
หน้าหนาวมาทีไร แถวบ้านใครที่ปลูกต้นตีนเป็ด หรือต้นพญาสัตบรรณ เอาไว้คงได้กลิ่นจากดอกของต้นนี้อย่างชัดเจน บ้างก็ว่าหอมชื่นใจ บ้างก็ว่าเหม็นจนเวียนหัว แต่ไม่ว่าอย่างไรต้นตีนเป็ดก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของ “ลมหนาว” ไปโดยปริยาย
นอกจากต้นตีนเป็ดจะเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงากับเราได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีสรรพคุณดีๆ ที่ช่วยรักษาอาการต่างๆ ในฐานะของการเป็นสมุนไพรไทยได้อีกด้วย
ต้นตีนเป็ด หรือพญาสัตบรรณ กับประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ
- เปลือกของลำต้นมีรสขม สามารถนำมาทำเป็นยาที่ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน และแก้หวัด แก้ไอ บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ
- เปลือกของลำต้น ช่วยรักษาโรคบิด ท้องร่วง ท้องเดินเรื้อรัง โรคลำไส้และลำไส้ติดเชื้อ
- เปลือกของลำต้น ต้มน้ำอาบ ลดอาการผดผื่นคัน
- ยางจากลำต้น ใช้หยอดหูแก้อาการปวดหู และใช้อุดฟันเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
- ใบอ่อน นำมาต้มเพื่อดื่มรักษาโรคลักปิดลักเปิด
- ใบ และยาง ชาวอินเดียใช้รักษาแผล แผลเปื่อย แผลตุ่มหนอง และอาการปวดข้อ
ข้อควรระวังของต้นตีนเป็ด หรือพญาสัตบรรณ
จำให้ดีว่า ต้นตีนเป็ด (Alstonia scholaris) กับต้นตีนเป็ดน้ำ หรือต้นตีนเป็ดทะเล (Cerbera odollam) ไม่เหมือนกัน ต้นตีนเป็ดน้ำจะมีลำต้นเล็กกว่า และพบอยู่ริมน้ำ ริมคลอง หรือป่าชายเลน มีดอกสีขาวพร้อมกลิ่นอ่อนๆ ผลเป็นลูปกลมๆ หากลูกหลุดจากต้นแล้วแห้ง สามารถนำมารดน้ำปลูกเป็นต้นใหม่ได้
>> ต้นตีนเป็ดน้ำ ต้นตีนเป็ดทะเล มีพิษร้ายอย่างไร?
ต้นตีนเป็ดจะลำต้นสูงใหญ่กว่า ดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ผลจะออกมาเป็นฝักยาว เส้นๆ กลมเรียว และที่สำคัญคือส่งกลิ่นได้เข้มข้นรุนแรงกว่า