Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

สัญญาณอันตราย ร่างกายกำลัง “แพ้ยา”

Posted on July 31, 2020July 31, 2020 by visaza_effects

อาการแพ้ยาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราต้องกินยาตัวนั้นเข้าไป เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ถึงจะสงสัยได้ว่าอาจเป็นเพราะยา หรืออาหารที่กินเข้าไปล่าสุด แต่อาการที่ว่าผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้หลังกินยาที่ทำให้แพ้จะมีอะไรที่เราสามารถสังเกตได้บ้าง เรามีข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาฝากกัน


สัญญาณอันตราย ร่างกายกำลัง “แพ้ยา”

อาการแพ้ยามี 4 ประเภท ดังนี้

ชนิดที่ 1

แพ้ยาชนิดเฉียบพลัน จะเริ่มแพ้ยาภายใน 1 ชั่วโมง โดยอาการที่พบได้ มีดังนี้

  • หายใจลำบาก

  • ช็อก

  • ผื่นขึ้น

  • มีอาการบวม เช่น ผิวหนังบวม ตาบวม ปากบวม เป็นต้น

  • ความดันโลหิตต่ำ

ชนิดที่ 2

เป็นอาการแพ้ยาที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนชนิดแรก แต่อาจรุนแรง และเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะส่งผลถึงภูมิคุ้มกัน เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดออกอาจถูกทำลาย อาการที่พบ มีดังนี้

  • อ่อนเพลีย

  • หัวใจเต้นรัว

  • ปัสสาวะสีเข้ม

  • เกล็ดเลือดต่ำ

ชนิดที่ 3

เป็นอาการแพ้ที่เกิดขึ้นหลังจากกินยาไป 1-3 สัปดาห์ อาการที่พบได้แก่

  • มีไข้

  • ผื่นคัน

  • อ่อนเพลีย

  • ปวดข้อ

  • ต่อมน้ำเหลืองโต

  • ความดันโลหิตต่ำ 

ชนิดที่ 4

เป็นอาการแพ้ที่มีความรุนแรงถึงอวัยวะภายใน เช่น

  • ผิวหนังอักเสบ

  • ตับอักเสบ

  • และอาจพบอวัยวะอื่นๆ อักเสบด้วย

ทำอย่างไร เมื่อสงสัยว่าตัวเองอาจ “แพ้ยา”

  1. หยุดยาที่เพิ่งรับประทาน หรือสงสัยว่าอาจเป็นตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ทันที

  2. รีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด โดยนำยา หรือซองยาที่รับประทานอยู่ในช่วงนั้นไปให้แพทย์ดูด้วย

ข้อควรรู้

  • ยาฉีด จะมีโอกาสแพ้มากกว่ายากิน
  • การใช้ยาขนาดสูง (ปริมาณมาก) จะเสี่ยงแพ้มากกว่าการยาขนาดต่ำ (ปริมาณน้อย)

หากตรวจพบว่าตัวเองแพ้ยา ควรปฏิบัติดังนี้

  1. พกบัตรแพ้ยาติดตัวเสมอ 

  2. พยายามจำชื่อสามัญทางยาที่ตัวเองแพ้เอาไว้ให้ได้

  3. แจ้งแพทย์ทุกครั้งว่าแพ้ยาอะไร
Posted in บทความTagged แพ้ยา

Post navigation

“ยาปฏิชีวนะ” ใช้อย่างไร ไม่เสี่ยง “เชื้อดื้อยา”
ยามีผลต่อร่างกายอย่างไร

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ