Skip to content
ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ความรู้และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยา และโรค

ดูหนังออนไลน์ฟรี 2019
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ
วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการปวดหัว
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อ่านต่อ
วิธีปฐมพยาบาล
เมื่อมีอาการเมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ
อ่านต่อ
วิธีใช้ยา เมื่ออาการ น้ำมูกไหล
Heading layer
อ่านต่อ
previous arrow
next arrow
Slider

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Posted on October 20, 2019October 12, 2019 by visaza_effects

เรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บเบื้องต้นหากเกิดอุบัติเหตุหรือประสบเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวคุณ ครอบครัว หรือคนใกล้ชิด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่บ้านหรือนอกบ้าน เพราะเมื่อเรารู้จักวิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องแล้ว เราก็จะสามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ไม่มากก็น้อยก่อนจะไปถึงโรงพยาบาล สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในยามคับขัน

1.ผู้ช่วยเหลือ ควรมีหลักการช่วยเหลือ ดังนี้

1. ความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก่อนการเข้าไปช่วยเหลือเพราะอาจถูกลูกหลงไปด้วย เช่น เหตุไฟช็อต เป็นต้น

2.ใช้สายตาสำรวจดู โดยสำรวจตามส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างมีสติ และห้ามเคลื่อนย้ายถ้าผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บของอวัยวะต่างๆ ซึ่งผู้ช่วยเหลืออาจมองไม่เห็น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทันทีโดยไม่ถูกวิธีอาจยิ่งทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บมากขึ้นหรือร้ายแรงกว่านั้นได้

3.ผู้บาดเจ็บต้องอยู่ในที่ปลอดภัยก่อน ควรปฐมพยาบาลต่อเมื่อได้นำตัวผู้ป่วยออกมาจากสถานที่เหล่านี้ เช่น ในน้ำ หรือในกองไฟ เพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวผู้ป่วยและตัวผู้ช่วยเหลือเอง เป็นต้น

4.ช่วยเหลือด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง โดยให้การช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญของการมีชีวิต หรือตามความรุนแรงที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

2.พิจารณาอาการบาดเจ็บของผู้ป่วย โดยเรียงลำดับความร้ายแรงของอาการบาดเจ็บได้ดังนี้

1.ตรวจดูความรู้สึกตัวโดยการเรียกหรือตีที่ไหล่เบาๆ ว่าผู้ป่วยรู้สึกตัวไหม

2.ตรวจดูทางเดินหายใจ ดูว่ามีเศษอาหารหรือฟันปลอมอยู่ในปากหรือเปล่าและถ้าหายใจไม่สะดวกให้เปิดทางเดินหายใจ โดยใช้มือข้างหนึ่งดันหน้าผาก และมืออีกข้างเชยคางให้หน้าผู้ป่วยแหงนขึ้นข้างบน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือหมดสติให้ตรึงกระดูกสันหลังส่วนคอและใช้วิธียกขากรรไกรขึ้นเพื่อเปิดทางเดินหายใจ

3.ตรวจดูการหายใจ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหรือคอให้ใช้มือข้างหนึ่งดันหน้าผากและมืออีกข้างเชยคางให้หน้าผู้ป่วยแหงนขึ้นข้างบน จากนั้นตรวจดูโดยการเอียงหน้าก้มลงไปเอาแก้มเข้าไปใกล้จมูกผู้ป่วยและสังเกตว่า มีลมมาสัมผัสไหม หูฟังเสียงการหายใจ รวมถึงใช้ตามองดูหน้าอกว่ากระเพื่อมขึ้นลงตามการหายใจไหม และดูว่าคนป่วยมีการหายใจเร็วหรือช้าด้วย (ผู้ใหญ่หายใจ 12-20 ครั้งต่อนาที)

4.ตรวจชีพจร ดูว่าหัวใจเต้นหรือไม่ (ผู้ใหญ่ 60-100 ครั้งต่อนาที)ผู้ป่วยที่รู้สึกตัวให้จับชีพจรที่ข้อมือหรือข้อพับแขนส่วนผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวให้จับชีพจรที่คอ

Posted in บทความTagged thaihealth, สร้างสุข, สสส., สาระสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาวะ, เกร็ดความรู้สุขภาพ

Post navigation

First Aid ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ช่วยไว้ก่อนสาย
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ “ไฟไหม้-น้ำร้อนลวก”

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

dg gaming
ดูหนังใหม่ชนโรง
Copyright © 2019 via1sideffects.com ดูซีรี่ย์จีน
  • หน้าหลัก
  • ยาสามัญประจำบ้าน
    ▼
    • 3 คุณสมบัติ ตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน
    • ยาสามัญประจำบ้าน ทั้ง 16 กลุ่ม
  • วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    ▼
    • วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
    • วิธีแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
  • วิธีการใช้ยา
    ▼
    • วิธีใช้ยา เมื่อมีอาการน้ำมูกไหล
    • วิธีใช้ยาเมื่ออาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดส่วนต่างๆ
  • บทความ
  • เกี่ยวกับ
  • ติดต่อ