Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

ยาสามัญประจำบ้านมีอะไรบ้าง

Posted on October 4, 2019October 10, 2019 by visaza_effects

ยาสามัญประจำบ้าน คือ ยาที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาเอาไว้ว่าเป็นยาที่เหมาะสม ที่ประชาชนควรซื้อมาไว้ประจำบ้านของตนเอง เพื่อใช้ในการดูแลตัวเองจากอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ยาสามัญประจำบ้านเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง หากได้รับการใช้งานที่ถูกต้องก็จะไม่เป็นอันตรายใดๆ นอกจากนี้ยาสามัญประจำบ้านยังเป็นยาที่มีราคาถูก ประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยา ห้าง ร้านขายของชำทั่วไป โดยยาสามัญประจำบ้านมีทั้งหมด 53 ชนิด นำมาใช้รักษาโรคสามัญได้ 16 กลุ่ม ดังนี้…

1. กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้

  • ยาเม็ดสำหรับบรรเทาปวด และลดไข้ แอสไพริน
  • ยาเม็ดและยาน้ำบรรเทาปวดลดไข้ พาราเซตามอล ยาเม็ดมีขนาด 500 มก. และขนาด 325 มก
  • พลาสเตอร์ช่วยบรรเทาปวด

2. กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก

  • ยาเม็ดแก้แพ้ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน

3. กลุ่มยาแก้ไอ ขับเสมหะ

  • ยาน้ำแก้ไอ ขับเสมหะสำหรับเด็ก
  • ยาแก้ไอน้ำดำ

4. กลุ่มยาดมหรือยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก

  • ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนียหอม
  • ยาดมแก้วิงเวียน และแก้คัดจมูก
  • ยาทาระเหย บรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขี้ผึ้ง

5. กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ

  • ยาแก้เมารถ เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท

6. กลุ่มยาสำหรับโรคปาก และลำคอ

  • ยากวาดคอ
  • ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเชี่ยนไวโอเลต
  • ยาแก้ปวดฟัน
  • ยาดมบรรเทาอาการระคายคอ

7. กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

  • ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง
  • ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามิ้นท์
  • ยาขับลม
  • ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต
  • ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงค์
  • ยาเม็ดลดกรดอะลูมินา – แมกนีเซีย
  • ยาน้ำลดกรดอะลูมินา-แมกนีเซียม

8. กลุ่มยาแก้ท้องเสีย

  • ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาลเกลือแร่

9. กลุ่มยาระบาย

  • ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารหนักสำหรับเด็ก
  • ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่
  • ยาระบายแมกนีเซีย
  • ยาระบายมะขามแขก
  • ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ ชนิดสวนทวาร

10. กลุ่มยาถ่ายพยาธิลำไส้

  • ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีเบนดาโซล ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม

11. กลุ่มยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย

  • ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง

12. กลุ่มยาสำหรับโรคตา

  • ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์
  • ยาล้างตา

13. กลุ่มยาสำหรับโรคผิวหนัง

  • ยารักษาหิดเหา เบนซิล เบนโซเอต
  • ยารักษาหิด ขึ้ผึ้งกำมะถัน
  • ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า
  • ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
  • ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์
  • ยารักษาเกลื้อน โซเดียมไทโอซัลเฟต

14. กลุ่มยารักษาแผลติดเชื้อไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

  • ยารักษาแผลน้ำร้อนลวกฟีนอล
  • ยารักษาแผลติดเชื้อซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน ครีม

15. กลุ่มยาใส่แผล ยาล้างแผล

  • ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน
  • ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล
  • ยาใส่แผลโพวิโดน ไอโอดีน
  • ยาไอโซโบรฟิล แอลกอฮอล์
  • ยาเอทธิล แอลกอฮอล์
  • น้ำเกลือล้างแผล

16. กลุ่มยาบำรุงร่างกาย

  • ยาเม็ดวิตามินบีรวม
  • ยาเม็ดวิตามินซี
  • ยาเม็ดบำรุงโลหิต เฟอร์รัส ซัลเฟต
  • ยาน้ำมันตับปลา ชนิดแคปซูล
  • ยาน้ำมันตับปลาชนิดน้ำ

การเลือกซื้อยาสามัญประบ้าน ควรดูอะไรบ้าง
การเลือกซื้อยาสามัญประบ้าน ควรเลือกที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งจะต้องมีเลขทะเบียบตำรับยาอยู่บนฉลากของยานั้น เพราะยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจะเป็นยาที่ได้มาตรฐาน สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้ อีกสิ่งที่ควรดูก่อนซื้อยาคือ วันหมดอายุ เนื่องจากยามีเวลาเสื่อมสภาพ จึงไม่ควรซื้อยาที่ใกล้หมดอายุ หรือหมดอายุแล้วมาใช้รับประทาน เพราะอาจจะมีอันตรายต่อร่างกายได้ ยาที่ดีจะต้องอยู่ในสิ่งบรรจุที่มีสภาพดี ตัวยาต้องครบสมบูรณ์ ยาเม็ดต้องไม่แตก สีเรียบไม่มีจุดแปลกปลอมบนตัวยา ส่วนยาน้ำจะต้องไม่มีตะกอน แต่ถ้าแขวนตะกอนเมื่อเขย่าตัวยาจะต้องกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ

ใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างไรให้ปลอดภัย

  1. ควรอ่านฉลากยา และเอกสารกำกับยาให้เข้าใจก่อนใช้ยาทุกครั้งจะได้ไม่ใช้ยาผิด
  2. ใช้ยาให้ถูกต้องตามที่เอกสารกำกับยาระบุไว้ ไม่ควรใช้ยาเกินขนาดเด็ดขาด
  3. เลี่ยงการใช้ยาที่ผิดกับโรค เพราะโรคบางอย่างตัวยาต้องใช้ต่างชนิดกัน

การเก็บรักษายาสามัญประจำบ้านที่ถูกต้อง

การเก็บยาสามัญประจำบ้านเอาไว้นั้น ควรมีตู้สำหรับใส่ยาเหล่านี้โดยเฉพาะ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพิ่มความสะดวกในการหยิบใช้ และช่วยรักษาตัวยาให้มีอายุการใช้งานได้ตามกำหนด โดยมีวิธีเก็บดังนี้

  1. ควรแยกยาออกเป็นประเภทต่างๆ อย่างชัดเจน ว่าอันไหนคือยาสำหรับทาน และยาอันไหนคือยาสำหรับใช้ภายนอก
  2. ยาจะต้องมีฉลากยาที่มีความถูกต้องชัดเจน ไม่จาง หรือขาดหาย
  3. เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
  4. เก็บยาไว้ในที่ไม่โดนแสงแดด ความร้อน ความชื้น และเปลวไฟ
  5. อย่าเก็บยาชนิดอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเอาไว้ในตู้เก็บยาสามัญประจำบ้าน เพราะอาจจะหยิบผิดได้

ยาสามัญประจำบ้านเป็นของที่ต้องมีติดบ้านเอาไว้เสมอ เพราะรักษาโรคทั่วไปเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถซื้อยาทานเองได้ แต่ก็ต้องศึกษาตัวยาและข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับยาให้ครบถ้วนเพื่อจะได้ใช้รักษาโรคได้อย่างปลอดภัย

Posted in บทความTagged คัดจมูก, ยาล้างแผล, ลดน้ำมูก

Post navigation

รพ. จ่ายยาเบาหวาน ให้ผู้ป่วยความดันนอนติดเตียง กินแป๊บเดียวสลบเลย !!
ยาสามัญประจำบ้าน

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ