Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

ยาทรามาดอลใช้ผิดอาจถึงตาย

Posted on September 16, 2020September 16, 2020 by visaza_effects
ยาทรามาดอลใช้ผิดอาจถึงตาย

Tramadol ภัยร้ายที่คุณไม่รู้
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะพบข่าวปัญหายาเสพติดตามสื่อต่างๆ เป็นระยะๆ แม้จะมีกฎหมายออกมาควบคุม เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีบุคคลที่พยายามนำพืชหรือยาที่หาได้ง่ายตามท้องตลาดมาประยุกต์ใช้เพื่อเสพติด เช่น ใบกระท่อมนำมาผสมกับเครื่องดื่มหรือที่รู้จักในชื่อ “สี่คูณร้อย” และยาต่างๆ ได้แก่ ยานอนหลับ alprazolam ยารักษาภูมิแพ้ dimenhydramine ยาแก้ไอ codeine หรือแม้กระทั่งยาแก้ปวด tramadol ที่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้เพื่อเสพติด

ยาทรามาดอลใช้ผิดอาจถึงตาย

Tramadol เป็นยาในกลุ่มโอพิออยด์ (opioids) ออกฤทธิ์เหมือนมอร์ฟีน และสามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ทำให้ยาชนิดนี้ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดได้ง่าย โดยนำยา tramadol ผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เป็นต้น หลังจากดื่มเครื่องดื่มที่ผสมยา tramadol เข้าไปจะทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข (euphoria) จึงทำให้ผู้ใช้มีความต้องการใช้ทุกวัน และเมื่อใช้อย่างต่อเนื่องติดต่อกันจะทำให้มีความต้องการปริมาณยาที่เพิ่มมากขึ้น จนเกิดอาการติดยา(addiction) ซึ่งนำไปสู่อาการถอนยาได้ หากไม่ได้รับยาเข้าสู่ร่างกาย การติดยาดังกล่าวสามารถอธิบายได้ด้วยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของตัวยา คือ ออกฤทธิ์กระตุ้นมิวรีเซพเตอร์ (µ-receptor) ทำให้เกิดการปลดปล่อยสารสื่อประสาทโดพามีน (dopamine) ที่สมองมีผลทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข และการติดยา1,2

ในทางการแพทย์ Tramadol ใช้ระงับอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรงเช่นเดียวกับมอร์ฟีน (morphine) โดยออกฤทธิ์กระตุ้นที่มิว รีเซปเตอร์ แต่เนื่องจากยาชนิดนี้ระงับอาการปวดได้น้อยกว่ามอร์ฟีน 5-20 เท่า จึงทำให้ยาชนิดนี้ไม่จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้ tramadol ยังออกฤทธิ์ระงับปวดปลายประสาท โดยออกฤทธิ์ยับยั้งตัวเก็บกลับสารสื่อประสาท (transporter) ชนิดซีโรโธนิน(serotonin) และ นอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine) ที่บริเวณปลายประสาท ทำให้บริเวณปลายประสาทมีปริมาณสารสื่อประสาททั้งสองชนิดเพิ่มขึ้น จึงสามารถลดอาการปวดได้ ขนาดยาที่แนะนำสำหรับรักษาอาการปวด คือ 50-100 มิลลิกรัม รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมง โดยขนาดยาสูงสุดที่แนะนำต่อหนึ่งวัน คือ400 มิลลิกรัม3, 4

ยาทรามาดอลใช้ผิดอาจถึงตาย

ผลข้างเคียงของยา Tramadol พบได้ตั้งแต่ไม่รุนแรง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก มือสั่น ใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ มึนงง ง่วงซึม ประสาทหลอน จนถึงรุนแรงระดับนำไปสู่การเสียชีวิต เช่น ชักกดศูนย์การหายใจของร่ายกาย หรือซีโรโธนินซินโดรม (serotonin syndrome) ซึ่งจะมีอาการแสดงในหลายๆ ระบบของร่างกายพร้อมกัน เช่น กล้ามเนื้อเกร็งกระตุกร่วมกับความดันโลหิตสูงและประสาทหลอน ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้ โดยไม่รักษาจะนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด2
จะเห็นได้ว่าการนำยา tramadol มาใช้เสพติดเพื่อให้เกิดอาการเคลิ้มสุข เป็นอันตรายอย่างมากอาจถึงแก่ชีวิต เพราะฉะนั้นคงไม่คุ้มค่ากับการต้องแลกชีวิตเพียงเพื่อความสุขชั่วครู่ นอกจากทำลายสุขภาพแล้วการใช้ยานี้เพื่อการเสพติดอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ทั้งด้านครอบครัว สังคม และประเทศชาติตามมาอีกด้วย

Posted in บทความ

Post navigation

ยาสมุนไพร
อันตรายจากการใช้ยา

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ