Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider
ดูหนังออนไลน์ฟรี

ยาแก้เมารถ

Posted on May 19, 2020May 16, 2020 by visaza_effects

อาการเมารถ เชื่อว่าหลายๆ คนคงประสบพบเจอกันอยู่บ่อยครั้ง เมื่อต้องเดินทางไกลๆ ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกหมดสนุกไปทันที ซึ่งทางการแพทย์ให้คำนิยาม อาการเมารถ (motion sickness) ว่าเป็นภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว เป็นการตอบสนองปกติของร่างกายต่อสถานการณ์ที่ไม่ปกติ 

อาการนี้ไม่ใช่อาการป่วยที่แท้จริง แต่เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการทำงานของร่างกายนั่นเอง แต่อาการนี้สามารถแก้ได้ โดยรับประทานยาแก้เมารถ ซึ่งอาการเมาเรือ เมาคลื่น ก็ใช้ได้เช่นกัน

ยาแก้เมารถ-เมาเรือ มีให้เลือกใช้หลายชนิด แต่ที่มีการใช้กันแพร่หลาย คือ ยา “ไดเมนไฮดริเนท (Dimenhydrinate)” 

ยาแก้เมารถไดเมนไฮดริเนท (Dimenhydrinate) 

เป็นยาในกลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน(Antihistamine) หรือที่เรียกว่ากลุ่มยาแก้แพ้ ออกฤทธิ์โดยตรงที่อวัยวะควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเมารถ-เมาเรือ

รูปแบบยารับประทาน : ยาเม็ด ขนาด 50 มิลลิกรัม

ยาแก้เมารถเป็นยาสามัญประจำบ้าน จัดว่าค่อนข้างปลอดภัยในการใช้ จึงหาซื้อได้ง่าย ทั้งตามร้านขายยา และร้านสะดวกซื้อทั่วไป

วิธีใช้เพื่อป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ

  • ในผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปี รับประทานครั้งละ 1 – 2 เม็ด
  • เด็กอายุ 6 – 12 ปี รับประทานครั้งละ ½  –  1 เม็ด
  • เด็กอายุ 2 – 6 ปี รับประทานครั้งละ ¼ –  ½ เม็ด

ยาแก้เมารถควรรับประทานก่อนออกเดินทางอย่างน้อย 30 นาที ไม่ควรรับประทานเมื่อมีอาการแล้ว เพราะยาจะปนออกมากับอาเจียนโดยที่ไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย และสามารถรับประทานซ้ำได้ทุก 4 – 6 ชั่วโมง 

ไม่ควรรับประทานเกินขนาด ดังนี้

  • 8 เม็ด / วัน ในผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปี
  • 3 เม็ด / วัน ในเด็กอายุ 6 – 12 ปี
  • 1 ½ เม็ด / วัน ในเด็กอายุ 2 – 6 ปี 

ผลข้างเคียงของยาแก้เมารถ เมาเรือ

ยาแก้เมารถเมื่อรับประทานแล้วจะทำให้เกิดอาการง่วงซึม ดังนั้น ไม่ควรขับขี่ยานยนต์ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล 

ยาแก้เมารถ-เมาเรือรูปแบบอื่นๆ 

พลาสเตอร์ยาแก้เมารถเมาเรือ ทรานสเดิร์ม สค็อป (Transderm Scop)

ยานี้อาจหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปในเมืองใหญ่

ลักษณะเป็นพลาสเตอร์ที่บรรจุตัวยาสโคโปลามีน (Scopolamine) ใช้แปะติดกับผิวหนังหลังใบหู เพื่อปล่อยตัวยาให้ดูดซึมผ่านผิวหนังสู่กระแสเลือดในปริมาณน้อยๆ อย่างสม่ำเสมอ อายุการใช้งานได้ถึง 3 วัน

ข้อควรปฏิบัติในการใช้แผ่นพลาสเตอร์นี้ 
  • ควรแปะพลาสเตอร์ก่อนออกเดินทาง 4 ชั่วโมง เพื่อให้ยาแก้เมารถออกฤทธิ์ไว้ก่อน
  • ติดบริเวณหลังใบหูตรงที่ไม่มีผม หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีแผลหรือเป็นผื่น เพราะอาจเกิดการระคายเคือง หรือทำให้ยาดูดซึมมากเกินไป เช็ดบริเวณดังกล่าวให้สะอาดด้วยกระดาษเช็ดหน้า
  • ทำความสะอาดมือทั้งก่อนและหลังปิดแผ่นยาแก้เมารถ เพื่อไม่ให้ตัวยาติดมือแล้วเข้าตา อันอาจทำให้ตาพร่ามัวอยู่ครู่ใหญ่ เพราะสโคโปลามีนทำให้ม่านตาขยาย
  • ถ้าต้องการป้องกันอาการเมารถเมาเรือเกิน 3 วัน เวลาแกะแผ่นยาแก้เมารถออกเมื่อครบ 3 วันแล้ว อาจปิดแผ่นยาใหม่ที่หลังใบหูอีกข้างหนึ่ง

รูปแบบยาแปะนี้ มีข้อดี คือ ทำให้ดูดซึมยาได้ปริมาณทีละน้อยๆ ช่วยลดอาการข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ ปากแห้ง  ตามัว  ม่านตาขยายกว้าง และง่วงนอน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังพบอาการดังกล่าวได้ในผู้ใช้บางราย

นอกจากยาที่กล่าวมาแล้ว ยังสามารถใช้สมุนไพรเพื่อแก้เมารถ-เมาเรือได้เช่นกัน สมุนไพรที่ว่านั่น คือ “ขิง” นั่นเอง

วิธีรับประทานขิงเพื่อเป็นยาแก้เมารถเมาเรือ
  • รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล ก่อนเดินทาง ในกรณีมียาแคปซูลขิง
  • ดื่มเป็นน้ำขิง หรือรับประทานอาหารที่มีขิงเป็นส่วนผสมหลัก 
  • ฝานขิงเป็นแว่น แล้วนำมาอมก่อนออกเดินทาง 

คำถามจากผู้ป่วยท่านอื่นเกี่ยวกับยาแก้เมารถ

หญิงตั้งครรภ์สามารถกินยาแก้เมารถได้หรือไม่  

คำตอบ: หญิงตั้งครรภ์สามารถใช้ยา Dimenhydrinate หรือที่คุ้นเคยกันว่าเป็นยาแก้เมารถ เพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ง่วง มึนงง จมูกแห้ง ลำคอแห้ง ปวดศีรษะ เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาแก้เมารถ แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ซึ่งปกติแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยา Pyridoxine (Vitamin B6) เป็นทางเลือกแรกในการลดอาการคลื่นไส้ที่ไม่รุนแรงขณะตั้งครรภ์ ขนาดที่แนะนำคือ รับประทานครั้งละ 10–25 มิลลิกรัม ทุก 6–8 ชั่วโมง (ขนาดการใช้สูงสุดไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม)

คุณหมอคะ พอดีให้นมลูกแล้วแล้วเผลอกินยาแก้เมารถไปโดยไม่ได้เช็คก่อน ยาจะขับออกทางร่างกายภายในกี่ชั่วโมงคะ ลูกถึงจะสามารถทานนมแม่ได้ (เมื่อคืนทานยาไปตอนสองทุ่มครึ่งค่ะ) ขอบคุณมากนะคะ

คำตอบ: เนื่องจากยานี้ขับออกทางน้ำนมได้ และมีรายงานอาจทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ในทารก เช่น ปวดท้อง หรือไม่สบายตัว ประมาณ 10% และมีง่วงซึม ประมาณ 1.6% ของมารดาที่ใช้ยานี้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ Dimenhydrinate ระหว่างที่ให้นมบุตรค่ะ

ยาแก้เมารถจะค่อยๆ ลดประสิทธิภาพลงและถูกกำจัดออกทีละครึ่งหนึ่ง ทุก 8-9 ชั่วโมง  และจะถูกกำจัดออกเกือบหมดใช้เวลาประมาณ 25-40 ชั่วโมงหลังรับประทานยาค่ะ

แต่ยาบางชนิดก็สามารถใช้ในขณะให้นมบุตรได้ค่ะ หากเจ็บป่วยหรือมีความจำเป็นต้องใช้ยาอีกในครั้งหน้า สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้านเพื่อพิจารณายาที่เหมาะสมให้ได้นะคะ

Posted in บทความTagged ยาแก้เมารถ

Post navigation

ศูนย์รวมยาสามัญประจำบ้าน ณ ร้าน 7-11
ยาในผู้สูงอายุ

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ดูหนังชนโรง 2023
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ