Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

ยารักษาโรคซึมเศร้า

Posted on September 24, 2020November 25, 2020 by visaza_effects

โรคซึมเศร้า (depression or depressive disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอย่างมาก จากข้อมูลพบว่าโรคซึมเศร้าส่งผลกระทบกับประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 4 (300 ล้านคน) ในช่วงปี 2548-2558 มีจำนวนผู้ที่ป่วยด้วยซึมเศร้าประมาณร้อยละ 18 สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยใน ปี 2556 โรคซึมเศร้าทำให้เกิดการสูญเสียปีสุขภาวะ จากภาวะบกพร่องทางสุขภาพในเพศหญิงร้อยละ 12.6 มีอัตราความรุนแรงที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูงถึงร้อยละ 20.4 ซึ่งสูงกว่าโรคทางจิตเวชอื่นๆ

เราอาจไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นซึมเศร้า หลายต่อหลายครั้งที่เราอ่านจากข่าวผู้ที่ฆ่าตัวตาย อาจไม่ได้มีอาการแสดงนำอะไรปรากฏอย่างเด่นชัด (แต่ก็เป็นได้ที่เราอาจจะมองข้ามอาการเหล่านั้น) บางคนคิดว่า โรคซึมเศร้าจะต้องนำมาด้วยอาการซึม อาการเศร้า หงอย แต่บางครั้งอาจไม่ใช่เช่นนั้น ทางด้านจิตเวชศาสตร์มีเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้าดังนี้

มีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการหรือมากกว่า

  1. มีอารมณ์ซึมเศร้า (ในเด็กและวัยรุ่น อาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้)
  2. ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก
  3. น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากผิดปกติ
  4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป
  5. กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
  6. อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
  7. รู้สึกตนเองไร้ค่า
  8. สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด
  9. คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย

โดยที่ต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ ร่วมกับ ต้องมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบตลอดเวลา แทบทุกวัน ไม่ใช่เป็น ๆ หาย ๆ เป็นเพียงแค่วันสองวันหายไปแล้วกลับมาเป็นใหม่

แม้จะดูว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นอันมากแต่โรคซึมเศร้าก็สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยารักษาซึมเศร้า หรือยาต้านเศร้า (antidepressants)

การออกฤทธิ์ของยาต้านเศร้าในปัจจุบันมุ่งไปที่การแก้ไขสมดุลของสารเคมีในสมอง (neurotransmitters) ที่ควบคุม กำกับดูแลสมดุลของอารมณ์ แรงจูงใจ ความอยากอาหาร คือ เซอโรโทนิน (serotonin) โดพามีน (dopamine) และ นอร์อิพิเนฟรีน (norepinephrine) โดยทั่วไปแล้วยาต้านเศร้าจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทหลายชนิด เช่น amitriptyline, nortriptyline ออกฤทธิ์ต่อการเก็บกลับ เซอโรโทนินและนอร์อิพิเนฟรีน นอกจากนั้นยายังมีฤทธิ์ต่อสารเคมีอื่นๆ ด้วยเช่น ฤทธิ์ anticholinergic ทำให้เกิดอาการปากแห้ง คอแห้งซึ่งเป็นอาการข้างเคียง

กลุ่มที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อสารสื่อประสาทเพียงชนิดเดียว โดยมากจะเน้นหนักไปที่เซอโรโทนิน เช่น fluoxetine, sertraline กลุ่มยาพวกนี้จะมีอาการข้างเคียงค่อนข้างน้อย ก็ไม่ถึงกับไม่มีเลยทีเดียว ในผู้ที่ใช้ยาบางรายมีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย

การรักษาโรคซึมเศร้า จำเป็นต้องอาศัยการกินยาต้านเศร้าอย่างต่อเนื่อง บางรายอาจต้องอาศัยการทำ cognitive behavioral therapy (CBT) ร่วมด้วย และเนื่องจากยาออกฤทธิ์ปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษาและรอการออกฤทธิ์เต็มที่ของยา (เช่น fluoxetine ใช้เวลาในการเริ่มเห็นฤทธิ์ในการรักษาคือ 1-2 สัปดาห์ และเห็นผลการรักษาเต็มที่ภายใน 1 เดือน หรือ nortriptyline เริ่มเห็นผลการรักษาภายใน 14 วัน) ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับทราบและเภสัชกรต้องอธิบายลักษณะการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาตามสั่งได้

ทั้งนี้ ทางจิตแพทย์ก็ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาต้านเศร้า ดังนี้

อาการของโรคไม่ได้หายทันทีที่กินยา โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไปอาการจึงจะดีขึ้นอย่างเห็นชัด แต่ยาก็ยังมีส่วนช่วยในระยะแรกๆ โดยทำให้ผู้ป่วยหลับได้ดีขึ้น เจริญอาหารขึ้น เริ่มรู้สึกมีเรี่ยวแรงจะทำอะไรมากขึ้น ความรู้สึกกลัดกลุ้มหรือกระสับกระส่ายจะเริ่มลดลง

ยาทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งสิ้น แม้ว่าโอกาสที่เกิดอาการข้างเคียงจะมากน้อย และมีความรุนแรงต่างกันไป การใช้ยาจึงควรใช้ในขนาดและกินตามเวลาที่แพทย์สั่งเท่านั้น หากมีความจำเป็นที่ทำให้กินยาตามสั่งไม่ได้ และควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งหากเกิดอาการใดๆ ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นอาการข้างเคียงหรือไม่

ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่กล้ากินยามากตามที่แพทย์สั่ง แพทย์สั่งกิน 4 เม็ดก็กินแค่ 2 เม็ด หรือกินบ้างหยุดกินบ้าง เพราะกลัวว่าจะติดยา หรือกลัวว่ายาจะไปสะสมอยู่ในร่างกาย แต่ตามจริงแล้วยาต้านเศร้าไม่มีการติดยา ถ้าขาดยาแล้วมีอาการไม่สบาย นั่นเป็นเพราะว่ายังไม่หายจากอาการของโรค การกินๆ หยุดๆ หรือกินไม่ครบขนาดกลับจะยิ่งทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี และรักษายากมากขึ้น

ยาแก้เศร้ามีอยู่เป็นสิบขนาน จากการศึกษาไม่พบว่าตัวไหนดีกว่าตัวไหนอย่างชัดเจน เรียกว่าผู้ป่วยคนไหนจะถูกกับยาตัวไหนเป็นเรื่องเฉพาะตัว หรือ ลางเนื้อชอบลางยา ซึ่งโดยรวมแล้วก็มักจะรักษาได้ผลทุกตัว การใช้ยาขึ้นอยู่กับว่าแพทย์มีความชำนาญ คุ้นเคยกับการใช้ยาขนานไหน และผู้ป่วยมีโรคทางกายหรือกำลังกินยาอื่นๆ ที่ทำให้ใช้ยาบางตัวไม่ได้หรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะตอบสนองต่อยาแก้เศร้าตัวแรกที่ให้ หากอาการยังไม่ดีในระยะแรก ๆ อาจเป็นเพราะยังปรับยาไม่ได้ขนาด หรือยังไม่ได้ระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์ได้เต็มที่เสียมากกว่า ถ้าแพทย์รักษาไประยะหนึ่งแล้ว และเห็นว่าให้ยาในขนาดที่พอเพียงแล้วผู้ป่วยยังอาการดีขึ้นไม่มาก ก็อาจเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นต่อไป

Posted in Article

Post navigation

ทำความรู้จัก “โรคซึมเศร้า” และวิธีการดูแล ฟื้นฟู จิตใจ
ลูกเป็นไข้หวัด ไม่รับประทานยา จะหายได้หรือไม่?

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ