Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

Tag: น้ำมูกไหล

วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล

Posted on June 22, 2019November 25, 2020 by via1sideffects
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล

ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีน (Histamine) มี 2 กลุ่ม  กลุ่มแรก หรือกลุ่มดั้งเดิมมีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม อยากนอน และ กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม   ยาแก้แพ้ที่เราคุ้นเคยกันดีกับการใช้บรรเทาอาการหวัด ลดน้ำมูก ลดอาการคัน คงหนีไม่พ้นยาเม็ดกลมๆ เล็กๆ สีเหลืองบ้าง สีขาวบ้าง  ที่มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า  “คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)”  หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า ซีพีเอ็ม (CPM) หรือ คลอร์เฟน นั่นเอง   

เหตุที่ได้รับความนิยมก็ด้วยมีราคาถูก มีความปลอดภัยสูง มีโอกาสแพ้ยา หรือเกิดผลข้างเคียงน้อย และหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป  อย่างไรก็ดี  หากอยู่ระหว่างตั้งครรภ์แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยาทุกชนิด  อีกทั้งมีรายงานว่า คลอร์เฟนิรามีนอาจไม่เหมาะกับหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมมุตรเพราะตัวยาสามารถขับออกได้ทางน้ำนม  

นอกจากยาคอลอร์เฟนิรามีนชนิดเม็ดที่เรารู้จักกันดีแล้ว ยังมีชนิดน้ำเชื่อมและชนิดฉีดด้วย ซึ่งแต่ละชนิดก็มีข้อบ่งใข้แตกต่างกันไป

  • ยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อม  เหมาะสำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 4 ปีลงไป แต่ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 สัปดาห์เพราะจะทำให้เสมหะของเด็กเหนียวขับออกยาก
  • ยาแก้แพ้ชนิดเม็ด          จะเป็นชนิดที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเมื่อเราเป็นหวัด มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หรืออาจเกิดอาการแพ้อาหารทะเล มีผื่นคันขึ้นตามตัวคงต้องรับประทานยาแก้แพ้แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่อย่างนั้นคงต้องทนทุกข์กับความทรมานของอาการที่เกิดจากการแพ้

วิธีการกินยาแก้แพ้ที่ถูกต้อง

  1. ควรรับประทานยาแก้แพ้ วันละ 2-4 ครั้ง หรืออย่างน้อยหลังจากรับประทานยาแก้แพ้ครั้งแรกต้องรอให้ผ่านไปอีกประมาณ 6 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย จึงจะเริ่มรับประทานยาแก้แพ้ครั้งต่อไป
  2. ห้ามรับประทานยาแก้แพ้ร่วมกันกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาจำพวกระงับประสาทเด็ดขาด เพราะจะทำให้เพิ่มความง่วงนอนอย่างมาก
  3. การใช้ยาแก้แพ้เพื่อให้นอนหลับ แม้อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการคันจนนอนไม่หลับ  ผู้ป่วยบางโรคที่ต้องการพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูร่างกาย เช่น โรคหวัด  ภูมิแพ้  แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้เป็นยานอนหลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ นำไปสู่แก้ไขอย่างถูกต้อง 
  4. หากรับประทานยาแก้แพ้เข้าไปแล้วแต่กลับมีอาการไอเพิ่มขึ้นมาก ควรหยุดรับประทานทันทีเพราะยาแก้แพ้จะทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นมากกว่าเดิม
  5. ปริมาณการรับประทานยาแก้แพ้ชนิดเม็ด 
  • ในวัยผู้ใหญ่และเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป ควรรับประทานยาครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-4 ครั้ง   หรือทุก 4-6 ชั่วโมง   
  • เด็กที่มีอายุ 7-12 ปีควรกินครั้งละครึ่งเม็ด เด็กที่มีอายุ 4-7 ปี ควรกินครั้งละ 1 ใน 4 ของเม็ด 
  • ส่วนเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี ต้องรับประทานยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อมเท่านั้นเพราะว่าถ้าหากเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี รับประทานยาแก้แพ้เกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการชักรุนแรงขึ้นได

ปริมาณการกินยาแก้แพ้ชนิดน้ำเชื่อม 

  • เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี กินครั้งละครึ่งช้อนชา โดยต้องไม่มากไปกว่าวันละ 2 ครั้งต่อวัน
  • เด็กอายุ 1-4 ปี กินครั้งละครึ่งช้อนชา โดยต้องไม่มากไปกว่าวันละ 3-4 ครั้งต่อวัน 
  • สำหรับเด็กอายุ 4-7 ปี รับประทานครั้งละครึ่งถึงหนึ่งช้อนชา  วันละ 2-4 ครั้ง  

 6. การกินยาแก้แพ้ ห้ามเคี้ยว หรือบดตัวยาอย่างเด็ดขาด

การรับประทานยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิมอย่างคลอร์เฟนิรามีนอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน  เวียนศรีษะ  ตาพร่ามัวได้ ดังนั้นหลังรับประทานจึงควรพักผ่อน หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักร เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

สรรพคุณของยาแก้แพ้

  • บรรเทาอาการหวัดคัดจมูก  ลดน้ำมูก อาการจาม  คันจมูกและคอ
  • บรรเทาอาการแพ้ฝุ่นละเออง เกสรดอกไม้
  • บรรเทาอาการคันและระคายเคืองจากสาเหตุต่างๆ  
Posted in ArticleTagged น้ำมูกไหล
dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ