เวลาเราซื้อยาหรือรับยาจากโรงพยาบาลในบ้างตัวยานั้นจะมีเขียนข้างฉลากนั้นมีคำว่า ยาอันตราย แล้วเราเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมถึงเขียนว่ายาอันตรายและเรากินเข้าไปแล้วเราจะอันตรายหรือไมด้วยความไม่มั่นใจ แต่มั่นหน้า เลยเปิดกล่องหยิบใบกำกับยาด้านในมาอ่านให้รู้ว่า ข้าก็เป็นคนที่ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจนะ แต่ปรากฎว่า ไอ้หย่า อั๋วเห็นอย่างนี้แล้วเอายาไปคืน ไม่กินดีกว่า เพราะใบกำกับยาเขียนไว้น่ากลัวยังงี้ ขี่นกินไปได้ไปหาอากง อาม่า บนสวรรค์ก่อนถึงเวลาอันควรแน่นอน

ยาอันตราย ที่ถูกเรียกตามกฎหมาย คืออะไร
เมื่อพูดถึงกฎหมายยาแล้ว เราก็คงจะไม่กล่าวถึง สิ่งที่เรียกว่า พระราชบัญญัติยา (พรบ.ยา) นั้นเอง โดยจะขอยกข้อมูลใน พรบ.ยา 2510 มา ซึ่งได้ประกาศไว้ว่านั้นหมายความว่า คำที่เราเห็นบนกล่องว่าเป็นยาอันตรายนั้น คือ เป็นการเขียนโดยที่เกิดจากข้อกำหนดทางกฎหมาย คำถามต่อมาคือ แล้วมันอันตรายตามที่ชื่อมันระบุไว้หรือเปล่า
ถูกต้องแล้วครับ มันก็อันตราย จริงๆตามชื่อที่กฎหมายตั้งให้นั้นแหละ เพราะ ถ้าเราจะเปรียบเทียบถึงความปลอดภัย ระหว่างยาอันตราย และ ยาสามัญประจำบ้าน แล้ว ยาอันตรายนั้นต้องระมัดระวังการใช้มากกว่าการใช้ยาสามัญประจำบ้านแน่นอน เขาถึงมีข้อกฎหมายกำหนดขึ้นมาให้ยากลุ่มนี้ไม่ให้หาซื้อได้เองตามร้านสะดวกซื้อเหมือนยาสามัญนั้นเองเนื่องจากยาในกลุ่มนี้จะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ง่าย รวมถึงพบผลข้างเคียงเกิดได้เยอะกว่ากลุ่มยาสามัญประจำบ้าน จึงทำให้ยากลุ่มนี้ควรใช้อย่างระมัดระวัง และ ต้องถูกจ่ายหรือจำหน่ายได้เฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน โดยถูกจ่ายโดยเภสัชกรที่มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้นเพราะยากลุ่มนี้หากใช้อย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่ระมัดระวัง นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยไม่หายจากโรคแล้ว ยังอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาโดยไม่จำเป็น
ห้ามใช้ยากลุ่มนี้มั้ย
คำตอบคือเรายังคงใช้ยากลุ่มนี้ได้หากเรามีอาการเจ็บป่วย แต่เวลาเรานำมาใช้ควรใช้และปฎิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ หรือ เภสัชกร ที่ให้ยาเรามา และ ไม่ควรนำยานี้ไปแจกจ่ายให้กับญาติสนิท มิตรสหาย ถึงแม้ว่าเขาจะมีอาการเหมือนๆหรือคล้ายกับเราก็ตาม
ยากลุ่มนี้มีอะไรบ้าง
1. ยาจําพวกลดความดันเลือด (Hypotensive drugs )
2. ยาจําพวกขยายหลอดเลือดส่วนขอบ ( Peripheral vasodilators ) ยกเว้น
- ก. ไนอาซิน ( Niacin ) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ
- ข. ยาจําพวกขยายหลอดเลือดที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง
3. ยาจําพวกขยายหลอดเลือดโคโรนารี ( Coronary vasodilators ) ยกเว้นที่ใช้สําหรับสูดดม
4. ยาจําพวกดิจิตาลอยด์( Digitaloid drugs ) ยกเว้นสะควิลล์ ( Squill ) ที่ใช้สําหรับขับเสมหะ
5. ยาจําพวกรักษาอาการภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Antiarrhythmic drugs )
6. ยาจําพวกที่มีผลต่อมไขมันในเลือด (Drugs affecting blood lipids ) ยกเว้นไนอาซีน ( Niacin ) ที่มีปริมาณไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ
7. ยาจําพวกแสดงฤทธิ์ต่อหัวใจหรือหลอดเลือด ( Cardiovascular drugs )
8. ยาจําพวกแก้ไอ ( Antitussive drugs ) ยกเว้น
- ก. ที่ใช้สําหรับขับเสมหะ ( Expectorants )
- ข. เดกซ์โตรเมทอร์แฟน ไฮโดรโบรไมด์( Dextromethorphan hydrobromide ) ขนาด 15 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
9. ยาจําพวกแอดรีเนอร์ยิค ( Adrenergic drugs ) ยกเว้น
- ก. ที่ใช้สําหรับหยอดจมูก ตามตํารายาที่รัฐมนตรีประกาศ
- ข. ฟีนิลโปรปาโนลามีน ไฮโดรคลอไรด์ (Phenylpropanolamine hydrochloride )ขนาด 12.5-25 มิลลิกรัม ผสม กับพาราเซตามอล (Paracetamol) ขนาด 300-500 มิลลิกรัม และ คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต (Chlorpheniramine maleate) ขนาด 1-2 มิลลิกรัม ที่ผลิตขี้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
- ค. เอฟีดรีน ไฮโดรคลอไรด์ ( Ephedrine hydrochloride ) ขนาด 15-50 มิลลิกรัม ผสมกับทีโอฟิลลีน แอนไฮดรัส ( Theophylline anhydrous ) ขนาด 60-150 มิลลิกรัม ที่ผลิตขี้นเป็นยาบรรจุเสร็จขนิดเม็ด
10. ยาจําพวกโคลิเนอร์ยิค ( Cholinergic drugs )
11. ยาจําพวกสารสกัดแอดรีเนอร์ยิค ( Adrenergic blocking drugs )
12. ยาจําพวกสกัดกั้นโคลิเนอร์ยิค ( Cholinergic blocking drugs ) ทั้งที่ได้จาก พฤกษชาติและที่ได้จากการสังเคราะห์ รวมทั้งแอลคาลอยด์และเกลือของแอลคาลอยด์ที่ได้จากพฤกษชาติเหล่านั้น ยกเว้น
- ก. ยาสกัดเบลลาดอนนา ( Belladonna Extract ) ทิงเจอร์เบลลาดอนนา ( Belladonna Tincture ) ยาสกัดไฮออสไซยามัส ( Hyoscyamus Extract )
ทิงเจอร์ไฮออสไซยามัส (Hyoscyamus Tincture ) หรือทิงเจอร์สะตราโมเนียม ( Stramonium Tincture ) ที่มีขนาดรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกินขนาดรับประทานอย่างต่ำสุดของยาเหล่านั้นที่กําหนดไวในตำรับยาที่รัฐมนตรีประกาศ
- ข. ไฮออสไซยามีนซัลเฟต ( HyoscyamineSulphate ) ที่มีขนาดรับประทานใน มื้อหนึ่ง ไม่เกิน 125 ไมโครกรัม
- ค. อะโทรปีนซัลเฟต (Atropine Sulphate ) ที่มีขนาดรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 250ไมโครกรัม
13. ยาจําพวกสกัดกั้นประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular blocking drugs) [ ยากลุ่มนี้ปัจจุบันเปลี่ยนสถานะเป็นยาควบคุมพิเศษ ]
14. ยาจําพวกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งออกฤทธิ์ที่ประสาทส่วนกลาง ( Centrally acting muscle relaxants ) รวมทั้งยารักษาอาการโรคปาร์กินสัน ( Antiparkinson drugs )ยาจําพวกขับปัสสาวะ ( Diuretic drugs )
- ก. ยาขับปัสสาวะจําพวกออสโมติค ( Osmotic diuretic drugs )
- ข. อูวาเออร์ซี ( UvaUrsi )
- ค. บูชู ( Buchu )
- ง. ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์( Hydrochlorothiazide ) ขนาด 50 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
15. ยาจําพวกกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก ( Oxytocic drugs )
16. ยาจําพวกฮอรโมนของต่อมปิตูอิตารี (Pituitary hormones )
17. ยาจําพวกคอร์ติโคสเตอรอยด์( Corticosteroids ) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์สําหรับใช้เฉพาะที่
18. ยาจําพวกฮอร์โมนของตับอ่อน ( Pancreatic hormones ) รวมทั้งยาจาพวกที่ใช้รับประทานเพื่อทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง ( Oral hypoglycemic drugs )
19. ยาจําพวกฮอร์โมนของต่อมพาราธัยรอยด์( Parathyroid hormones ) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์
20. ยาจําพวกฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ ( Thyroid hormones ) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์
21. ยาจําพวกแอนติธัยรอยด์( Antithyroid drugs )
22. ยาจําพวกฮอรโมนของรังไข่( Ovarian hormones ) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์ หรือที่เราใช้กับบ่อยคือ ยาคุมกำเนิด ชนิดรับประทาน (Oral contraceptive) หรือ ยาฮอร์โมนทดแทน
- ก. เอทินิลเอสตราไดออล ( Ethinylestradiol ) ขนาด 0.03 – 0.05 มิลลิกรัม ผสมกับนอร์เจสตรีล ( Norgestrel ) ขนาด 0.25 – 0.5 มิลลิกรัม เลโวนอร์เจสตรีล ( Levonorgestrel ) ขนาด0.125-0.25 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน ( Norethisterone ) ขนาด 1.0-2.5 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน อะซีเตต ( Norethisterone acetate ) ขนาด 1.0- 2.5 มิลลิกรัม หรือไลเนสตรีนอล ( Lynestrenol ) ขนาด 1.0-2.5 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
- ข. เมสตรานอล ( Mestranol ) ขนาด 0.03 – 0.05 มิลลิกรัม ผสมกับนอร์เจสตรีล ( Norgestrel ) ขนาด 0.25 – 0.5 มิลลิกรัม เลโวนอร์เจสตรีล( Levonorgestrel ) ขนาด 0.125 – 0. 25 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน ( Norethisterone )ขนาด 1.0-2.5 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน อะซีเตต( Norethisterone acetate ) ขนาด 1.0 –2.5 มิลลิกรัม หรือไลเนสตรีนอล ( Lynestrenol ) ขนาด 1.0 – 2.5 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด
23. ยาจําพวกฮอรโมนของอัณฑะ ( Testicular hormones ) ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสังเคราะห์ รวมทั้งยาจําพวกอนาบอลิค ( Anabolic drugs )
24. ยาจําพวกทําให้ชาเฉพาะที่( Local Anesthetics)
- ก. น้ํามันกานพลู ( Clove oil ) ที่ใช้สําหรับใส่ฟันเพื่อแก้ปวด
- ข. ยูจีนอล ( Eugenol ) ที่ใช่สําหรับใส่ฟันเพื่อแกปวด
25. ยาจําพวกระงับประสาทและทําให้นอนหลับ ( Sedatives and hypnotics ) นอกจากที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
26. ยาจําพวกรักษาลมบ้าหมู ( Antiepileptics ) หรือยารักษาอาการชัก ( Anticonvulsants ) นอกจากที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
27. ยาจําพวกสงบประสาท ( Tranquilizing drugs ) นอกจากที่ประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ
28. ยาจําพวกกระตุ้นประสาทไซโคมอเตอร์( Psychomotor stimulants ) นอกจากที่ประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
29. ยาจําพวกบรรเทาอาการปวดหรือลดไข้( Analgesics or antipyretics )
- ก. แอสไพริน ( Aspirin ) หรือเกลือของแอสไพริน ( Salts of Aspirin )
- ข. ฟีนาซีตีน ( Phenacetin )
- ค. โซเดียมซาลิซีเลท ( Sodium Salicylate )
- ง. ซาลิซีลาไมด์( Salicylamide )
- จ. อะเซตามิโนเฟน หรือพาราเซตามอล ( Acetaminophen or Paracetamol )
- ฉ. ที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ
30. ยาจําพวกลดอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์( Non–steroids anti–inflammatory- drugs ) ยาจําพวกลดกรดยูริค (Uricosuric drugs ) ยาจําพวกรักษาโรคข้ออักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์(Non-steroids anti-arthritic-drugs )
- ก. ที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ
- ข. ที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง
- ค. แอสไพริน ( Aspirin ) หรือเกลือของแอสไพริน
- ง. โซเดียมซาลิซีเลท ( Sodium Salicylate )
สำหรับยาอื่นที่เป็นยาอันตรายตามกฎหมาย สามารถอ่านเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะถูก update ข้อมูลล่าสุดเป็นประจำ แล้วแอดจะมา update เพิ่มให้เรื่อยๆในบทความนี้เมื่อมีการกล่าวถึงยาเหล่านี้ละกันน่ะ