Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

รูปแบบของยา

Posted on September 4, 2020September 4, 2020 by visaza_effects
รูปแบบของยา

รูปแบบของยา

ยาเม็ด (Tablets)

ยาเม็ด (Tablets)

มีทั้งชนิดเม็ดไม่เคลือบและชนิดเม็ดเคลือบ ยาเม็ดธรรมดาไม่ได้เคลือบ เป็นยาเม็ดที่อาจมีรูปรางกลม เหลี่ยม
หรือรูปร่างต่างๆ กัน มีขนาดต่างๆ กัน ผิวหน้าของเม็ดยาอาจเรียบหรือนูน ส่วนใหญ่เมื่อรับประทานต้องกลืนทั้งเม็ด
ห้ามเคี้ยว บางชนิดต้องเคี้ยวก่อนกลืน ส่วนมากเป็นยาจำพวก ยาลดกรดชนิดเม็ด ยาขับลมชนิดเม็ด เป็นต้น

ยาแคปซูล (Capsules)

ยาแคปซูล (Capsules)

ยาแคปซูลเป็นรูปแบบที่มีตัวยาเป็นของแข็งหรือของเหลวบรรจุอยู่ภายในเปลือกหุ้ม ซึ่งละลายได้เมื่อรับประทานเข้า
ไปในกระเพาะอาหาร รับประทานโดนกลืนทั้งแคปซูลพร้อมกับน้ำโดยไม่ต้องเคี้ยวยาหรือถอดปลอกแคปซูลออก ยกเว้น
กรณีให้ยาทางสายอาหาร เพราะตัวยาอาจมีผลระคายเคืองทางเดินอาหารและอาจมีผลต่อการดูดซึมของยา

ยาผง (Powders and Granules)

ยาผง (Powders and Granules)

ยาผงมีทั้งชนิดรับประทานและยาใช้ภายนอก ดังนี้
3.1ชนิดรับประทาน ยาผงชนิดรับประทาน ยาผงชนิดรับประทานโดยทั่วไปให้ละลายน้ำก่อนรับประทาน ไม่ควรเท
ใส่ปาก ในลักษณะผงแห้งแล้วดื่มน้ำตาม เพราะอาจเกิดการอุดตันในหลอดอาหารได้
3.2 ชนิดใช้ภายนอก ยาผงใช้ภายนอกมักใช้โรยที่ผิวหนังเพื่อลดอาการคันและช่วยให้รู้สึกเย็นสบายป้องกันการอับชื้น
ยาผงไม่ควรใช้โรยแผลที่มีน้ำเหลือง เพราะจะทำให้น้ำเหลืองเกาะกันเป็นก้อนแข็งระคายต่อแผล และทำให้แผล
หายช้า เนื่องจากการเจริญเติบโตของเชื้อโรคภายใต้แผ่นสะเก็ดแข็งนั้น เวลาใช้ยาผงต้องระวังอย่าให้ผงปลิวเข้า
ปาก จมูก หรือตา เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องล้างมือให้สะอาด

ยาน้ำ

ยาน้ำ

ยาน้ำ เหมาะสำหรับคนที่กลืนยาเม็ดไม่ได้ ดูดซึมและออกฤทธิ์เร็วกว่ายาเม็ดแต่สลายตัวเร็วกว่า ยาน้ำแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้
ยาน้ำใส (Solution) เป็นรูปสารละลายน้ำใส ไม่มีตะกอน ยาน้ำเชื่อม (Syrups) ยาจะเหนียวข้นและมีรสหวาน
ถ้ามีการตกผลึก แสดงว่ายาเสื่อมคุณภาพ
ยาทิงเจอร์ (Tinctutes) และยาอีลิเซอร์ (Elixirs) เป็นยาน้ำที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ 4-40%
ส่วนยาสปิริต (Spirits) เป็นยาน้ำที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ 60-90%
ยาน้ำแขวนตะกอน (Suspension) ยาน้ำแขวนตะกอนเมื่อตั้งทิ้งไว้ ตัวยาจะตกตะกอนลงที่ก้นขวด ก่อนใช้ต้องเขย่า
ขวดให้ตะกอนกระจายตัว เพื่อให้ตัวยากระจายทั่วขวดเพื่อให้ได้ขนาดยา แต่ละครั้ง เท่าๆ กัน
ยาน้ำแขวนละออง (Emulsion) ยาน้ำแขวนละอองจะเป็นยาน้ำผสมน้ำมันจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนใช้ต้อง
เขย่าแรงๆ ถ้าเกิดการแยกชั้ของไขมัน แสดงว่ายาเสื่อมคุณภาพแล้ว

ยาขี้ผึ้ง (Ointments) ครีม (Creams) และเจล (Gels)

ยาขี้ผึ้ง (Ointments) ครีม (Creams) และเจล (Gels)
  • ยาขี้ผึ้ง ลักษณะเป็นน้ำมัน สำหรับใช้ภายนอก ใช้ทาเฉพาะที่ จึงเก็บให้ห่างจากแสงแดด
  • ครีม เป็นยาแขวนละอองที่มีความข้นมาก ครีมจะเหลวกว่าขี้ผึ้ง เป็นยาใช้ภายนอกหรือใช้เฉพาะที่ ตัวยาละลายในน้ำ
    หรือน้ำมันใช้ทาได้ง่าย ล้างออกง่าย ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น
  • เจล เป็นยากึ่งแข็งกึ่งเหลว ตัวยาในเจลจะค่อยๆ ดูดซึม เป็นตัวยาทาเพื่อบรรเทาอาการอักเสบและปวดบวม

ยาเหน็บ (Suppositories)

ยาเหน็บ (Suppositories)

ยาเหน็บ (Suppositories) เป็นยาลักษณะกึ่งของแข็ง มีรูปร่าง ขนาดต่างๆ มีวิธีการใช้เฉพาะที่ โดยใช้สอดเข้า
ช่องต่างๆ ของร่างกาย เช่น ทวารหนัก ช่องคลอด เป็นต้น ส่วนใหญ่ต้องการให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่

ยาฉีด (Injection)

ยาฉีด (Injection)
syringe with vial

ยาฉีด (Injection) เป็นยาที่ประกอบด้วยตัวยาซึ่งละลายในน้ำกลั่นปราศจากเชื้อ สารละลายจะได้รับการปรับความเป็น
กรด-ด่าง เพื่อให้มีความ

Posted in บทความ

Post navigation

การใช้ยาให้ถูกเวลา
การเก็บรักษายา

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ