Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

ความเชื่อเรื่องการกินยา

Posted on August 16, 2019November 25, 2020 by via1sideffects

เรื่องของยารักษาโรค มีหลายความเชื่อที่ผิด และกลายเป็นข้อสงสัยของผู้คนจำนวนมากในเรื่องของข้อเท็จจริง อีกด้านหนึ่งยังพบว่าความเชื่อที่ผิดเหล่านั้นนำไปสู่การใช้ที่ไม่ถูกวิธี ทำให้ผลการรักษาด้อยประสิทธิภาพลง โดยข้อมูลที่นำมาเสนอในครั้งนี้จะเป็นการไขทุกความเชื่อเรื่องยารักษาโรค ความเชื่อไหนผิดหรือความเชื่อไหนถูกต้อง ทุกคนจะได้รับรู้พร้อมกันจากผู้เชี่ยวชาญ

ยาฉีดมีประสิทธิภาพมากกว่ายากิน จริงหรือไม่?

ไม่จริงเสมอไป เพราะยาชนิดกินก็มีประสิทธิภาพในการรักษาเช่นกัน เพียงแต่ยาฉีดจะใช้สำหรับผู้ป่วยบางรายที่การทำงานของลำไส้หรือกระเพาะอาหารมีปัญหา ดูดซึมยาผิดปกติหรือติดเชื้อรุนแรง หรือในกรณีที่ต้องการให้ยาที่ออกฤทธิ์เร็ว  การใช้ยาฉีดจะดีกว่ายากิน เนื่องจากไม่ต้องรอให้ยาดูดซึมจนถึงระดับการรักษาของยา แต่ยากินจะมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่ายาฉีด

ยาต่างประเทศมีประสิทธิภาพมากกว่ายาในประเทศ จริงหรือไม่?

ไม่จริง เพราะยาทุกชนิดไม่ว่าจะยาไทยหรือยาต่างประเทศ ก่อนวางจำหน่ายล้วนผ่านการตรวจสอบโดยละเอียดและผ่านการรับรองแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษา ดังนั้นทั้งยาไทยและยาต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายในท้องตลาด ย่อมมีประสิทธิภาพในการรักษาด้วยกันทั้งสิ้น

แต่ทั้งนี้ประเทศไทยจะมีการประกาศมาตรฐานยาตามเภสัชตำรับในราชกิจจานุเบกษาว่ายาแต่ละชนิดจะต้องทบทวนตำรับยาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของโรงงานยาและผู้ผลิตยาที่ต้องดำเนินการ

การกินยาชนิดใดนาน ๆ จะมีผลต่อตับและไต จริงหรือไม่?

ขึ้นอยู่กับสภาวะของคนไข้ว่ามีปัญหาการทำงานของตับหรือไตหรือไม่ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับการใช้ยาที่ถูกวิธี ถูกขนาดหรือไม่ หากมีการใช้ยาโดยไม่มีข้อบ่งชี้ ก็อาจมีผลต่อตับหรือไตได้ หรืออาจได้รับผลข้างเคียงของยา

การกินยาชนิดใดนาน ๆ จะทำให้ดื้อยา จริงหรือไม่?

การกินยาต่อเนื่องเป็นเวลานานไม่ได้ทำให้ดื้อยา หากการกินยานั้นอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ แต่ปัญหาที่พบส่วนมากคือคนไข้ส่วนหนึ่ง หลังจากกินยาไปช่วงเวลาหนึ่งแต่ยังไม่ครบตามแพทย์สั่ง ก็หยุดกินยาเอง หลังจากนั้นหากมีการกลับมากินยาชนิดนั้นอีกครั้ง อาจทำให้ผลการรักษาไม่ดีนัก โดยเฉพาะยาโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องกินต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง ไม่ควรหยุดยาเอง ยกเว้นยารักษาตามอาการที่สามารถหยุดกินได้เมื่ออาการดีขึ้น เช่น ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ปวด ยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

ยาแอสไพรินทำให้เลือดออกในสมอง จริงหรือไม่?

หากใช้ยาตามแพทย์สั่งไม่ทำให้เกิดปัญหา เพราะส่วนมากคนไข้ที่รับยามักมีการติดตามอาการกับแพทย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแพทย์จะปรับยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย แต่ปัญหาของยาแอสไพรินคือมีผลข้างเคียงทำให้ระคายกระเพาะอาหาร ดังนั้นควรกินยาหลังอาหารทันที่ และดื่มน้ำตามปริมาณมาก เพื่อลดผลข้างเคียงดังกล่าว

หากลืมกินยาต้องทำอย่างไร?

ขึ้นอยู่กับชนิดยา หากไม่ใช่ยาที่อาหารมีผลต่อการดูดซึม สามารถกินทันทีเมื่อนึกขึ้นได้ แต่ถ้าหากอาหารมีผลต่อการดูดซึม เช่น ยาก่อนอาหาร ซึ่งควรกินตอนท้องว่างหรือกินก่อนอาหาร 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง หากลืมกินยาก่อนอาหาร ควรกินหลังรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง

ในส่วนของยาที่มีผลข้างเคียงระคายเคืองกระเพาะอาหาร ต้องกินหลังอาหารทันที หากลืมกินยาจะต้องกินอาหารก่อนค่อยกินยา ไม่ควรกินตอนท้องว่าง หากลืมกินยาหลังอาหาร สามารถกินได้ทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ถ้าหากเป็นยา 3 เวลา หากนึกได้ใกล้มื้อถัดไป ให้ข้ามกินมื้อต่อไปได้เลย

การกินยาก่อนนอน สำหรับคนที่นอนไม่เป็นเวลา

ควรกินยาเวลาเดิมทุกวัน เช่น หากกินยาตอน 3 ทุ่มก็ควรกินเวลานั้นทุกวัน แม้จะไม่ได้นอนตอน 3 ทุ่มทุกวันก็ตาม ควรกำหนดเวลาเอาไว้แล้วกินเวลาเดิม เพื่อให้ระดับยาคงที่ ทำให้ยาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการกินยาไม่ตรงเวลา

กินยาแล้วกลิ่นและสีของปัสสาวะผิดปกติ แสดงว่ายาออกฤทธิ์ดี จริงหรือไม่?

ขึ้นอยู่กับชนิดของยา เช่น ยาคลายเครียด เช่น Amitriptyline ทำให้ปัสสาวะสีน้ำเงิน ยาวัณโรค Rifampin/ยากันชัก Phenytoin ทำให้ปัสสาวะสีแดง หรือวิตามินบีรวม ทำให้ปัสสาวะกลิ่นเหมือนยา ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของตัวยา ไม่อันตรายแต่อย่างไร  ยกเว้นยาบางชนิดการที่ปัสสาวะมีลักษณะผิดปกติ อาจแสดงถึงความอันตราย เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หากกินแล้วปัสสาวะมีสีแดง มีจ้ำเลือดตามใต้ผิวหนัง แสดงว่าระดับยาสูงกว่าปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที

กินยาหลายชนิดทำให้ตีกัน จริงหรือไม่?

มีความเป็นไปได้ที่ยาแต่ละชนิดจะตีกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับชนิดยาด้วย ว่าถูกทำลายและขับออกจากร่างกายที่อวัยวะเดียวกัน เช่น ตับ หรือ ไต หรือไม่ ยาบางชนิดสามารถตีกับยาบางชนิด แต่ไม่เพียงเฉพาะการตีกันระหว่างยากับยาเท่านั้น แต่ยังพบว่าอาหาร/สมุนไพรบางชนิดก็ไม่ควรกินพร้อมกับยาบางชนิดด้วย  ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลยาแต่ละชนิดรวมทั้งอาหาร/สมุนไพรหากใช้ร่วมก่อนกินเสมอ

เก็บยาในตู้เย็น ดีหรือไม่?

ขึ้นกับชนิดของยา เนื่องจากประเทศไทยมีลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้การเก็บยาในตู้เย็นบางชนิด ส่งผลให้ยาเสื่อมสภาพได้ง่าย จึงไม่แนะนำ อีกทั้งยังส่งผลต่อความคงตัวของยา ทำให้อายุการเก็บรักษายาสั้นลง ยกเว้นยาบางชนิดที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ซึ่งสามารถสังเกตได้จากฉลากยาที่มักมีข้อความการเก็บรักษายากำกับไว้

กินยาแล้วอาการดีขึ้น สามารถหยุดกินได้หรือไม่?

ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค/อาการ/ชนิดของยา หากเป็นยารักษาโรคประจำตัว จำเป็นต้องกินต่อเนื่อง ห้ามหยุดยาเอง แต่ถ้าหากเป็นยารักษาตามอาการ สามารถหยุดกินได้เมื่ออาการดีขึ้น ส่วนยาปฏิชีวนะ จำเป็นต้องกินให้ครบคอร์ส หากกินไม่ครบจะเกิดการดื้อยา

ยาที่ออกฤทธิ์แรงกว่า สามารถรักษาดีกว่า จริงหรือไม่?

ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก ยาที่ออกฤทธิ์แรงมีไว้สำหรับผู้ป่วยที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อยาที่ออกฤทธิ์อ่อน ส่วนหนึ่งมาจากการติดเชื้อรุนแรง ดื้อยา หรืออาการของโรคซับซ้อน แต่ถ้าหากมีการตอบสนองต่อยาปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาที่ออกฤทธิ์แรงกว่าเพื่อหวังผลการรักษาที่ดีกว่า นอกจากนี้ยาที่ออกฤทธิ์แรงกว่าอาจยังมีผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น และเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

การหักเม็ดยาก่อนกิน ลดประสิทธิภาพยาหรือไม่?

ขึ้นอยู่กับชนิดยา สำหรับยาเม็ดเรียบสามารถหักก่อนกินได้ โดยไม่ทำให้ยาเสื่อมประสิทธิภาพในการรักษา แต่ยาบางชนิดมีการออกแบบมาเพื่อให้ออกฤทธิ์เนิ่น หากมีการหักเม็ดยาก่อนกิน จะทำให้ออกฤทธิ์ทันทีและหมดฤทธิ์ในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้การรักษาไม่มีประสิทธิผล หลักการนี้ใช้กับยาชนิดแคปซูลได้ด้วย ในเรื่องของการแกะเม็ดแคปซูลและนำผงไปละลายน้ำเพื่อกิน บางชนิดสามารถทำได้ แต่บางชนิดออกแบบมาให้ออกฤทธิ์ทีละน้อย หากแกะแล้วนำผงไปละลายน้ำ จะทำให้ออกฤทธิ์ทันทีซึ่งมีผลต่อการรักษา ไม่เพียงเท่านั้นยังอาจทำให้คนไข้ได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรง

Posted in Article

Post navigation

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
รพ. จ่ายยาเบาหวาน ให้ผู้ป่วยความดันนอนติดเตียง กินแป๊บเดียวสลบเลย !!
dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ