Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

บทความ

จะทำไมอย่างไร หากคุณเป็นคนหลั่งเร็ว

Posted on April 18, 2021April 18, 2021 by visaza_effects
จะทำไมอย่างไร หากคุณเป็นคนหลั่งเร็ว

การหลั่งเร็วถือว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคู่นอนหรือคู่สามีภรรยาสะส่วนใหญ่เลยที่เดียว เพราะเพศสัมพันธ์ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของคู่ชีวิตบ้างคู่และอาจจะเป็นส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้ หากการร่วมเพศไม่มีความสุขก็อาจจะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงคันแอบไปมีเล็กมีน้อยเลยก็ว่าได้วันนี้เราเลยอยากจะมาช่วยแนะนำ สำหรับหนุ่มๆที่หลั่งเร็วว่าจะมีวิธีใดที่ช่วยได้บ้าง

เมื่ออาการหลั่งเร็วเริ่มก่อให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์และความมั่นใจในตนเอง ไม่ควรลังเลใจที่จะไปปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งแพทย์อาจให้ยารักษาตามอาการ เช่น ให้รับประทานยาต้านเศร้า หรือให้ใช้ยาชาทาอวัยวะเพศก่อนมีกิจกรรมทางเพศ รวมถึงอาจแนะนำวิธีการอื่น ๆ เช่น พูดคุยปรับความเข้าใจกับคู่ครองเพื่อหาทางออกที่ดีร่วมกัน เข้ารับการบำบัดหรือรับคำปรึกษาจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต รวมถึงอาจใช้เทคนิคทางเพศบางประการเพื่อช่วยบริหารขณะมีเพศสัมพันธ์และลดปัญหาหลั่งเร็ว ดังต่อไปนี้

  • สำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง

นอกจากจะช่วยปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศและทำให้เกิดความสุขแล้ว การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองของผู้ชายยังมีประโยชน์ต่อการร่วมเพศเช่นกัน เพราะหากผู้ชายไม่ได้ทำกิจกรรมทางเพศมานานกว่า 1 วัน จะทำให้หลั่งน้ำอสุจิได้เร็วกว่าที่ควร เพราะฉะนั้นผู้ชายควรสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองก่อนร่วมเพศประมาณ 1-2 ชั่วโมง และอาจทำในตอนเช้าแล้วจึงมีเพศสัมพันธ์ในตอนค่ำ หรือทำในตอนค่ำแล้วจึงมีเพศสัมพันธ์ในตอนเช้า

นอกจากนี้ การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองยังช่วยฝึกฝนให้ผู้ชายควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิได้ดีขึ้น ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาหลั่งเร็วควรสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง 3-5 วัน/สัปดาห์ โดยการใช้มือเปล่าสลับกับมือที่ชุ่มน้ำสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เพื่อฝึกฝนให้ร่างกายรับรู้ความรู้สึกที่หลากหลาย และเมื่อรู้สึกใกล้ถึงจุดสุดยอดให้หยุดพักไปก่อนประมาณ 5 นาที จากนั้นจึงค่อยเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง โดยปฏิบัติเช่นนี้ซ้ำ ๆ 3-4 รอบก่อนจะหลั่งน้ำอสุจิในรอบสุดท้าย วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ชายเรียนรู้ขีดจำกัดของตัวเองและสามารถนำประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์ โดยการหยุดพักเป็นระยะก่อนไปถึงจุดสุดยอดเพื่อแก้ปัญหาอาการหลั่งเร็ว

  • หยุดพักก่อน แล้วเริ่มต้นใหม่

แทนที่จะร่วมเพศในทันที คู่รักอาจเริ่มต้นจากการเล้าโลมกันก่อนเพื่อคลายความเขินอายหรือความวิตกกังวล แต่ไม่ควรเล้าโลมนานเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการหลั่งเร็วได้ขณะมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น เมื่อรู้ตัวว่าใกล้ถึงจุดสุดยอดให้ชะลอความเร็วหรือพักไปก่อน โดยอาจหยุดนิ่ง ขยับองคชาติไปมาเป็นวงกลมเพื่อลดการปลุกเร้า หรือถอนอวัยวะเพศออกมาก่อนเพื่อหยุดแรงกระตุ้น เมื่อทั้งคู่รู้สึกผ่อนคลายอารมณ์ลง จึงค่อยเริ่มต้นปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศใหม่ มีเพศสัมพันธ์ต่อไป และหลั่งอสุจิเมื่อถึงจุดที่ตนพอใจ

นอกจากนี้ ผู้หญิงอาจช่วยชะลอการหลั่งเร็วได้ด้วยการใช้นิ้วมือบีบเบา ๆ บริเวณหัวองคชาติ โดยบีบค้างไว้เมื่อผู้ชายรู้สึกเกือบถึงจุดสุดยอดจนกว่าความต้องการหลั่งน้ำอสุจิจะลดลง วิธีนี้อาจช่วยให้ร่างกายของผู้ชายเรียนรู้การควบคุมน้ำอสุจิไม่ให้หลั่งออกมาก่อนกำหนด แต่ไม่ควรทำหากผู้ชายรู้สึกเจ็บปวด ทั้งนี้ ทั้งคู่ควรตกลงกันก่อนว่าต้องการใช้เวลาในการมีเพศสัมพันธ์นานเท่าไรจึงจะหลั่งน้ำอสุจิจริง หากผู้ชายเผลอหลั่งน้ำอสุจิไปก่อน อาจรอจนกว่าองคชาติจะแข็งตัวใหม่แล้วค่อยร่วมเพศกันอีกครั้ง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้มีเพศสัมพันธ์ได้ยาวนานขึ้น เพราะผู้ชายได้ปลดปล่อยความต้องการทางเพศบางส่วนไปแล้ว

  • สวมถุงยาง ลดสัมผัส ลดอารมณ์

ด้านการใช้ตัวช่วย ถุงยางอนามัยกับสารหล่อลื่นเป็นตัวเลือกที่ดีและน่าสนใจไม่น้อย เพราะการใช้สารหล่อลื่นช่วยลดการเสียดสีขณะมีเพศสัมพันธ์ ส่วนการสวมถุงยางอนามัยโดยเฉพาะถุงยางแบบหนาจะช่วยลดความรู้สึกทางเพศที่ถูกกระตุ้นจากการร่วมเพศ จึงทำให้ผู้ชายควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิได้ดีขึ้นและช่วยแก้ปัญหาการหลั่งเร็วได้

  • ฝึกขมิบเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานซึ่งเป็นบริเวณที่ควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิจะช่วยยืดระยะเวลาในการหลั่งน้ำอสุจิได้ โดยควรเริ่มจากการลองกลั้นปัสสาวะหรือกลั้นผายลมกลางคันดูก่อน แล้วจึงฝึกฝนตัวเองด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวนาน 3 วินาที สลับกับการคลายกล้ามเนื้ออีก 3 วินาทีต่อเนื่องกัน 10 ครั้งจนครบ 3 ยกในแต่ละวัน โดยไม่ควรเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ต้นขา หรือก้นร่วมด้วย และไม่ควรกลั้นหายใจขณะบริหารกล้ามเนื้อในท่านี้ ทั้งนี้ อาจเริ่มบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานลักษณะนี้ในท่านอนก่อน แล้วค่อยลองเปลี่ยนมาบริหารในท่านั่งและท่ายืน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งช่วยควบคุมการหลั่งน้ำอสุจิได้ดีขึ้น

  • ก้าวผ่านปัญหาหลั่งเร็วด้วยความสัมพันธ์ที่ดี

นอกเหนือจากเทคนิควิธีการต่าง ๆ การสื่อสารกับคู่ชีวิตก็เป็นพื้นฐานของการมีความสัมพันธ์ที่ดี ผู้ที่มีปัญหาหลั่งเร็วควรพูดคุยกับคู่ของตนให้รับรู้สถานการณ์ และฝ่ายหญิงก็ไม่ควรกดดันฝ่ายชายด้วยการจับเวลา เพราะระยะเวลาของการมีเพศสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ไม่ควรมีกำหนดการที่ตายตัว และความเครียดจากแรงกดดันมีแต่จะส่งผลให้ปัญหานี้แย่ลง การปรับความเข้าใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ฝ่ายชายรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นซึ่งช่วยชะลอการหลั่งของน้ำอสุจิได้ อย่างไรก็ตาม หากพยายามปฏิบัติตามแนวทางต่าง ๆ แล้วยังอาการไม่ดีขึ้น หรือปัญหาหลั่งเร็วก่อให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจและความสัมพันธ์เป็นอย่างมาก ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

Posted in บทความLeave a Comment on จะทำไมอย่างไร หากคุณเป็นคนหลั่งเร็ว

สารต้องห้าม ปรอท(mercury)

Posted on April 16, 2021April 16, 2021 by visaza_effects
สารต้องห้าม ปรอท(mercury)

ปรอท(mercury) เราคงจะเคยได้ยินชื่อสารนี้มามากพอสมควรเพราะเป็นสารที่อันตรายและต้องห้ามในประเทศ แต่ก็ยังมีการลัดลอบการผลิตโดยสารตัวนี้จะช่วยให้ผิวขาวขึ้นโดยภายในหนึ่งวันก็ขาวแล้ว แต่สารนี้สงผลร้ายแรงเป็นอย่างมากกับการใช้ไประยะยาวสารประกอบของปรอททำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ เกิดฝ้าถาวร ผิวบางลง และเมื่อใช้ติดต่อกัน เป็นเวลานานจะทำให้เกิดพิษสะสมของสารปรอทในผิวหนัง และดูดซึมเข้าสู่กระแส โลหิต ทำให้ตับและไตอักเสบ เกิดโรคโลหิตจาง ทางเดินปัสสาวะอักเสบ อีกทั้งในสตรีมีครรภ์ปรอทจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และไปสู่ทารก ทำให้เด็กมีสมองพิการและปัญญาอ่อน

 จากการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ครีมหน้าขาว-หน้าใส เพื่อตรวจสอบคุณภาพจากหลายหน่วยงานพบว่า จำนวนถึงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่มีสารปรอทในปริมาณสูงปนอยู่ในระดับหลายพันถึงหลายหมื่นส่วนในล้านส่วน ปรอทถูกกำหนดเป็นสารห้ามใช้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม ใน การผลิตเครื่องสำอาง ลำดับที่ 221 ตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่ม125 ตอน พิเศษ 80 ง ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 โดยกำหนดชื่อสารห้ามใช้ คือ “ปรอท และสารประกอบของปรอท”   

Posted in อันตรายในการใช้ยาLeave a Comment on สารต้องห้าม ปรอท(mercury)

จริงๆแล้วสมุนไพร คืออะไร อยากรู้ไหม

Posted on April 14, 2021April 14, 2021 by visaza_effects
จริงๆแล้วสมุนไพร คืออะไร อยากรู้ไหม

สมุนไพรเราจะได้การทำยาสมุนไพรโดยมาการเล่าต่อๆกันมาว่า มีมาตั้งแต่ยุคโบราณและพืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผงเป็นต้นมีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้้เพราะยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพร ที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนังกระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี เช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ “พืชสมุนไพร” นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น


“พืชสมุนไพร” หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ 
1. รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร

Posted in ความรู้เรื่องยาLeave a Comment on จริงๆแล้วสมุนไพร คืออะไร อยากรู้ไหม

การใช้ Lamotrigine กับการเกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยโรคหัวใจ

Posted on April 12, 2021April 12, 2021 by visaza_effects
การใช้ Lamotrigine กับการเกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยโรคหัวใจ

วันนี้เราจะมารู้เกี่ยวเจ้าตัว Lamotrigine เป็นยาที่มีใช้กันมานานเกือบ 30 ปี ใช้รักษาโรคลมชัก (epilepsy) และ bipolar disorder ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่ชัดเจนในการรักษาโรค แต่ยานี้เป็น sodium channel blocker และอาจยับยั้งการหลั่ง glutamate และ aspartate ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้เป็น excitatory neurotransmitters ในระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อไม่นานมานี้หน่วยงาน FDA ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการทบทวนข้อมูลด้านความปลอดภัยของ lamotrigine หลังจากพบรายงานเกี่ยวกับการเกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ EKG) ที่ผิดปกติหลังจากใช้ยาดังกล่าว ซึ่งผู้ป่วยบางรายเกิดอาการเจ็บหน้าอก หมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)

ข้อมูลจากการศึกษาในหลอดทดลองยานี้มี class IB antiarrhythmic activity ในความเข้มข้มเท่ากับระดับยาในเลือดที่ให้ผลในการรักษาโรค ยานี้ลด ventricular conduction (ทำให้ QRS กว้าง) และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ในผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจทั้งด้านโครงสร้างและการทำงาน นอกจากนี้การมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด QRS กว้างจากการใช้ lamotrigine ได้เช่นกัน แต่คนสุขภาพดีไม่พบผลเสียต่อหัวใจดังกล่าวข้างต้น ขณะนี้หน่วยงาน FDA ของประเทศสหรัฐอเมริกายังคงติดตามความปลอดภัยของยาดังกล่าว สำหรับช่วงแรกนี้ได้มีการเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะลงในเอกสารที่เป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์ยา

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยLeave a Comment on การใช้ Lamotrigine กับการเกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยโรคหัวใจ

การจำแนกยาเป็น 3 กลุ่ม ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

Posted on April 10, 2021April 10, 2021 by visaza_effects
การจำแนกยาเป็น 3 กลุ่ม ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

การที่เขาจะไปซื้อยาไม่ว่าจะที่ไหนก็ตามอันดับแรกก็คงหนีไม่พ้นความน่าเชื่อถือของร้ายขายยาและผู้ที่ขายให้เรานั้นเราเป็น เภสัชกร หรือไม เพราะการที่เราจะไปซื้อยาองโดยที่จะบอกว่าตัวเองเป็นอะไรนั้นมันค่อนข้างอันตรายและการไปซื้อยากับผู้ที่ไม่ใช่เภสัชกร เขาก็อาจจะหยิบยาให้เราผิด หรือให้คำแนะนำเราผิดได้ ดังนั้นเรามารู้กันดีกว่าว่ายาชนิดไหนที่ควรจะซื้อที่ถึงจะปลอดภัย

  •  ยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาที่ได้รับการพิจารณาแล้วว่าปลอดภัย โอกาสเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีน้อย ให้วางจำหน่ายได้โดยทั่วไป และผู้ซื้อสามารถตัดสินใจซื้อด้วยตนเองตามอาการเจ็บป่วย แต่ยาที่เป็นยาสามัญประจำบ้านได้นั้นต้องเป็นตำรับยา สรรพคุณ ขนาด วิธีใช้ คำเตือนการเก็บรักษา และขนาดบรรจุตามที่กำหนด

  •       ยาอันตราย เป็นยาที่ต้องขายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันภายใต้การควบคุมของเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ

  •       ยาควบคุมพิเศษ เป็นยาที่จ่ายได้เมื่อมีการนำใบสั่งยามาซื้อยา กลุ่มนี้เป็นยาที่มีความเป็นพิษภัยสูงหรืออาจก่ออันตรายต่อสุขภาพได้ง่าย จึงเป็นยาที่ถูกจำกัดการใช้

ยาทั้งสามกลุ่มนี้สามารถจำหน่ายได้ในร้านที่มีใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ส่วนร้าน ขย. 2 นั้น จำหน่ายได้เฉพาะยาสามัญประจำบ้าน และยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่มิใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ โดยมีเงื่อนไขว่ายาที่จำหน่ายในร้าน ขย. 2 นั้น ต้องเป็นการจำหน่ายโดยไม่แบ่งออกมาจากภาชนะบรรจุเดิม คือต้องจำหน่ายทั้งแผงหรือขวด

จำแนกยากลุ่มต่าง ๆ กระทำได้โดยสังเกตจากฉลาก เพราะกฎหมายกำหนดให้ยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับแล้วทุกตัว ต้องระบุประเภทของยาบนฉลากด้วย อักษรสีแดง ( ตัวอย่างยากลุ่มต่าง ๆ แสดงไว้ในภาคผนวกที่ 1) ส่วนความรับผิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับประเภทของยามีดังนี้

Posted in ความรู้เรื่องยาLeave a Comment on การจำแนกยาเป็น 3 กลุ่ม ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

เรียนรู้ ป้องกัน รักษาโรคลมแดด

Posted on April 8, 2021April 8, 2021 by visaza_effects
เรียนรู้ ป้องกัน รักษาโรคลมแดด

โรคลมแดด ถึงหน้าร้อนกันแล้วนี้คือโรคยอดฮิตที่เป็นกันมากไม่ว่าจะเป็นคนที่ออกกำลังกายกลางแจ้งหรือทำงานกลางแจ้ง หากเราไม่รู้วิธีป้องกันหรือมีคนเกิดขึ้นต่อหน้าเราถ้าเราปฐมพยาบาลเลื้องต้นไม่ทันเวลาก็อาจทำให้ถึงชีวิตได้ โดยโรคลมแดดเกิดจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ตามปกติ โดยอาการอาจเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มสูงถึง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป 

อาการของโรคลมแดด
อาการของโรคลมแดดเกิดขึ้นได้ในทันทีโดยที่ไม่มีสัญญาณเตือน และอาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปแต่ละบุคคล โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นถึง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป  
  • ร่างกายไม่ขับเหงื่อออกแม้จะมีอุณหภูมิในร่างกายสูง
  • ผิวหนังแดง เนื่องจากอุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูง
  • ผิวหนังของผู้ป่วยจะแห้งและร้อน แต่กรณีที่เป็นโรคลมแดดจากการออกกำลังกายผิวอาจมีความชื้นอยู่บ้าง
  • เป็นตะคริวหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หายใจถี่และตื้น
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการชัก
  • วิงเวียนศีรษะ มึนงง หน้ามืด หรือเป็นลมหมดสติ
  • มีสภาพจิตใจหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น สับสนมึนงง กระสับกระส่าย หงุดหงิด พูดไม่ชัด มีอาการเพ้อ หรือไม่สามารถทรงตัวได้

สาเหตุของโรคลมแดด

สาเหตุที่สำคัญของโรคลมแดด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงหรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นและไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้ตามปกติ เช่น เมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้นเป็นเวลา 2 หรือ 3 วันติดต่อกัน มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง
  • การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก เมื่อออกกำลังกายหรือทำกิจรรมที่ใช้กำลังมาก โดยเฉพาะเมื่อทำกิจกรรมในสถานที่ที่มีอากาศร้อนจัดมักเป็นเหตุทำให้เกิดโรคลมแดดได้ อย่างไรก็ตาม โรคลมแดดประเภทนี้อาจเกิดขึ้นได้แม้ไม่ได้อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อน

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคลมแดดในแต่ละประเภทข้างต้น ได้แก่

  • สวมใส่เสื้อผ้ามากชิ้นเกินไป เสื้อผ้าระบายความร้อนได้ไม่ดี และมีสีเข้ม
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกายขาดประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมิ
  • ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ ไม่มีน้ำทดแทนจากการเสียเหงื่อ

ไม่ว่าใครก็เป็นโรคลมแดดได้ แต่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากมีปัจจัยดังต่อไปนี้

  • เด็กเล็กและผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป เนื่องจากประสิทธิภาพในการรับมือกับอุณหภูมิของร่างกายขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของระบบประสาทส่วนกลางในร่างกาย ดังนั้น ผู้สูงอายุที่ระบบประสาทส่วนกลางเริ่มเสื่อมลง หรือเด็กเล็กที่ประสาทส่วนกลางยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงทำให้ประสิทธิภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในร่างกายน้อย นอกจากนั้น ทั้ง 2 กลุ่มอายุดังกล่าว ยังมีความเสี่ยงต่อภาวะร่างกายขาดน้ำได้ง่าย ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคลมแดดได้มากขึ้น
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับหัวใจและปอด
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น ผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ
  • ผู้ที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมากเป็นระยะเวลานาน เช่น ทหาร นักกีฬา หรือผู้ที่ใช้แรงในการทำงาน  
  • ผู้ที่ร่างกายขาดน้ำ อยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หรือสวมใส่เสื้อผ้าคับและระบายอากาศได้ไม่ดี
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาแก้แพ้ เบต้า บล็อกเกอร์ ยารักษาโรคทางจิต หรือยาเสพติด
  • การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น คลื่นความร้อน (Heat Wave) ในช่วงต้นฤดูร้อน หรือเดินทางไปยังภูมิประเทศที่มีอากาศร้อน
  • ไม่มีเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะในช่วงที่มีสภาพอากาศร้อนจัด สามารถใช้พัดลมช่วยได้แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องปรับอากาศจะมีประสิทธิภาพในการช่วยให้อุณหภูมิเย็นลงและลดความชื้นได้ดีกว่า

การรักษาโรคลมแดดการรักษาโรคลมแดดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งผู้ที่เกิดอาการต้องได้รับความช่วยเหลือในทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสมองและอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย ด้วยการทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงเป็นปกติโดยเร็ว

เบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล คนรอบข้างอาจช่วยเหลือผู้ป่วยได้โดยการนำตัวไปไว้ในที่ร่มหรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ ถอดหรือคลายเสื้อผ้าที่คับแน่นออก และประคบด้วยความเย็น

วิธีการรักษาเพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง ได้แก่

  • ให้ผู้ป่วยอาบน้ำเย็นหรือแช่ตัวลงไปในน้ำเย็น เป็นวิธีที่จะช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงได้อย่างรวดเร็ว
  • แพทย์บางท่านจะใช้เทคนิคการระเหย โดยใช้น้ำเย็นชโลมตามผิวหนังของผู้ป่วยและใช้พัดลมเป่าให้เกิดการระเหย ซึ่งเป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้ร่างกายเย็นลง
  • ใช้แพ็คน้ำแข็งประคบไปที่บริเวณรักแร้ ขาหนีบ คอและหลัง เพราะบริเวณดังกล่าวจะมีเส้นเลือดที่ใกล้กับชั้นผิวหนังอยู่จำนวนมาก วิธีนี้จะช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้เป็นอย่างดี
  • พยายามทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงมาที่ประมาณ 38.3-38.8 องศาเซลเซียส โดยคอยเฝ้าดูด้วยเทอร์มอมิเตอร์ ในขณะที่ยังคงใช้วิธีรักษาเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย
  • หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ควรให้ดื่มน้ำเย็นที่ไม่มีส่วนผสมของคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
  • วิธีการรักษาเพื่อทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหนาวสั่น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้น แต่ทำให้วิธีการรักษาโรคลมแดดมีประสิทธิภาพลดลง แพทย์จึงอาจให้ผู้ป่วยใช้ยาที่ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวลง เช่น ยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) เพื่อบรรเทาอาการหนาวสั่น
  • แพทย์อาจให้น้ำเกลือหรือเกลือแร่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำ

ภาวะแทรกซ้อนโรคลมแดดโรคลมแดดทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดอาการและหากได้รับการช่วยเหลือล่าช้า อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองหรืออวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ไตวายหรือหัวใจวาย และอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรได้ นอกจากนั้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีหรือรักษาได้ไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกันโรคลมแดด

การป้องกันโรคลมแดดทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • วิธีที่สำคัญที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดโรคลมแดด คือการหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายขาดน้ำและหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมาก โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีอากาศร้อนและชื้น แต่หากจำเป็นก็ควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • คอยดูการแจ้งเตือนการเกิดคลื่นความร้อน (Heat Wave) ในช่วงฤดูร้อน เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงหรือเตรียมตัวป้องกัน
  • หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้ง ต้องปกป้องตนเองจากแสงแดด ด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายระบายอากาศได้ดี สีอ่อน หรือสวมหมวกปีกกว้าง รวมไปถึงใช้ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดด (SPF) 15 ขึ้นไป
  • หลีกเลี่ยงออกไปกลางแจ้งในช่วงที่มีอากาศร้อน เวลาประมาณ 11.00-15.00 น. ของแต่ละวัน แต่หากจำเป็นให้พยายามอยู่ในที่ร่มและเตรียมอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดให้พร้อม
  • หากต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีอากาศร้อน ให้ระมัดระวังในช่วงวันแรก ๆ เพราะร่างกายกำลังปรับตัวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น สลัดและผลไม้
  • ใช้น้ำพรมตามผิวหนังและเสื้อผ้า หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ วางไว้ที่คอ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมการปัสสาวะของตนเอง หากไม่ค่อยถ่ายหรือปัสสาวะมีสีเข้ม แสดงว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ ควรดื่มน้ำให้มาก
  • จัดการสภาพแวดล้อมหรือที่พักอาศัยให้เย็นสบาย เช่น การปิดหน้าต่างหรือผ้าม่านบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด หรือหากต้องการนอนหลับพักผ่อน ควรไปอยู่ในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศหรือพัดลม นอกจากนั้น ควรปิดไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น เพราะเป็นแหล่งกำเนิดความร้อน และการปลูกต้นไม้และวางอ่างน้ำไว้บริเวณที่พักอาศัยจะช่วยให้อุณหภูมิเย็นลงได้
  • ระวังอย่าให้เด็ก ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ในรถที่จอดเอาไว้ โดยเฉพาะหากจอดเอาไว้กลางแดด เพราะภายใน 10 นาที อุณหภูมิในรถจะเพิ่มขึ้นมากว่า 6 องศาเซลเซียส ซึ่งมีอันตรายมาก
  • ควรเฝ้าระวังผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมแดดได้มาก
  • ผู้ที่ใช้ยาบางชนิดหรือเป็นโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาเมื่อต้องเจอกับอากาศร้อน ควรหลีกเลี่ยงอากาศร้อนและหากมีสัญญาณของอาการที่ผิดปกติ ควรรีบหาทางรักษาหรือทำให้ร่างกายเย็นลงโดยเร็ว และหากจำเป็นต้องทำกิจกรรมหรือแข่งกีฬาที่อยู่ในสภาพอากาศร้อนหรือกลางแจ้ง ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีบริการทางการแพทย์เตรียมพร้อมอยู่
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม ควรออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ พร้อมกับดื่มน้ำในปริมาณมาก
Posted in บทความLeave a Comment on เรียนรู้ ป้องกัน รักษาโรคลมแดด

การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร

Posted on February 22, 2021February 22, 2021 by visaza_effects

สำหรับมนุษย์แม่แล้วนั้น.. มั่นใจว่าทุกคนอยากจะสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไม่ป่วย จะได้ดูแลลูกน้อยสุดที่รักได้ด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ แต่แม่ก็คนธรรมดา ไหนจะอดนอนต่อเนื่องกันเป็นปีๆ ไหนจะที่ต้องอุ้มลูกตลอดเวลา ไหนจะลูกดราม่าแม่ก็ต้องปลอบ ทางเราก็ไม่ใช่ยอดมนุษย์เนาะ มันก็คงมีเจ็บป่วยไม่สบายบ้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พอไม่สบายก็ต้องกินยา แต่ถ้าใครที่ให้นมลูกอยู่ล่ะ มันจะกระทบลูกมั้ย กังวลใจไปอี๊กกกกก วันนี้เราเลยจะมาคุยกันในหัวข้อนี้เลย

“การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร”

หลักการทั่วไปในการใช้ยาในหญิงให้นมบุตร

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เพราะขึ้นชื่อว่ายา ยังไงก็คือสารเคมี เป็นแม่คนแล้วต้อง อดทน อดทน อดทน !!
  • หรือถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ควรเลือกใช้ยาที่ปลอดภัย ด้วยขนาดยาต่ำที่สุด ในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
  •  เลือกใช้ยาในรูปแบบอื่นที่ออกฤทธิ์แบบเฉพาะที่แทนการใช้ยาแบบฉีดหรือรับประทาน เช่น ยานวดบรรเทาปวด ยาแก้คัดจมูกแบบพ่น
  • ให้ลูกดูดนมให้เต็มที่ก่อนทานยา และทิ้งห่างประมาณ 2-3 ชั่วโมง ค่อยให้นมรอบถัดไป
  •  หรือถ้าเป็นสายนักปั๊ม อาจจะใช้นมสต๊อคไปก่อนระหว่างที่คุณแม่ทานยา ในกรณีจำเป็นต้องได้รับยาที่ห้ามใช้ในหญิงให้นมบุตรจริงๆ ก็ต้องหยุดให้นมค่ะ เพราะความปลอดภัยของลูกคือสิ่งสำคัญที่สุด

กลุ่มอาการไข้หวัด

โรคยอดฮิต สามัญประจำบ้าน เป็นหวัดก็ให้นมลูกได้น๊าาาา แค่เลือกยาให้เหมาะสมปลอดภัย ไม่กระทบน้ำนม แค่นั้นเอง 
อ้อ!! แล้วก็ระวังเอาหวัดไปติดลูกด้วย ใส่มาสก์ป้องกันหน่อย
 ปวดหัว ตัวร้อน
 Paracetamol 
 แก้แพ้ คัดจมูก น้ำมูกไหล
 Cetirizine
 Loratadine
Pseudoephedrine*
Chlorpheniramine*
*อาจมีผลทำให้น้ำนมลดลงได้
 แก้ไอ ละลายเสมหะ
 Dextromethorphan
 Bromhexine
 Carbocisteine

ยาฆ่าเชื้อ

ยาฆ่าเชื้อก็สามารถกินได้ค่ะ ถ้าจำเป็น  ตัวอย่างยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย ก็ตามนี้เลยค่า
 กลุ่ม Penicillins
 Amoxicillin
 Dicloxacillin
 Cephalosporins
 Cefalexin
 Cefaclor
 Maclorides
 Azithromycin
Clarithromycin

ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ คลื่นไส้อาเจียน

บางทีแม่ก็ไม่ได้อยากจะท้องเสียอ่ะเนาะ แต่มันห้ามบ่ได้ ท้องเสียแล้วให้นมลูกได้นะคะ ไม่มีปัญหา แต่อย่าลืมดูแลเรื่องความสะอาดให้ดีเท่านั้นเองค่า
 Activated Charcoal (ดูดซับสารพิษ)
 ORS (เสริมเกลือแร่ที่สูญเสียไป)
 Domperidone (แก้คลื่นไส้อาเจียน)
 Norfloxacin* (ยาฆ่าเชื้อ)
ไม่แนะนำให้ใช้เพราะมีโมเลกุลของยาเล็กอาจจะผ่านทางน้ำนมได้

อาการปวดต่างๆ

อันนี้ก็โรคยอดฮิตของมนุษย์แม่  ทั้งปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขน ปวดข้อมือ สารพัดอันเนื่องมาจากการอุ้มลูกตลอดเวลา ตัวอย่างยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยได้แก่
 Diclofenac
 Ibuprofen
 Mefenamic acid
 Celecoxib

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยTagged การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตรLeave a Comment on การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร

วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกาย

Posted on February 22, 2021February 22, 2021 by visaza_effects

การใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย”

ยา ที่เราใช่ในการรักษาไข้นั้นจะช่วยให้เราหายป่วย ยาทุกอย่างนั้นมีความอัตรายหายใช่เกิดขนาดหรือใช่ในเวลาที่ไม่จำเป็น จะทำให้ร่างกายนั้นสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้ทุกระบบ ที่เป็นผลจากการกินยาเกินขนาด ในบางครั้งผู้ป่วยก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ถึงจะมีเรื่องดีในการรักษา แต่ก็มีข้อเสียที่ตามมาพร้อมๆกัน

“ประโยชน์ของยา”

ผลของยาจะออกฤทธามวัตถุประสงค์ที่ใช้ เช่น ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยในการรักษาโรคติดเชื้อบร

” อันตรายของยา”

สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาเช่นกันโดยเริ่มจาก อาการไม่พึงประสงค์หรือผลข้างเคียงของยาที่ไม่รุนแรงเช่น คลื่นไส้กระสับกระส่าย นอนไม่หลับหรือง่วงนอน จนเสียชีวิต อย่างรุนแรงเช่นตับถูกทำลายหรือหายใจไม่ออก อันตรายจากยาอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เนื่องจากปฏิกิริยาระหว่างยาสองตัว (ปฏิกิริยาระหว่างยา) ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหารเครื่องดื่มหรืออาหารเสริม(เช่นวิตามินหรือสมุนไพร) ที่กินระหว่างการใช้ยาซึ่งอาจส่งผลให้ยาบางชนิดที่มีประสิทธิภาพหรือลดลงจนรุนแรงเกินไป จนเกิดผลข้างเคียงเกินความคาดหมายหรืออาจทำให้เกิดสารเคมีใหม่ที่มีอันตรายสูง

วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกาย 2

คำแนะนำพื้นฐานสำหรับการใช้ “ยา” ที่ปลอดภัยคือการลดความเสี่ยงของการใช้ยาและได้รับประโยชน์จากยา

1.พูดคุยกับแพทย์เภสัชกรบอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวคุณให้มากที่สุด เช่น

-เรื่องของการแพ้ยา

-ช่วงนี้ได้ทานอาหารเสริมอยู่รึป่าว

-ท่านสามารถทานยาเม็ดได้หรือไม่ (เพราะบ้างคนไม่ปัญหาเกี่ยวกับการกลืนยาเม็ด)

-อยู่ในช่วงมีบุตรอยู่รึป่าว

-สามารถสอบถามรายละเอียดที่มีข้อสงสัยกับแพทย์ได้เลย

2. รู้จักยาที่ใช้ทั้งยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์หรือว่าคุณซื้อมาด้วยตัวเองจากร้านขายยา เช่น

– ชื่อสามัญของยา เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำซ้อนและการที่ได้รับยาเกินขนาด

– ชื่อทางการค้าของยา

– ลักษณะทางกายภาพของยา เช่น สี กลิ่น รูปร่าง ฯลฯ เมื่อสภาพของยาเปลี่ยน เช่น การเปลี่ยนสีให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าว เพราะมันอาจทำให้เกิดอันตรายได้

– ข้อกำหนดการใช้ยาเช่นเวลาที่ใช้และระยะเวลาที่ควรใช้

– ควรหยุดยาในสถานการณ์ใดทันที

– ผลข้างเคียงของยาหรือปฏิกิริยาของยาที่ควรระวัง

วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกาย 3

3. อ่านฉลากยาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

– ทำความเข้าใจรายละเอียดของยาจากฉลากยา ควรอ่านฉลากยาอย่างน้อย 2 ครั้งก่อนใช้ยาเพื่อให้แน่ใจว่ายานั้นถูกต้องหากคุณไม่เข้าใจซึ่งควรปรึกษาแพทย์เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญ

– เก็บยาในสถานที่ที่เหมาะสมตามที่ระบุไว้ในฉลาก

– อย่าเก็บยาประเภทต่าง ๆ ไว้ในภาชนะเดียวกัน และไม่ควรเก็บยาไว้ใช้ภายในและยาสำหรับใช้ภายนอกนั้นไว้ในที่เดียวกัน

4. หลีกเลี่ยงการเพิ่มความเสี่ยงของปฏิกิริยาระหว่างยา

– จำและหลีกเลี่ยงอย่างเคร่งครัดต่อ ยา อาหารหรือเครื่องดื่มที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทานซึ่งก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนของการกระทำและสามารถเพิ่มอันตรายของยา

– หากเป็นไปได้ทุกครั้งที่คุณต้องการใช้ยาใหม่เพิ่มเติม คุณควรใช้ยาตัวเดียวกันที่กินอยู่ เพื่อแสดงแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อตรวจสอบว่ายา และเพื่อจัดยาอย่างเหมาะสม

วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกาย 4

5. สังเกตตนเองเกี่ยวกับผลกระทบข้างเคียงจากการใช้ยาหรือไม่

– สังเกตว่าผลของยานั้นเป็นไปตามแผนการใช้ยาหรือไม่ถ้าไม่ให้ไปพบแพทย์หรือเภสัชกรอีกครั้ง เพื่อประเมินและปรับการรักษา

– มุ่งเน้นไปที่อาการต่าง ๆ ของร่างกายหากมีสิ่งผิดปกติควรปรึกษาแพทย์

– ถามล่วงหน้าว่าสิ่งที่ควรทำเมื่อมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาหรือขอข้อมูลบางอย่างเพื่อลดผลข้างเคียงเช่นรับประทานยาหลังกินทันทีเพื่อลดอาการปวดท้อง

ยาทุกชนิดนั้นได้ระบุการใช่ยาอย่างถูกต้องไว้ที่ฉลากของตัวย้เองเสมอ การที่ทานยาปุ๊บแล้วจะหายจากไข้เลยถือว่าเป็นเรื่องที่ยาก แนะนำว่าอย่าใจร้อนไปเลยค่ะ แต่สำหรับท่านไหนที่มีปัญหาหรือมีข้อสงสัยในการใช่บาแนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เลยค่ะ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการใช่ยาผิดปกติ

การใช้ยาอย่างปลอดภัย

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยTagged วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกายLeave a Comment on วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกาย

พิษร้าย ‘ไซบูทรามีน’ สารอันตรายที่พบในยาลดความอ้วน

Posted on February 11, 2021February 11, 2021 by visaza_effects
พิษร้าย 'ไซบูทรามีน' สารอันตรายที่พบในยาลดความอ้วน

เป็นที่ทราบกันว่า “ไซบูทรามีน” เป็นสารอันตรายเพราะส่งผลกระทบต่อหัวใจและความดันโลหิต แต่ยังมีความเป็นพิษมากกว่านั้นหากอยู่ในอาหารเสริมที่กินทุกวัน

จากกรณีข่าวเผยผลตรวจพิสูจน์สารประกอบในยาลดน้ำหนักที่สาวแม่ลูกอ่อนชาว จ.อ่างทอง กินแล้วเสียชีวิตนั้น พบสารไซบูทรามีนและสารอันตรายอีกหลายชนิด จึงอยากให้เราฉุกคิดถึงการบริโภคยาเสริมอาหารกันให้มากขึ้น

มีข้อมูลจากศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี 3 ปี คือในปี 2558-2560 พบว่า มีผู้ที่เจ็บป่วยจากผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักทั้งหมด 244 ราย ร้อยละ 80 เป็นผู้หญิง ร้อยละ 20 เป็นผู้ชาย ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 13-48 ปี ถึงร้อยละ 86 และ อายุน้อยกว่า 12 ปี ร้อยละ 14 โดยค่ากลางของอายุผู้ป่วยจะอยู่ในช่วงวัย 20 ปี

ซึ่งหากพูดถึงอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมมากในไทย คงจะหนีไม่พ้น “อาหารเสริมลดน้ำหนัก” แม้ว่าการลดน้ำหนักนั้นสามารถทำไก้หลากหลายวิธี แต่อาหารเสริมลดน้ำหนักก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ดี เพราะวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่นั้นไม่ค่อยมีเวลาที่จะไปออกกำลังกาย หรือควบคุมอาหาร ทำให้ต้องใช้ตัวช่วยอย่างอาหารเสริมลดน้ำหนัก ซึ่งถ้าเราโชคร้ายอาจเจอกับอาหารเสริมลดน้ำหนักที่ใส่สารต้องห้ามอย่าง “ไซบูทรามีน”

ไซบูทรามีน คืออะไร?

ไซบูทรามีนคือเคมีอินทรีย์ที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางที่ทำให้คุณไม่รู้สึกหิว และอิ่มเร็วจึงเป็นที่นิยมในการลักลอบใส่ในอาหารเสริมลดน้ำหนัก 

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยสำหรับคนที่กินยาที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีน ได้แก่ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก

ยานี้ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ที่มีโรคต้อหิน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

9 อันตรายจากไซบูทรามีน

  1. รู้สึกปากแห้ง คอแห้ง แม้จะกินน้ำก็ไม่หายรู้สึกปากแห้ง
  2. กินอาหารไม่อร่อย ไม่รู้รสชาติอาหารไม่อร่อย
  3. เวียนหัว คล้ายๆ คนมีอาการเมา
  4. ปวดหัว เพราะความดันโลหิตสูง
  5. รู้สึกคลื่นไส้มากๆ จนถึงขั้นอาเจียน
  6. ท้องผูก ระบบขับถ่ายรวน
  7. นอนไม่หลับ รู้สึกไม่สบายตัว
  8. เกิดอาการใจสั่น ใจเต้นเร็วผิดปกติ
  9. ปวดตัว รู้สึก ปวดแขน ปวดขา ปวดข้อ

ถ้าอาหารเสริมที่ซื้อมาทำให้เกิดอาการเหล่า แสดงว่าอาจมีสารต้องห้ามหรือสารอันตรายในอาหารเสริมอย่างไซบูทรามีนเป็นส่วนผสม เพื่อความแน่ใจและปลอดภัยของผู้บริโภคควรเช็กหรือตรวจสอบเลขหมาย อย. จากเว็บไซต์ นอกจากนี้ ยังมีสารอันตรายอื่นๆในยาลดความอ้วนที่ต้องระวัง อย่างออริสแตท หากทานยาลดความอ้วน หรือยาลดน้ำหนักมีอาการข้างต้น ควรหยุดยาและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัย, ความรู้เรื่องยาTagged พิษร้าย 'ไซบูทรามีน' สารอันตรายที่พบในยาลดความอ้วนLeave a Comment on พิษร้าย ‘ไซบูทรามีน’ สารอันตรายที่พบในยาลดความอ้วน

ยาป้องกันไมเกรนเรื้อรัง ตัวใหม่ ผ่าน อย. ไทย

Posted on February 11, 2021February 11, 2021 by visaza_effects
ยาใหม่ไมเกรน

ไมเกรน โรคปวดหัวที่พบได้บ่อย มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ที่กินยาไม่หาย และมีอาการเรื้อรัง เป็นบ่อยๆ บางรายปวดหัวเกือบทุกวัน ในรายที่เป็นเรื้อรัง แพทย์มักจะแนะนำให้รักษาเพื่อป้องกันร่วมด้วย ซึ่งมียาป้องกันไมเกรนทั้งแบบกิน กับแบบฉีด 

1.ยาป้องกันแบบกิน

เช่น กลุ่มยาคลายเครียด กลุ่มยากันชัก หรือกลุ่มยาความดันหัวใจ เป็นต้น โดยแพทย์จะแนะนำให้กินต่อเนื่องเพื่อป้องกันอาการปวดไมเกรนให้ลดความถี่ในการปวดให้น้อยลง

2.ยาป้องกันแบบฉีด

ก็คือ Botulinum toxin หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักในนาม โบท็อก ซึ่งเป็นการรักษาไมเกรนแบบป้องกันที่แพร่หลายทั่วโลกตั้งแต่ปี 2010   การรักษาไมเกรนด้วยการฉีดโบทอกซ์จะทำการฉีดรอบศีรษะ บ่า และไหล่ ในจำนวนยาและเทคนิคที่แตกต่างกับการฉีดโบทอกซ์ด้านความงาม จึงต้องทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองเท่านั้น หลังการรักษาจะลดอาการปวดไมเกรนได้มากกว่า 90% ในระยะเวลา 4-6 เดือน แพทย์จึงแนะนำการฉีดโบทอกซ์เพื่อรักษาและป้องกันการปวดไมเกรนทุกๆ 4 -6 เดือนตามความรุนแรงของคนไข้แต่ละบุคคล

botox

ตอนนี้มียาป้องกันตัวใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งผ่าน อย ไทย คือ Aimovig เป็นยาป้องกันแบบฉีด ใช้ฉีดใต้ผิวหนังเดือนละครั้ง เนื่องจากเป็นยาตัวใหม่มาก เพิ่งเริ่มมีใช้ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ อีกทั้งราคายังสูงมาก ราคาตามข้อมูลคือ 575 USD หรือตีเป็นเงินไทย เกือบสองหมื่นบาท ซึ่งต้องฉีดทุกเดือน จึงต้องรอดูข้อมูล ว่ามีโรงพยาบาลไหนบ้าง ราคาเท่าไหร่ เบิกสิทธิ์อะไรได้บ้าง รวมถึงประสิทธิภาพการรักษาได้ผลหรือไม่ มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ยังคงต้องรอดูต่อไป เนื่องจากเป็นยาตัวใหม่มาก

aimovig

ยาป้องกันไมเกรนเรื้อรัง ตัวใหม่ ผ่าน อย. ไทย

ความรู้เรื่องยา

Posted in ความรู้เรื่องยาTagged ยาป้องกันไมเกรนเรื้อรัง ตัวใหม่ ผ่าน อย. ไทยLeave a Comment on ยาป้องกันไมเกรนเรื้อรัง ตัวใหม่ ผ่าน อย. ไทย

Posts navigation

Older posts
dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ