Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

การใช้ยา “อย่างปลอดภัย”

Posted on April 11, 2020April 11, 2020 by visaza_effects

” ยา ” แม้สามารถใช้รักษาทำให้หายป่วยและร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้ แต่สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักไว้เสมอคือ ยาทั้งหลายล้วนแล้วแต่มีอันตรายเฉกเช่นเดียวกับที่มีคุณประโยชน์ ฉะนั้น ทำอย่างไรจึงปลอดภัยจากการใช้ยา…

” ประโยชน์ของยา “ มาจากฤทธิ์ของยาตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ เช่น ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาการติดเชื้อ บรรเทาอาการปวดหรือลดไข้ ซึ่งทราบได้จากสรรพคุณหรือข้อบ่งใช้ของแต่ละตัวยา

” อันตรายจากยา “ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเช่นกัน เริ่มจากอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงของยา ซึ่งมีทั้งที่ไม่รุนแรง เช่น คลื่นไส้ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับหรือง่วงนอน จนกระทั่งรุนแรงถึงแก่ชีวิต เช่น การทำลายตับ หรือทำให้เกิดอาการหายใจไม่ออก เป็นต้น อันตรายจากยายังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น เช่น เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ( drug interaction ) ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารเสริม (เช่น วิตามิน หรือ สมุนไพร) ที่รับประทานระหว่างการใช้ยา โดยอาจส่งผลให้ยาที่รับประทานบางชนิดมีประสิทธิภาพลดลงหรือออกฤทธิ์รุนแรงเกินไป เกิดผลข้างเคียงนอกเหนือความคาดหมาย หรืออาจเกิดสารเคมีตัวใหม่ที่มีอันตรายสูง

แม้ว่า การใช้ยามีอันตรายควบคู่ไปกับคุณประโยชน์ก็ตาม แต่ท่านสามารถที่จะปฏิบัติตนเพื่อ ลดอันตรายจากการใช้ยาได้อย่างไม่ยาก ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจะคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง

คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับ การใช้ ” ยา ” อย่างปลอดภัย คือ การทำให้ความเสี่ยงจากการใช้ยาลดลงและได้รับประโยชน์จากยาสูงสุด มี 5 ประการ ได้แก่
1. คุยกับแพทย์ เภสัชกร บอกเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับตัวท่านเองให้มากที่สุด เช่น
– ท่านมีประวัติการแพ้ยาอะไรหรือไม่
– รับประทานยาหรืออาหารเสริมอื่นๆ อยู่หรือไม่ อะไรบ้าง
– ข้อจำกัดบางประการต่อใช้ยา (เช่น มีปัญหาการกลืนยา หรือ ต้องทำงานกับเครื่องจักรที่เป็นอันตรายไม่สามารถทานยาที่ทำให้ง่วงได้)
– อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร (กรณีของผู้หญิง)
นอกจากนั้นหากท่านสงสัยหรือไม่เข้าใจเรื่องอะไร ควรสอบถามให้ละเอียด เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาอย่างผิดๆ
2. ทำความรู้จักยาที่ใช้ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่าย หรือที่ซื้อเองจากร้านขายยา เช่น
– ชื่อสามัญทางยา เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำซ้อน และได้รับยาเกินขนาด
– ชื่อทางการค้าของยา
– ลักษณะทางกายภาพของยา เช่น สี กลิ่น รูปร่าง เป็นต้น เมื่อสภาพของยาเปลี่ยนแปลงไป เช่น สีเปลี่ยนไป ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าว เพราะอาจก่อให้เกิด อันตรายได้
– ข้อกำหนดการใช้ยา เช่น รับประทานอย่างไร เวลาใด จำนวนเท่าไร และควรรับประทานนานแค่ไหน
– ภายใต้สถานการณ์ใด ที่ควรหยุดใช้ยาทันที
– ผลข้างเคียงของยาหรือปฏิกิริยาของยาที่ควรระวัง
3. อ่านฉลากยาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
– ทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับยาจากฉลากยา ควรอ่านฉลากยาอย่างน้อย 2 ครั้ง ก่อนการใช้ยา เพื่อความมั่นใจว่ารับประทานยาถูกต้อง หากไม่เข้าใจประการ ใดควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญ
– เก็บยาในที่ที่เหมาะสมตามที่ระบุในฉลาก
– ห้ามเก็บยาต่างชนิดกันในภาชนะเดียวกัน และไม่ควรเก็บยาสำหรับใช้ภายในและ ยาสำหรับใช้ภายนอกไว้ใกล้เคียงกัน
4. หลีกเลี่ยงการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา
– ระลึกถึง และหลีกเลี่ยงอย่างเคร่งครัด ต่อการรับประทานยา อาหารหรือเครื่องดื่มที่ ทำให้เกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทาน ซึ่งทำให้เกิดผลเบี่ยงเบนการออกฤทธิ์และ เพิ่มอันตรายจากยาได้
– หากเป็นไปได้ ทุกครั้งที่ท่านต้องมีการรับประทานยาใหม่ๆ เพิ่มเติม ควรได้นำยาเดิมที่ รับประทานอยู่ไปแสดงให้แพทย์ หรือเภสัชกร ได้ตรวจสอบให้ด้วยว่า มียาใดที่ซ้ำซ้อน หรือทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างกันได้ เพื่อที่จะได้จัดยาให้ร่วมรับประทานได้เหมาะสม
5. สังเกตตัวเองต่อผลของยาและอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
– สังเกตว่าผลของยาเป็นไปตามแผนการใช้ยาหรือไม่ หากไม่เป็นเช่นนั้น ควรไปหา แพทย์ หรือเภสัชกรอีกครั้ง เพื่อประเมินและปรับการรักษา
– ให้ความสำคัญกับอาการต่างๆ ของร่างกาย หากมีสิ่งใดผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
– สอบถามล่วงหน้าว่า ควรจะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา หรือสอบถามข้อมูลบางอย่างเพื่อลดอาการข้างเคียง เช่น ควรรับประทานยาหลัง รับประทานอาหารทันทีเพื่อลดอาการปวดท้อง

ที่สำคัญ ท่านควรระลึกไว้เสมอว่า การที่ท่านมีส่วนร่วมกับแพทย์ เภสัชกร และผู้เชี่ยวชาญ ในการปฏิบัติตามวิธีที่ถูกต้องในการใช้ยาของตัวท่านเองอย่างใกล้ชิด จะทำให้ท่านมีความปลอดภัยในการใช้ยามากยิ่งขึ้น และนำมาสู่ความสำเร็จในการรักษาโรค

Posted in บทความ

Post navigation

ยาสามัญประจําบ้านแผนปัจจุบันที่ขายได้
การใช้ยาที่ถูกวิธีมีอะไรบ้าง

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ