Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

ใช้ ‘ยาปฏิชีวนะ’ สมเหตุสมผล ลดปัญหา ‘เชื้อดื้อยา’

Posted on May 26, 2020November 25, 2020 by visaza_effects

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส และไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้ ใช้รักษาเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง แต่คนส่วนใหญ่มักเรียกยาปฏิชีวนะผิดว่าเป็น “ยาแก้อักเสบ” ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าการใช้ยานี้จะทำให้โรคที่เป็นอยู่หายเร็วขึ้นเพราะยาจะไปรักษาหรือแก้การอักเสบซึ่งถือเป็นความเข้าใจผิด ในขณะที่ ยาแก้อักเสบ หรือ ยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory drugs) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวมแดง เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ซึ่งไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ดังนั้น ถ้ากินยาปฏิชีวนะเข้าไปเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นยาแก้อักเสบ ทั้งที่ความจริงเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาก็ไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัส นอกจากไม่เกิดประโยชน์ในการรักษาการอักเสบที่เกิดขึ้นยังจะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้มากขึ้น

สถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะ

จากข้อมูลพบว่ามูลค่าการผลิตนำเข้าของยาฆ่าเชื้อ (รวมถึงยาปฏิชีวนะ) สูงเป็นอันดับหนึ่ง ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ในปี 2550 มูลค่าการผลิตและนำเข้ายากลุ่มนี้สูงถึง 2 หมื่นล้านบาท หรือ ประมาณ 1 ใน 5 ของมูลค่ายาทั้งหมด พบคนในต่างจังหวัดใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคหวัดคิดเป็นร้อยละ 40-60 และสูงถึงร้อยละ 70-80 ในกรุงเทพฯ ในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมสูงถึงร้อยละ 25-91 มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์ ประจำปี 2549 พบว่า จำนวน ADR ที่เกิดจากการใช้ยาฆ่าเชื้อ/ยาปฏิชีวนะสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ (คิดเป็นร้อยละ 54 ของอาการ ADR ที่เกิดขึ้นของยาทุกชนิดรวมกัน) มีอัตราเชื้อดื้อยาของประเทศไทยเพิ่มสูงถึงร้อยละ 25-50 และพบว่า อัตราการเกิดเชื้อดื้อยามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้ยาปฏิชีวนะ

อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ

เกิดการแพ้ยา ซึ่งหากแพ้ไม่มากอาจมีแค่ผื่นคัน ถ้ารุนแรงขึ้นผิวหนังจะเป็นรอยไหม้ หลุดลอก หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต

เกิดเชื้อดื้อยา การกินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยา ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะที่ใหม่ขึ้น แพงขึ้น ซึ่งเหลือให้ใช้อยู่ไม่กี่ชนิด สุดท้ายก็จะไม่มียารักษา และเสียชีวิตในที่สุด

เกิดโรคแทรกซ้อน ยาปฏิชีวนะจะฆ่าทั้งแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียชนิดดีมีประโยชน์ในลำไส้ของเรา เมื่อแบคทีเรียชนิดดีตายไป เชื้ออื่นๆ ในตัวเราจึงฉวยโอกาสเติบโตมากขึ้น ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง โดยผนังลำไส้ถูกทำลายหลุดลอกมากับอุจจาระ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต

ด้วยเหตุนี้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวแล้ว วิธีที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือ ให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร อย่างเคร่งครัดและทุกครั้งที่ได้รับยาปฏิชีวนะมาต้องรับประทานให้ครบ เพราะบ่อยครั้งพบว่าผู้ป่วยหยุดใช้ยาเมื่ออาการดีขึ้น ซึ่งจะมีผลเสียอาจทำให้โรคกลับเป็นซ้ำหรือเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยังรักษาไม่หายดี

ทั้งนี้จากข้อมูล พบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลพบได้ทั้งในกลุ่มผู้ใช้ยาและผู้สั่งจ่าย ทั้งในสถานพยาบาลและร้านยา โดยเฉพาะในโรคหวัดที่พบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งที่ใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม เป็นการเพิ่มโอกาสของการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย เพิ่มค่าใช้จ่ายค่ายาโดยไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย และอาจทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ คือ การแพ้ยาปฏิชีวนะ ที่พบได้บ่อยที่สุดของรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา

อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดการติดเชื้อดื้อยา ร้านยาเป็นด่านแรกของระบบสุขภาพ เมื่อประชาชนเจ็บป่วยเล็กน้อย จะไปขอคำปรึกษา และแนะนำยาเพื่อการดูแลรักษาปัญหาดังกล่าว มีทั้งปรึกษาอาการเจ็บป่วย ปรึกษาเรื่องการใช้ยา และมาเรียกหายา ซึ่งในจำนวนนี้ยังมีการจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก กล่าวได้ว่าสาเหตุมาจากความเชื่อ ความรู้ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองของประชาชน ตลอดจนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของเภสัชกรร้านยาผู้ให้บริการ ที่จะต้องก้าวทันความรู้ทางด้านเภสัชศาสตร์ที่ทันสมัย

ด้วยเหตุนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลจึงควรเริ่มที่ตัวผู้ใช้ยา และร้านยาตระหนักถึงโทษภัยจากการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ โดยเฉพาะใน 3 โรคติดเชื้อที่พบบ่อยในร้านยา ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคท้องเสีย และแผล ดังเช่นที่สมาคมเภสัชกรรมชุมชน ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยาขึ้น เพื่อเพิ่มการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมในร้านยา และลดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม เพื่อให้บริการทางเภสัชกรรมที่ดีมีคุณภาพ และยังประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการในร้านยา

เช่นเดียวกับการดำเนินงานของโครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล (Antibiotics Smart Use Program) ที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาร่วมกับภาคีหลายหน่วยงาน ในการพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลชุมชน ทั้งในเรื่องการให้ความรู้ การปรับความเชื่อ และการเสริมสร้างความมั่นใจ การบริหารจัดการ เช่น การใช้ยาทดแทน การเปลี่ยนมาใช้ไฟฉายแสงขาว ตลอดจนการกำหนดเป็นนโยบายและผนวกเข้ากับงานประจำของโรงพยาบาลชุมชน

เก็บความจาก

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.เรื่องเด่นประจำปี/การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม.รู้หรือไม่!? ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ.

สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ(2555) . รายงานโครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยาปี พ.ศ. 2555. สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

โครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล Antibiotics Smart Use

Posted in ArticleTagged ยาปฏิชีวนะ, ใช้ยา

Post navigation

ยาแก้อักเสบ ใช้อย่างไรให้ถูกต้องและไม่เสี่ยงอันตราย ?
กิน “ยา” เกินขนาด ภัยอันตรายถึงชีวิต

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ