Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

“ยาสมุนไพร” ไม่มี อย. อาจรักษาโรคไม่ได้ แถมเสี่ยงตับไตพัง

Posted on October 26, 2019October 26, 2019 by via1sideffects

ผู้บริโภคหลงเชื่อโฆษณาสมุนไพรที่ไม่มี อย.รับรอง อ้างสรรพคุณรักษาโรคเกินจริง ทำผู้ป่วยอาการทรุดหนัก เสี่ยงเป็นโรคไต และอาจทำให้หัวใจวาย


ยาสมุนไพร แม้อ้างว่ามาจากธรรมชาติ แต่ไม่ได้ดีต่อร่างกายเสมอไป

นายธนพล ดอกแก้ว ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้ยาสมุนไพรอย่างไม่สมเหตุผล ว่า ปัจจุบันมีการปล่อยให้โฆษณายาสมุนไพรทั้งสื่อสังคมออนไลน์ และสื่อกระแสหลักแบบเกินจริง ทำให้ประชาชนหลงเชื่อ สามารถหาซื้อได้ง่าย โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์ทางเลือก หรือแพทย์แผนปัจจุบัน บางส่วนก็ไม่ได้รับการรับรองจาก อย. มีการลักลอบใส่ปรอท สเตียรอยด์ เพื่อให้ได้ผลเร็ว จนทำให้เกิดผลกระทบกับสุขภาพผู้บริโภคจำนวนมาก ทางชมรมฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้ยาสมุนไพรเดือนละไม่ต่ำกว่า 20 ราย ทั้งในส่วนของผู้ป่วยโรคไต และผู้ที่ไม่ได้เจ็บป่วยมาก่อน จึงทำเรื่องร้องเรียนส่งต่อไปยัง อย. และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) แล้ว

นายธนพล กล่าวต่อว่า จากการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ที่ใช้ยาสมุนไพร มาจากเพราะคำว่า “เขาเล่าว่า” โฆษณาด้านดี ไม่ให้ข้อมูลผลกระทบเลย มีการอ้างสรรพคุณรักษาโรคครอบจักรวาล ซึ่งเป็นไปไม่ได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปดูแล กำกับเรื่องการโฆษณาอย่างเข้มงวด 

ทั้งนี้ ขอเตือนผู้บริโภคว่า จะรับประทานยาสมุนไพรต่าง ๆ ต้องมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านยา เช่น เภสัชกร แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก และแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะเราไม่ได้ห้ามไม่ให้ใช้ แต่การใช้ต้องใช้อย่างถูกต้อง ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งแต่ละคน แต่ละโรคมีความแตกต่างกัน ยิ่งเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคไตจะได้รับผลกระทบเร็วมาก แค่ 1-2 วันที่ใช้ไปก็ตัวบวม เพราะเกิดของเสียคั่ง ฟอสฟอรัสสูง โพแทสเซียมสูง และทำให้หัวใจวายได้

Posted in บทความ

Post navigation

“ต้นตีนเป็ด” หรือ “พญาสัตบรรณ” กับ 6 ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ
3 แนวทาง วิธีการใช้ยาปฏิชีวนะ
dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ