Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

สถาบันบำบัดและฟื้นฟูฯ เตือนนักเที่ยวกลางคืน เสพยาอี 1-2 ครั้ง เสี่ยงทำลายเซลล์สมอง-เสียชีวิตได้

Posted on November 23, 2020November 25, 2020 by visaza_effects

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ เตือนภัยกลุ่มนักเที่ยวกลางคืนที่นิยมเสพยาอีว่า มีอันตรายร้ายแรง แม้เสพเพียง 1-2 ครั้ง เนื่องจากอาจทำลายระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้ติดเชื้อทำลายเซลล์สมอง ช็อก และเสียชีวิตได้

เมื่อวานนี้ (10 มิ.ย.) นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ยาอี, ยาเลิฟ, เอ็กสตาซี (Ecstasy) เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี มีทั้งที่เป็นแคปซูลและเป็นเม็ดยาสีต่างๆ แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบน และมีสัญลักษณ์บนเม็ดยาเป็นรูปต่างๆ เช่น กระต่าย ค้างคาว นก ดวงอาทิตย์ เป็นต้น พบแพร่ระบาดมากในกลุ่มวัยรุ่นที่นิยมเที่ยวกลางคืน เมื่อเสพยาอีเข้าสู่ร่างกาย จะออกฤทธิ์ภายในเวลา 45 นาที และฤทธิ์ของยาจะอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 6-8 ชั่วโมง โดยออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทในระยะเวลาสั้นๆ หลังจากนั้นจะหลอนประสาทอย่างรุนแรง ผู้เสพจะรู้สึกร้อน เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง การได้ยินเสียง และการมองเห็นแสงสีต่างๆ ผิดไปจากความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม รู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้

จากการวิจัยพบว่า ยาชนิดนี้มีอันตรายร้ายแรง แม้จะเสพเพียง 1-2 ครั้ง เพราะสามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ผู้เสพมีโอกาสติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย และทำลายเซลล์สมอง

ทางด้าน นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวเพิ่มเติมว่า ยาอีจะเข้าไปทำลายระบบประสาท ทำให้เซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่หลั่งสารซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการควบคุมอารมณ์ทำงานผิดปกติ โดยจะหลั่งสารนี้ออกมามากกว่าปกติ จนทำให้สดชื่น อารมณ์ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป สารดังกล่าวจะลดน้อยลง ทำให้ผู้เสพเข้าสู่สภาวะอารมณ์เศร้าหมอง หดหู่ เกิดอาการซึมเศร้า และอาจกลายเป็นโรคจิตประเภทซึมเศร้า (Depression) มีแนวโน้มการฆ่าตัวตายสูงกว่าคนปกติ

นอกจากนี้ การที่สารซีโรโทนินลดลง จะทำให้การนอนหลับผิดปกติ เวลาการนอนลดลง หลับไม่สนิท อ่อนเพลีย ขาดสมาธิในการเรียนและทำงาน นอกจากนี้ การเสพยาอีอาจไม่ทำให้ผู้เสพเสียชีวิตได้โดยตรง แต่การที่นิยมเสพระหว่างปาร์ตี้ สังสรรค์ ทำให้ควบคุมตัวเองไม่ได้ และเสียเหงื่อมากจากการที่ยาเข้าไปกระตุ้นให้ตื่นตัวตลอดเวลา และเต้นได้ตลอดงาน กระทั่งเกิดภาวะขาดน้ำอย่างฉับพลัน บางรายนิยมเสพพร้อมกับดื่มแอลกอฮอล์หรือเสพยาชนิดอื่นร่วมด้วย หรือเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ จะทำให้เกิดอาการช็อกและเสียชีวิตได้

ทั้งนี้ หากประสบปัญหาด้านยาและสารเสพติด สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนยาเสพติด 1165 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmnidat.go.th หรือเข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดได้ที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, ขอนแก่น, อุดรธานี, สงขลา และปัตตานี

Posted in Article

Post navigation

“ยาสเตียรอยด์” เสี่ยงอันตราย หากเลือกใช้ไม่ถูกกับโรค
อยากผอมกินยาลดความอ้วนสิ ผอมเร็ว แต่อันตรายเสี่ยงเสียชีวิตไว!

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ