า โชว์ยาสามัญประจำบ้าน กันยกตู้ยาเลยทีเดียว ยาทั้งหมดนี้เราคิดว่าควรจะมีติดบ้านไว้รักษาตัวเองจากอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ และหวังว่าทั้งหมดนี้คงจะมีประโยชน์กับคนอ่านบ้างนะคะ ใครมีอะไรอยากเสริมเพิ่มเติมก็คอมเม้นท์กันมาได้เลย ถือว่าแชร์ๆกันนะ ^^

Posted in บทความTagged ยาปฎิชีวนะ, ยาพาราเซตามอล, ยาล้างแผล, ยาสามัญประจำบ้านLeave a Comment on ยาสามัญประจำบ้าน ที่ทุกบ้านควรมี!

วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ

Posted on June 22, 2019November 25, 2020 by via1sideffects
วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ

วิธีการใช้ยาพาราเซตามอล

ยาเม็ดและยาน้ำบรรเทาปวดลดไข้ พาราเซตามอล ยาเม็ดมีขนาด 500 มก. และขนาด 325 มก

แม้จะเป็นยาที่ซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป แต่ท่านต้องอ่านฉลากยาก่อนทุกครั้งและกินยาตามที่ฉลากแนะนำ หรือตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น

ปริมาณที่ท่านสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยนั้น ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก อายุและชนิดของยาพาราเซตามอลที่ท่านใช้ เช่น ในผู้ใหญ่สามารถใช้ได้ในขนาด 500 มก. ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชม. แต่ไม่ควรใช้เกินวันละ 4 ก. หรือ 8 เม็ด  ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 16 ปีจำเป็นต้องลดขนาดการใช้ลง ขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนัก โดยสามารถอ่านได้ที่ฉลากยาของผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือสอบถามเภสัชกร

ยาพาราเซตามอลควรออกฤทธิ์หลังจากใช้ภายใน 1 ชม. และจะออกฤทธิ์ยาว 3-4 ชม. และไม่ควรใช้ยาเกินขนาดที่แนะนำ ควรปรึกษาแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น หลังจากกินยามากกว่า 3 วัน

ผลข้างเคียงของการใช้ยาพาราเซตามอล

  • อาการแพ้ยา โดยอาจมีอาการ ผื่นแดง บวมแดง ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นแรงได้
  • โรคเลือด เช่น เกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) และ เม็ดเลือดขาวต่ำ (leukopenia)
  • ทำลายตับและไต หากใช้ยาเกินขนาด หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้

ชนิดของยาพาราเซตามอล

ท่านสามารถซื้อยาพาราเกือบทุกชนิดได้จากร้านสะดวกซื้อทั่วไป หรือ ร้านยา โดยยาพาราเซตามอลมีทั้ง ชนิดเม็ด แคปซูล แบบน้ำ (สำหรับเด็ก) แบบฉีด (ใช้ในโรงพยาบาล) และบางชนิดเป็นยาชนิดผสมที่มีตัวยามากกว่า 1 ชนิดอยู่ในเม็ด เช่น ยาลดอาการหวัด เป็นต้นโฆษณาจาก HonestDocs

ยาพาราเซตามอลเหมาะกับใคร

คนส่วนใหญ่สามารถใช้ยาพาราเซตามอลได้อย่างปลอดภัย แม้แต่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็กอายุมากกว่า 2 เดือน

ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา ถ้าหากท่านมีปัญหา ดังนี้

  • เป็นโรคตับ หรือ ไต
  • ดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นเวลานาน
  • น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อย่างมาก
  • มียาที่ต้องใช้ประจำตัว
  • มีประวัติแพ้ยาพาราเซตามอล

พลาสเตอร์ช่วยบรรเทาปวด

วิธีใช้

  1. ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่เป็น
  2. เช็ดผิวให้แห้ง
  3. ลอกแผ่นพลาสเตอร์ ออกจากกระดาษและปิดทับบริเวณที่เป็น
  4. ไม่ควรใช้เกินวันละ 3-4 ครั้ง และไม่ควรใช้ปิดต่อเนื่องเกินกว่า 8 ชั่วโมง

ข้อห้าม

  • ห้ามใช้บริเวณที่มีแผล หรือผิวหนังถูกทำลาย
  • ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยาแอสไพริน หรือซาลิโลแลต
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา บริเวณเนื้อเยื่ออ่อน หรือ ผื่น
  • ไม่ควรใช้ร่วมกับแผ่นประคบร้อน

เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการ

  • การปวดล้าของกล้ามเนื้อ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ไหล่แข็งตึง
  • ปวดหลัง
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดฟัน
  • อาการเคล็ด
  • อาการฟกช้ำ
  • อาการแข็งตึง
  • ปวดข้อ

Posted in ArticleTagged ปวดหลัง, ปวดหัว, ยาพาราเซตามอล
dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ