วิธีการใช้ยาพาราเซตามอล
ยาเม็ดและยาน้ำบรรเทาปวดลดไข้ พาราเซตามอล ยาเม็ดมีขนาด 500 มก. และขนาด 325 มก
แม้จะเป็นยาที่ซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป แต่ท่านต้องอ่านฉลากยาก่อนทุกครั้งและกินยาตามที่ฉลากแนะนำ หรือตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
ปริมาณที่ท่านสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยนั้น ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก อายุและชนิดของยาพาราเซตามอลที่ท่านใช้ เช่น ในผู้ใหญ่สามารถใช้ได้ในขนาด 500 มก. ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชม. แต่ไม่ควรใช้เกินวันละ 4 ก. หรือ 8 เม็ด ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 16 ปีจำเป็นต้องลดขนาดการใช้ลง ขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนัก โดยสามารถอ่านได้ที่ฉลากยาของผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือสอบถามเภสัชกร
ยาพาราเซตามอลควรออกฤทธิ์หลังจากใช้ภายใน 1 ชม. และจะออกฤทธิ์ยาว 3-4 ชม. และไม่ควรใช้ยาเกินขนาดที่แนะนำ ควรปรึกษาแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น หลังจากกินยามากกว่า 3 วัน
ผลข้างเคียงของการใช้ยาพาราเซตามอล
- อาการแพ้ยา โดยอาจมีอาการ ผื่นแดง บวมแดง ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นแรงได้
- โรคเลือด เช่น เกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) และ เม็ดเลือดขาวต่ำ (leukopenia)
- ทำลายตับและไต หากใช้ยาเกินขนาด หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้
ชนิดของยาพาราเซตามอล
ท่านสามารถซื้อยาพาราเกือบทุกชนิดได้จากร้านสะดวกซื้อทั่วไป หรือ ร้านยา โดยยาพาราเซตามอลมีทั้ง ชนิดเม็ด แคปซูล แบบน้ำ (สำหรับเด็ก) แบบฉีด (ใช้ในโรงพยาบาล) และบางชนิดเป็นยาชนิดผสมที่มีตัวยามากกว่า 1 ชนิดอยู่ในเม็ด เช่น ยาลดอาการหวัด เป็นต้นโฆษณาจาก HonestDocs
ยาพาราเซตามอลเหมาะกับใคร
คนส่วนใหญ่สามารถใช้ยาพาราเซตามอลได้อย่างปลอดภัย แม้แต่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็กอายุมากกว่า 2 เดือน
ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา ถ้าหากท่านมีปัญหา ดังนี้
- เป็นโรคตับ หรือ ไต
- ดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นเวลานาน
- น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อย่างมาก
- มียาที่ต้องใช้ประจำตัว
- มีประวัติแพ้ยาพาราเซตามอล

พลาสเตอร์ช่วยบรรเทาปวด
วิธีใช้
- ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่เป็น
- เช็ดผิวให้แห้ง
- ลอกแผ่นพลาสเตอร์ ออกจากกระดาษและปิดทับบริเวณที่เป็น
- ไม่ควรใช้เกินวันละ 3-4 ครั้ง และไม่ควรใช้ปิดต่อเนื่องเกินกว่า 8 ชั่วโมง
ข้อห้าม
- ห้ามใช้บริเวณที่มีแผล หรือผิวหนังถูกทำลาย
- ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยาแอสไพริน หรือซาลิโลแลต
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา บริเวณเนื้อเยื่ออ่อน หรือ ผื่น
- ไม่ควรใช้ร่วมกับแผ่นประคบร้อน

เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการ
- การปวดล้าของกล้ามเนื้อ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ไหล่แข็งตึง
- ปวดหลัง
- ปวดศีรษะ
- ปวดฟัน
- อาการเคล็ด
- อาการฟกช้ำ
- อาการแข็งตึง
- ปวดข้อ