Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร

Posted on February 22, 2021February 22, 2021 by visaza_effects

สำหรับมนุษย์แม่แล้วนั้น.. มั่นใจว่าทุกคนอยากจะสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไม่ป่วย จะได้ดูแลลูกน้อยสุดที่รักได้ด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ แต่แม่ก็คนธรรมดา ไหนจะอดนอนต่อเนื่องกันเป็นปีๆ ไหนจะที่ต้องอุ้มลูกตลอดเวลา ไหนจะลูกดราม่าแม่ก็ต้องปลอบ ทางเราก็ไม่ใช่ยอดมนุษย์เนาะ มันก็คงมีเจ็บป่วยไม่สบายบ้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พอไม่สบายก็ต้องกินยา แต่ถ้าใครที่ให้นมลูกอยู่ล่ะ มันจะกระทบลูกมั้ย กังวลใจไปอี๊กกกกก วันนี้เราเลยจะมาคุยกันในหัวข้อนี้เลย

“การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร”

หลักการทั่วไปในการใช้ยาในหญิงให้นมบุตร

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เพราะขึ้นชื่อว่ายา ยังไงก็คือสารเคมี เป็นแม่คนแล้วต้อง อดทน อดทน อดทน !!
  • หรือถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ควรเลือกใช้ยาที่ปลอดภัย ด้วยขนาดยาต่ำที่สุด ในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
  •  เลือกใช้ยาในรูปแบบอื่นที่ออกฤทธิ์แบบเฉพาะที่แทนการใช้ยาแบบฉีดหรือรับประทาน เช่น ยานวดบรรเทาปวด ยาแก้คัดจมูกแบบพ่น
  • ให้ลูกดูดนมให้เต็มที่ก่อนทานยา และทิ้งห่างประมาณ 2-3 ชั่วโมง ค่อยให้นมรอบถัดไป
  •  หรือถ้าเป็นสายนักปั๊ม อาจจะใช้นมสต๊อคไปก่อนระหว่างที่คุณแม่ทานยา ในกรณีจำเป็นต้องได้รับยาที่ห้ามใช้ในหญิงให้นมบุตรจริงๆ ก็ต้องหยุดให้นมค่ะ เพราะความปลอดภัยของลูกคือสิ่งสำคัญที่สุด

กลุ่มอาการไข้หวัด

โรคยอดฮิต สามัญประจำบ้าน เป็นหวัดก็ให้นมลูกได้น๊าาาา แค่เลือกยาให้เหมาะสมปลอดภัย ไม่กระทบน้ำนม แค่นั้นเอง 
อ้อ!! แล้วก็ระวังเอาหวัดไปติดลูกด้วย ใส่มาสก์ป้องกันหน่อย
 ปวดหัว ตัวร้อน
 Paracetamol 
 แก้แพ้ คัดจมูก น้ำมูกไหล
 Cetirizine
 Loratadine
Pseudoephedrine*
Chlorpheniramine*
*อาจมีผลทำให้น้ำนมลดลงได้
 แก้ไอ ละลายเสมหะ
 Dextromethorphan
 Bromhexine
 Carbocisteine

ยาฆ่าเชื้อ

ยาฆ่าเชื้อก็สามารถกินได้ค่ะ ถ้าจำเป็น  ตัวอย่างยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย ก็ตามนี้เลยค่า
 กลุ่ม Penicillins
 Amoxicillin
 Dicloxacillin
 Cephalosporins
 Cefalexin
 Cefaclor
 Maclorides
 Azithromycin
Clarithromycin

ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ คลื่นไส้อาเจียน

บางทีแม่ก็ไม่ได้อยากจะท้องเสียอ่ะเนาะ แต่มันห้ามบ่ได้ ท้องเสียแล้วให้นมลูกได้นะคะ ไม่มีปัญหา แต่อย่าลืมดูแลเรื่องความสะอาดให้ดีเท่านั้นเองค่า
 Activated Charcoal (ดูดซับสารพิษ)
 ORS (เสริมเกลือแร่ที่สูญเสียไป)
 Domperidone (แก้คลื่นไส้อาเจียน)
 Norfloxacin* (ยาฆ่าเชื้อ)
ไม่แนะนำให้ใช้เพราะมีโมเลกุลของยาเล็กอาจจะผ่านทางน้ำนมได้

อาการปวดต่างๆ

อันนี้ก็โรคยอดฮิตของมนุษย์แม่  ทั้งปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขน ปวดข้อมือ สารพัดอันเนื่องมาจากการอุ้มลูกตลอดเวลา ตัวอย่างยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยได้แก่
 Diclofenac
 Ibuprofen
 Mefenamic acid
 Celecoxib

Posted in การใช้ยาอย่างปลอดภัยTagged การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร

Post navigation

วิธีการใช้ยาอย่าง “ปลอดภัย” เพื่อไม่ให้เกิดอัตรายต่อร่างกาย

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ